Archives September 2023

คณาจารย์ ม.นเรศวร จัดกิจกรรรมถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชมชน

เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2566 รองศาสตราจารย์ ดร.มัทนี สงวนเสริมศรี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ร่วมกับรองศาสตราจารย์ ดร.จุฬาลักษณ์ เขมาชีวะกุล คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ิ จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีการแปรรูปลูกตะขบเป็นไซรัปตะขบและเม็ดบีดส์ตะขบ ณ โรงเรียนบ้านดงยาง อ.บางระกำ จ.พิษณุโลก โดยมีคณะครูและนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา ปีที่ 4-6 เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 20 คน

ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของนวัตกรรมภายใต้โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพจากลูกตะขบและพัฒนายุวนวัตกร สำหรับอุตสาหกรรมอาหารเชิงหน้าที่ (Functional Food) ที่ได้รับทุนสนับสนุนจากหน่วยขับเคลื่อนนวัตกรรมเพื่อสังคม (SID)

ที่มา: คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

อาจารย์ ม.นเรศวร ร่วมเป็นวิทยากรงานสัมมนาการศึกษาเรื่อง การปลูกพืชร่วมกับแผงโซลาร์เซลล์ในประเทศไทย

วันที่ 28 กันยายน 2566 รศ.ดร.นิพนธ์ เกตุจ้อย และ รศ.ดร.ประพิธาริ์ ธนารักษ์ ร่วมเป็นวิทยากรงานสัมมนาการศึกษาเรื่อง การปลูกพืชร่วมกับแผงโซลาร์เซลล์ในประเทศไทย (Agrivoltaics in Thailand) โดยทาง SGtech เป็นหนึ่งในคณะวิจัยของการศึกษานี้ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Thai-German Energy Dialogue (TGED) ของ Deutsche Gesellschaft für Internationale Zusammenarbeit (GIZ) ณ โรงแรมอีสติน แกรนด์ พญาไท กรุงเทพมหานครฯ

ที่มา: วิทยาลัยพลังงานทดแทนและสมาร์ตกริดเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยนเรศวร

ม.นเรศวร แถลงข่าว “นวัตกรรมผลิตภัณฑ์เจลเปลี่ยนสีผมที่มีส่วนผสมของสารสกัดใบสัก” พร้อมต่อยอดสู่เชิงพาณิชย์

เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2566 มหาวิทยาลัยนเรศวร จัดงานแถลงข่าวในประเด็น “ม.นเรศวร คิดค้นนวัตกรรมผลิตภัณฑ์เจลเปลี่ยนสีผมที่มีส่วนผสมของสารสกัดใบสักพร้อมต่อยอดสู่เชิงพาณิชย์” โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เพ็ญศรี เจริญสิทธิ์ อาจารย์ประจำภาควิชาเทคโนโลยีเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ทั้งนี้ นวัตกรรมดังกล่าว ได้รับการจดเป็นอนุสิทธิบัตร 2 ฉบับ ได้แก่ “ผลิตภัณฑ์เจลเปลี่ยนสีผม” และ “ผลิตภัณฑ์ครีมนวดเปลี่ยนสีผม” จึงมีความพร้อมต่อยอดสู่เชิงพาณิชย์ ตามวิสัยทัศน์มหาวิทยาลัยนเรศวร “มหาวิทยาลัยเพื่อสังคมของผู้ประกอบการ” ซึ่งได้รับความสนใจจากสื่อมวลชนเป็นจำนวนมาก ณ ห้องประชุม Mini Conference กองบริการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยนเรศวร

ที่มา: งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

ม.นเรศวร จัดประชุมหน่วยงานส่วนราชการที่มีศักยภาพฯ การใช้พลังงานสุทธิเป็นศูนย์

วันพุธที่ 27 กันยายน 2566 วิทยาลัยพลังงานทดแทนและสมาร์ตกริดเทคโนโลยี (SGtech) ได้จัดงาน ”ประชุมหน่วยงานส่วนราชการที่มีศักยภาพในการส่งเสริมใช้งานระบบโครงข่ายไฟฟ้าขนาดเล็กแบบมีการใช้พลังงานสุทธิเป็นศูนย์” ภายใต้โครงการศึกษาและออกแบบระบบโครงข่ายไฟฟ้าขนาดเล็กแบบมีการใช้พลังงานสุทธิเป็นศูนย์ในพื้นที่ส่วนราชการ ณ โรงแรมอมารี วอเตอร์เกท กรุงเทพมหานคร โดยมีทีมที่ปรึกษา SGtech สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กระทรวงพลังงาน และหน่วยงานราชการที่มีศักยภาพเข้าร่วมประชุมในครั้งนี้

