นักวิจัยมหาวิทยาลัยนเรศวร คว้ารางวัลการวิจัยด้วยผลงานการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมทางทะเล

นักวิจัยมหาวิทยาลัยนเรศวร คว้ารางวัลการวิจัยแห่งชาติ รางวัลวิทยานิพนธ์ #ระดับดี สาขานิติศาสตร์ ประจำปีงบประมาณ 2567 จากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

รางวัลการวิจัยแห่งชาติ รางวัลวิทยานิพนธ์ #ระดับดี สาขานิติศาสตร์ ผลงานวิจัยเรื่อง “การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมในการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมทางทะเลจากการพัฒนากังหันลมนอกชายฝั่งในประเทศไทย” (Towards Environmental Impact Assessment on the Protection of Marine Ecosystems from Offshore Wind Power Development in Thailand) ผลงานโดย : ดร.สุชานัน หรรษอุดม อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

ที่มา: กองการวิจัยและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยนเรศวร

ออกพื้นที่สัญจรให้ความรู้เกี่ยวกับพันธุ์สัตว์น้ำ

เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2566 ที่ผ่านมา หลักสูตรวิทยาศาสตร์การประมง ได้ร่วมกิจกรรมแนะแนวสัญจรกับทางคณะเกษตรศาสตร์ฯ ณ โรงเรียนเฉลิมขวัญสตรี อ.เมือง จ.พิษณุโลก

ที่มา: วิทยาศาสตร์การประมง มหาวิทยาลัยนเรศวร

เล่าประสบการณ์….การฝึกงานสถานีวิจัยวิทยาศาสตร์ทางทะเล

นิสิตสาขาวิทยาศาสตร์การประมง มหาวิทยาลัยนเรศวร เล่าประสบการณ์ที่ สถานีวิจัยวิทยาศาสตร์ทางทะเลและศูนย์ฝึกนิสิต เกาะสีชัง

ประกวดปลากัดนเรศวร (NU Siamese Fighting Fish Competition)

ขอเชิญชวนร่วมการประกวดปลากัดนเรศวร (NU Siamese Fighting Fish Competition) ในงานเกษตรนเรศวร ครั้งที่ 18 ระหว่างวันที่ 7-9 กรกฎาคม 2566 ณ บริเวณโถงชั้น 1 ศูนย์แสดงนิทรรศการและการจัดประชุมนานาชาติสมเด็จพระนเรศวรมหาราช มหาวิทยาลัยนเรศวร ตำบลท่าโพธิ์ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก

โดยมีกำหนดการดังนี้
– วันที่ 7 กรกฎาคม 2566 08.30 – 16.30 น. “รับสมัครปลากัด”
– วันที่ 8 กรกฎาคม 2566 09.00 – 16.00 น. “ตัดสินการประกวดปลากัด”
– วันที่ 9 กรกฎาคม 2566 10.00 – 12.00 น. “พิธีมอบรางวัล”

รุ่นปลาที่จัดประกวด
> A ปลากัดครีบสั้น (SHORT FIN CLASS)
>> A1ปลากัดครีบสั้น หางเดี่ยว รวมทุกประเทสี (PK)
>> A2ปลากัดครีบสั้น หางพระจันทร์ครึ่งดวง สีเดี่ยว (HMPK) (SOLID COLOR)
>> A3ปลากัดครีบสั้น หางพระจันทร์ครึ่งดวง สีผสม รวมทุกประเภทสี (HMPK OPEN)
>> A4ปลากัดครีบสั้น หางพระจันทร์ครึ่งดวง สีนีโม่ (HMPK NEMO)
>> A5ปลากัดครีบสั้น หางคู่ รวมทุกประเภทสี (DTPK)
>> A6ปลากัดครีบสั้น หางมงกุฎ รวมทุกประเภทสี (CTPK)

> B ปลากัดครีบยาว (LONG FIN CLASS)
>> B1ปลากัดครีบยาว หางพู่กัน รวมทุกประเภทสี (VT)
>> B2ปลากัดครีบยาว หางพระจันทร์ครึ่งดวง รวมทุกประเภทสี (HM)
>> B3ปลากัดครีบยาว หางคู่ รวมทุกประเภทสี (DT)
>> B4ปลากัดครีบยาว หางมงกุฎ รวมทุกประเภทสี (CT)

> C ปลากัดประเภทพิเศษ
>> C1ปลากัดดาวรุ่ง รวมทุกประเภทหาง ทุกประเภทสี (JUNIOR OPEN)
>> C2ปลากัดเพศเมีย รวมทุกประเภทหาง ทุกประเภทสี (FEMALE OPEN)
>> C3ปลากัดสีและลายคล้ายธงชาติ (สีแดง สีขาว สีน้ำเงิน) รวมทุกประเภทหาง