ที่มา: วิทยาลัยพลังงานทดแทนและสมาร์ตกริดเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยนเรศวร

ม.นเรศวร จับมือสร้างศักยภาพและความพร้อมในการจัดการศึกษาในหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต

วันอังคารที่ 26 กันยายน 2566 รศ.ดร.ศรินทร์ทิพย์ แทนธานี รักษาราชทารแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยนเรศวร และผศ.ดร.ปรีชา ศรีเรืองฤทธิ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) ณ ห้องนเรศวร 310 สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยนเรศวร

โดยบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างศักยภาพและความพร้อมในการจัดการศึกษาในหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต และสร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านวิชาการ งานบริการวิชาการ และงานวิจัย ระหว่างบุคลากรของทั้งสองสถาบัน

และมี อาจารย์ ดร.นิคม โยกัญญา รองอธิการฝ่ายบัณฑิตศึกษาและกิจการพิเศษ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชัยยา นรเดชานันท์ คณบดีคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์, ผศ.ดร.ยุวยงค์ จันทรวิจิตร คณบดีคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ร่วมลงนามเป็นพยานในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ พร้อมแขกผู้มีเกียรติทั้ง 2 คณะให้เกียรติเข้าร่วมเป็นสักขีพยานในการลงนามครั้งนี้ด้วย

ที่มา: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

ผู้บริหารคณะมนุษยศาสตร์ พบประชาคม

เมื่อวันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2566 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรอุษา สุวรรณประเทศ คณบดีคณะมนุษยศาสตร์ พร้อมด้วยคณะผู้บริหารคณะมนุษยศาสตร์ ร่วมพบปะและประชุมหารือกับสโมสรนิสิตคณะมนุษยศาสตร์ ณ ห้องประชุม HU 2303 คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร เป็นกิจกรรมเพื่อกระชับความสัมพันธ์ระหว่างผู้บริหารกับนิสิต พร้อมรับฟังประเด็นปัญหาและข้อเสนอแนะต่าง ๆ อาทิ เรื่องการเรียน การใช้ชีวิต และการทำกิจกรรมของนิสิต ในโอกาสนี้คณบดีคณะมนุษยศาสตร์รได้มอบนโยบายให้นิสิตทราบถึงทิศทางการดำเนินงานของคณะ พร้อมให้แนวคิดเพื่อให้นิสิตได้ทบทวนการดำเนินงานกิจกรรมให้สอดคล้องต่อ เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) สามารถเรียนรู้การทำงานร่วมกับผู้อื่น และฝึกฝนการทำงานเป็นทีม ทั้งในเรื่องการบริหารจัดการกิจกรรมต่างๆ การนำไปใช้ประโยชน์ การต่อยอดและสร้างสรรค์กิจกรรมเพื่อสังคม เพราะนิสิตเป็นส่วนหนึ่งของคณะฯ เป็นความหวังของคณะในการพัฒนานิสิต เพื่อให้ไปสู่เป้าหมายของความสำเร็จในการศึกษา เป็นบัณฑิตที่มีความพร้อมออกสู่สังคมต่อไป

ที่มา: คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร Faculty of Humanities NU

ม.นเรศวร กระตุ้นให้นิสิตได้พัฒนาทักษะ “เส้นทางสู่นวัตวณิชย์ (Research to Market : R2M)

NU SciPark จัด Research to Market : R2M ครั้งที่ 11 เฟ้นหา 3 ทีมสุดต๊าช เป็นตัวแทนมหาวิทยาลัยนเรศวร เข้าร่วมแข่งขันต่อในรอบระดับภูมิภาค

วันที่ 23 กันยายน 2566 NU SciPark จัดกิจกรรมการแข่งขันโครงการ “เส้นทางสู่นวัตวณิชย์ (Research to Market : R2M) ครั้งที่ 11” ระดับมหาวิทยาลัย เพื่อกระตุ้นให้นิสิตได้มีโอกาสพัฒนาทักษะ และนำเอาความรู้ที่ได้เรียนมาประยุกต์ใช้ในการสร้างสรรค์ผลงาน โดยสนับสนุนเงินทุน เพื่อเป็นแรงจูงใจและกระตุ้นให้นิสิตทำการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์เพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้วยตนเอง อันจะเป็นการสร้างเวทีสำหรับนิสิตในการพัฒนาความรู้สู่การเป็นนักวิจัยระดับอาชีพต่อไป อีกทั้งยังสอดคล้องกับนโยบายและแผนยุทธศาสตร์ด้านวิจัยของมหาวิทยาลัย และเพื่อให้เกิดการต่อยอดองค์ความรู้ในเชิงพาณิชย์ รวมทั้งการเป็นเตรียมพร้อมด้านการศึกษาและเศรษฐกิจของไทย โดยมี ดร.พิสุทธิ์ อภิชยกุล รองอธิการบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์และการถ่ายทอดเทคโนโลยี ให้เกียรติกล่าวเปิดงาน และมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมลักษณ์ วรรณฤมล กีเยลาโรว่า ผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร เป็นผู้กล่าวรายงาน

ในกิจกรรมการแข่งขันนี้ มีทีมนักศึกษาเข้าร่วมแข่งขันนำเสนอความเป็นไปได้ทางธุรกิจ จำนวน 14 ทีม โดยได้คัดเลือกเพียง 3 ทีม เพื่อเป็นตัวแทนมหาวิทยาลัยนเรศวรเข้าร่วมการแข่งขันรอบระดับภูมิภาค ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ในเดือนพฤศจิกายน 2566

สำหรับผลการแข่งขันทีมที่ผ่านเข้ารอบ ได้แก่
– รางวัลชนะเลิศ ผลงาน “PAWER UP อาหารสุขภาพจากโปรตีนไข่ขาวสำหรับสุนัข” จากคณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม
– รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 ผลงาน “เซ็ตผลิตภัณฑ์แอนติแอคเน่จากสารสกัดไมยราบ” จากคณะเภสัชศาสตร์
– รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 ผลงาน “Hemp Plast” จากคณะบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์ และการสื่อสาร

นอกจากนี้ ยังมีรางวัลชมเชย เพื่อเป็นกำลังใจให้กับน้องๆอีก 2 รางวัล
– รางวัลชมเชย ผลงาน “ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดช่องปากรูปแบบแกรนูล” จากคณะเภสัชศาสตร์
– รางวัลชมเชย ผลงาน “Love Furniture Application แอปพลิเคชั่นมือถือสำหรับซื้อเฟอร์นิเจอร์ไม้โดยใช้เทคโนโลยีความจริงเสริม” จากคณะวิทยาศาสตร์

NU SciPark ขอเป็นกำลังใจและร่วมส่งแรงเชียร์น้อง ๆ ในการแข่งขันรอบระดับภูมิภาคต่อไป
ที่มา: อุทยานวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร

ร่วมเรียนรู้กิจกรรมธนาคารขยะเพื่อสังคม

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นภิสา ไวฑูรเกียรติ คณบดีคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร พร้อมคณะ ประกอบด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรไท โสภารัตน์ รองคณบดีฝ่ายพัฒนานิสิตและส่งเสริมพหุวัฒนธรรม, นางนพมาศ อ่ำอำไพ รักษาการในตำแหน่งหัวหน้างานวิจัยและบริการวิชาการ และ นายสิรภัทร เรืองวิริยะพงศ์ รักษาการในตำแหน่งหัวหน้างานกิจการนิสิตและศิษย์เก่าสัมพันธ์ เยี่ยมชมบริษัทผลิตกระจก Mulia Industrindo Glass Company เพื่อเรียนรู้กิจกรรมธนาคารขยะเพื่อสังคม (CSR program on waste-bank empowerment) และ เยี่ยมชมกระบวนการรีไซเคิลขวดแก้ว ในวันศุกร์ที่ 22 กันยายน 2566 ณ Bintang Raharja Glass- Waste Bank ประเทศอินโอนีเซีย

ที่มา: คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

ม.นเรศวร ผนึกกำลัง 10 หน่วยงาน นำงานวิจัยสู่การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์  

    เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2566 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อุทัย  วิชัย รองอธิการบดีฝ่ายยุทธศาสตร์ ผู้แทนมหาวิทยาลัยนเรศวร ร่วมลงนาม ในกิจกรรม “พิธีลงนามบันทึกแสดงเจตจำนงทางวิชาการ (Memorandum of Intent: MOI) ระหว่าง บพข. กับ 11 หน่วยงานเร่งรัดงานวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเชิงลึก (Deep Science and Technology Accelerators) เพื่อเร่งรัดนำงานวิจัยสู่การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์” ได้แก่ หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) มหาวิทยาลัยมหิดล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี มหาวิทยาลัยนเรศวร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)  ณ โรงแรมพูลแมนกรุงเทพ จี ถนนสีลม กรุงเทพฯ 

    พิธีลงนาม ฯ ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเร่งรัดนำงานวิจัยสู่การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์” เพื่อต่อยอดความร่วมมือและนำสิ่งที่เป็นองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมของมหาวิทยาลัยไปสู่การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ อย่างเป็นรูปธรรม เพื่อลดการทำงานที่ทับซ้อน ซึ่งจะมีการแบ่งปันและเชื่อมโยงทรัพยากร เช่น โครงสร้างพื้นฐาน และระบบนิเวศที่เอื้อต่อการสร้างผลิตภัณฑ์ หรือบริการ แหล่งฝึกอบรมบุคลากร ผู้เชี่ยวชาญรวมไปถึงผู้ประกอบการ ให้สามารถพัฒนาต่อยอดนวัตกรรม และเทคโนโลยีเชิงลึกจนได้ผลิตภัณฑ์หรือบริการที่มีมูลค่าสูง เสริมสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันของประเทศ โดยตลอด 3 ปีที่ผ่านมา บพข. ได้มีความร่วมมือกับ 9 มหาวิทยาลัย และ สวทช. จนเกิดเป็น 11 หน่วยงานเร่งรัดงานวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเชิงลึก หรือ 11 Accelerator Platforms 

    สำหรับหน่วย Accelerator ของ มหาวิทยาลัยนเรศวร คือ โครงการ Organic Tech Accelerator Platform (OTAP) : แพลตฟอร์มเร่งการเติบโตทางธุรกิจด้วยเทคโนโลยีดิจิตอล และนวัตกรรมสร้างสรรค์ให้เติบโตอย่างยั่งยืนในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.สุขกิจ  ยะโสธรศรีกุล เป็นหัวหน้าโครงการ  ซึ่งสามารถบ่มเพาะ 8 ธุรกิจสตาร์ทอัพ เน้นถ่ายทอดองค์ความรู้ในกระบวนการทดสอบการตลาด การออกแบบต้นแบบ อาทิ ดิจิทัลแคตตาล็อก สำหรับทดลองสวมใส่เครื่องประดับสามมิติ เครื่องฆ่าเชื้ออุปกรณ์ทางการแพทย์ ที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ หรือ gamified application สำหรับบริหารการเงินเพื่อ Gen Z โดยเฉพาะ โดยสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัยนเรศวร “มหาวิทยาลัยเพื่อสังคมของผู้ประกอบการ” 

ที่มา: งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

พัฒนานิสิตด้านทักษะการเรียนรู้และทักษะในศตวรรษที่ 21

วันพฤหัสบดีที่ 21 กันยายน 2566 ดร.นิภารัตน์ อิ่มศิลป์ รองคณบดีฝ่ายวิชาการ เป็นประธานกล่าวเปิดโครงการพัฒนานิสิตด้านทักษะการเรียนรู้และทักษะในศตวรรษที่ 21 ครั้งที่ 2 ในหัวข้อ “ไอเดียสร้างรายได้จากวิดีโอ” ณ ห้อง QS 44101 อาคารเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา บรมราชินีนาถ มหาวิทยาลัยนเรศวรวิทยากรโดย คุณเสกสรร เทิดสิริภัทร หรือ เสกสรร ปั้น YouTube Video Content Creator รุ่นใหม่ เจ้าของไอเดียเด็ดที่สร้างช่องทางการสื่อสารและตัวตนผ่านทางยูทูป เพื่อให้นิสิตชั้นปีที่ 4 ได้รับแนวคิด รูปแบบวิธีการการทำงานในลักษณะออนไลน์และสามารถที่จะนำทักษะความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการออกฝึกปฏิบัติงานในภาคการศึกษาต่อไป

ที่มา: คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

Sustainability

NARESUAN UNIVERSITY

Solverwp- WordPress Theme and Plugin