> D ปลากัดหูช้างนเรศวร
>> D1ปลากัดหูช้างนเรศวร รวมทุกประเภทหาง ทุกประเภทสี (DUMBO OPEN)

กติกา
1. ปลากัดครีบสั้น ขนาดไม่ต่ำกว่า 1.3 นิ้ว (วัดจากปลายปากถึงโคนหาง)
2. ปลากัดครีบยาว และปลากัดเพศเมีย ขนาดไม่ต่ำกว่า 1.3 นิ้ว (วัดจากปลายปากถึงโคนหาง)
3. ปลากัดดาวรุ่ง ขนาดไม่เกิน 1.2 นิ้ว (วัดจากปลายปากถึงโคนหาง)

เงินรางวัล
– รางวัลชนะเลิศ ​​เงินรางวัล 1,500 บาท พร้อมถ้วยรางวัล
– รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1 ​เงินรางวัล 1,000 บาท พร้อมถ้วยรางวัล
– รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 2 ​เงินรางวัล 500 บาท พร้อมถ้วยรางวัล
– รางวัลชมเชย 2 รางวัลได้รับประกาศนียบัตร
“รางวัล Best in Show​​เงินรางวัล 3,000 บาท พร้อมถ้วย”

หมายเหตุ
– เงินรางวัลจะจ่ายในประเภทที่มีจำนวนปลาเข้าประกวด 25 ตัวขึ้นไป
– ประเภทที่มีปลาประกวดไม่ถึง 25 ตัว จะได้รับเพียงถ้วยรางวัล ไม่ได้รับเงินรางวัล
– รางวัล Best in Show​ จะคัดเลือกมาจากรางวัลชนะเลิศของทุกประเภท

สามารถสมัครทางออนไลน์ได้ทาง https://docs.google.com/…/1FAIpQLSf…/viewform… สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ชมรมวิทยาศาสตร์การประมง คณะเกษตรศาสตร์ฯ มหาวิทยาลัยนเรศวร

ที่มา: วิทยาศาสตร์การประมง มหาวิทยาลัยนเรศวร

ลดปริมาณขยะจากท้องทะเล สู่นวัตกรรมเสื้อเกราะกันกระสุน “Upcycle Army Vest”

มหาวิทยาลัยนเรศวร พัฒนานวัตกรรมเสื้อเกราะกันกระสุน “Upcycle Army Vest” ตอบโจทย์ผู้ประกอบการด้านการจัดการขยะ จังหวัดกระบี่ จากขยะพลาสติกเหลือใช้และขยะจากท้องทะเล ภายใต้โครงการวิจัย “การมีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์นวัตกรรมสังคมจากขยะพลาสติกในชุมชนภาคเหนือตอนล่าง ประเทศไทย” โดยสำนักงานการวิจัยแห่งชาติสนับสนุนทุนวิจัยแก่ รองศาสตราจารย์ ดร.พนิดา จงสุขสมสกุล อาจารย์ประจำภาควิชานิเทศศาสตร์ คณะบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร มหาวิทยาลัยนเรศวร หัวหน้าโครงการ และคณะผู้ร่วมวิจัยได้แก่ รองศาสตราจารย์ ดร นิรัช สุดสังข์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปิยนันท์ บุญพยัคฆ์ และดร.ศิริกาญจน์ ขันสัมฤทธิ์ ภาควิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ และ ดร.วรชาติ กิจเรณู คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

ที่มา: งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

เกณฑ์ที่ใช้จำแนกปูทะเล “ผลงาน Infographic การถ่ายทอดความรู้ของนิสิต”

🦀เกณฑ์ที่ใช้จำแนกปูทะเล🦀

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์การประมง มหาวิทยาลัยนเรศวร บูรณาการด้านการเรียนการสอนร่วมกับช่วงเวลาหาประสบการณ์ทำงานของนิสิตขณะเป็นนักศึกษาฝึกงาน โดยตั้งโจทย์ให้นิสิตออกแบบอินโฟกราฟิก (Infographic)เพื่อถ่ายทอดความรู้ “เกณฑ์ที่ใช้จำแนกปูทะเล” จากประสบการณ์ฝึกงาน ณ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งสุราษฎร์ธานี

ผลงาน Infographic ของนิสิตรายวิชาฝึกงาน 2 ขอขอบคุณศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งสุราษฎร์ธานี ที่ให้ความอนุเคราะห์รับนิสิตเข้าฝึกงาน

จุดเด่นของหลักสูตร

  • หลักสูตรวิทยาศาสตร์การประมง เน้นในการผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ทั้งสัตว์น้ำจืด สัตว์น้ำเค็ม สัตว์น้ำเศรษฐกิจต่างๆ รวมถึงการส่งเสริมให้นิสิตได้ทำการวิจัยเพื่อเป็นการสร้างเสริมประสบการณ์เกิด องค์ความรู้ใหม่ๆ
  • นิสิตได้จัดการศึกษาให้มีการฝึกงานกับหน่วยงานของภาครัฐและเอกชน เพื่อให้นิสิตได้ประสบการณ์ จากภายนอก และเป็นแนวทางการประกอบอาชีพให้นิสิตตามที่ตนถนัด หรือสนใจ
  • มีการบริการวิชาการ การจัดนิทรรศการร่วมกับภาครัฐและเอกชน การจัดฝึกอบรมให้กับเกษตรกรเพื่อเป็นการร่วมการส่งเสริมอาชีพด้านการประมงต่อไป

ที่มา: วิทยาศาสตร์การประมง มหาวิทยาลัยนเรศวร

เยี่ยมชมการดำเนินงานและร่วมกิจกรรมฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเล

วันที่ 21 เมษายน 2566 คณะอาจารย์และนักศึกษาชั้นปีที่ 3 คณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนเรศวร จำนวน 52 คนได้เข้าเยี่ยมชมการดำเนินงานและร่วมกิจกรรมฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลด้วยการปล่อยลูกปูม้าระยะแรกฟักลงสู่ทะเลและการขยายพันธุ์ปะการังอ่อนหนังดอกเห็ด ณ ศูนย์เรียนรู้ธนาคารสัตว์ทะเลเกาะสีชังโดยชุมชนเพื่อชุมชนยั่งยืน ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี “ทะเลไทย หัวใจของชาติ”

สนับสนุน : สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) “คืนปูม้าสู่ทะเลไทย” ตามมติคณะรัฐมนตรี
ดำเนินงาน : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ศึกษาดูงานบริเวณชุมชนประแส โครงการศึกษาดูงานด้านวิทยาศาสตร์การประมง

ศึกษาดูงานบริเวณชุมชนประแส
-ฟาร์มเลี้ยงกุ้งเอกชน
-พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาพืชและสัตว์ทะเล ระยอง
-เยี่ยมชมวิถีชุมชนปากน้ำประแส
-ศึกษาดูงานระบบนิเวศป่าชายเลนทุ่งโปรงทอง

ขอขอบคุณทุกสถานที่ ที่ให้ทางสาขาวิชาวิทยาศาสตร์การประมง เข้าไปศึกษาดูงาน และดูแลเป็นอย่างดี (ชาวบ้านที่นี่น่ารัก อัธยาศัยดี) โครงการศึกษาดูงานด้านวิทยาศาสตร์การประมง วันที่ 5-7 เมษายน 2566

ที่มา: วิทยาศาสตร์การประมง มหาวิทยาลัยนเรศวร

ศึกษาดูงานสถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำระยองศึกษาดูงาน

วันที่ 5-7 เมษายน 2566 หลักสูตรวิทยาศาสตร์การประมง มหาวิทยาลัยนเรศวร จัดโครงการศึกษาดูงานด้านวิทยาศาสตร์การประมง ณ สถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำระยอง เพื่อให้นิสิตเกิดความรู้ความเข้าใจในการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล และมีความรู้ความสามารถด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ทั้งสัตว์น้ำจืด สัตว์น้ำเค็ม สัตว์น้ำเศรษฐกิจต่างๆ

ที่มา: วิทยาศาสตร์การประมง มหาวิทยาลัยนเรศวร

ออกพื้นที่จัดกิจกรรมนิทรรศการแนะแนวการศึกษาต่อและอาชีพ ให้ความรู้เกี่ยวกับสัตว์น้ำ และปูทะเล

ระหว่างวันที่ 13-15 พฤศจิกายน 2565 หลักสูตรวิทยาศาสตร์การประมง คณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนเรศวร ได้ร่วมกิจกรรมนิทรรศการแนะแนวการศึกษาต่อและอาชีพ ค่ายเปิดประตูสู่รั้วมหาวิทยาลัยนเรศวร ครั้งที่ 10 ณ โรงเรียนสระหลวงพิทยาคม จ.พิจิตร

ที่มา: วิทยาศาสตร์การประมง มหาวิทยาลัยนเรศวร

Sustainability

NARESUAN UNIVERSITY

Solverwp- WordPress Theme and Plugin