Archives August 2024

มหาวิทยาลัยนเรศวร สร้างพื้นที่แห่งความสุข “ตลาดโบราณย้อนยุค”

มหาวิทยาลัยนเรศวรสร้างพื้นที่แห่งความสุข “ตลาดโบราณย้อนยุค” เพื่อเป็นพื้นที่ให้นิสิตและบุคลากรและประชาชนโดยรอบมหาวิทยาลัย ได้ใช้พื้นที่เลือกซื้ออาหารราคาถูกและสะอาดปลอดภัย ผ่านการร้อยเรียงเรื่องราววัฒนธรรมขนมโบราณและอาหารโบราณ และยังเป็นการเปิดพื้นที่เพื่อให้ผู้ประกอบการโดยรอบมหาวิทยาลัยมีพื้นที่สร้างรายได้เกิดเศรษฐกิจหมุนเวียนภายในชุมชน และการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ เกิดพื้นที่สร้างความสุข เป็นสังคมที่มีความยั่งยืน นอกจากนี้นังมีกิจกรรมร่วมอนุรักษณ์สิ่งแวดล้อม เช่น การปลูกต้นไต้ที่ใช้ขวดพลาสติกใช้แล้วนำกลับมาใช้เป็นภาชนะปลูก เป็นต้น

นิสิตมหาวิทยาลัยนเรศวร คว้ารางวัลที่ 3 ในโครงการนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนระดับประเทศ

นิสิตมหาวิทยาลัยนเรศวร คว้ารางวัลที่ 3 ในโครงการนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนระดับประเทศ จากมูลนิธิรากแก้ว ในงาน National Exposition 2024 University Sustainability Showcase ในระหว่างวันที่ 24-25 สิงหาคม พ.ศ.2567 ณ สามย่านมิตรทาวน์ จังหวัดกรุงเทพมหานคร

มหาวิทยาลัยนเรศวร ขอแสดงความยินดีกับนิสิตคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์และคณะวิทยาศาสตร์ ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศลำดับที่ 3 ทีมหน้าใหม่ประจำปี 2567 ในการแข่งขันโครงการนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งจัดขึ้นโดยมูลนิธิรากแก้ว ซึ่งมีบริษัทไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน), บริษัท KPMG, Junior Achievement Thailand และมูลนิธิ SCG เป็นผู้ร่วมสนับสนุน

นิสิตที่ได้รับรางวัลประกอบด้วย นายสกาย คิดลูน จอมพงษ์ นางสาววาสิตา รอดอินทร์ นิสิตชั้นปีที่ 4 จากคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ และนายกษิดิศ เห็มกัณฑ์ จากคณะวิทยาศาสตร์ โดยได้นำเสนอผลงาน “Paopae” นวัตกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน

ผลงาน “Paopae” มุ่งเน้นการส่งเสริมการท่องเที่ยวในจังหวัดพิษณุโลกโดยใช้ระบบพาสปอร์ตสะสมแต้ม ซึ่งนักท่องเที่ยวสามารถสะสมแต้มเพื่อแลกรับน้ำหอมกลิ่นดอกไม้ประจำจังหวัด ทั้งนี้ ยังได้มีการนำเสนอแนวความคิดในการนำผ้าทอลายประจำจังหวัดมาใช้ในการออกแบบชุดร่วมสมัย เพื่อดึงดูดความสนใจและเสริมสร้างเศรษฐกิจท้องถิ่น

ผลงานนี้ได้รับการยกย่องจากคณะกรรมการและได้รับรางวัลระดับ Silver พร้อมโล่ห์รางวัล อันเป็นการยืนยันถึงศักยภาพและความสามารถของนิสิตในการนำความรู้มาประยุกต์ใช้เพื่อประโยชน์ต่อสังคมและการพัฒนาที่ยั่งยืน

ทั้งนี้ ดร.ชไมพร ศรีสุราช และ อาจารย์ศรัณย์พร เกิดเกาะ จากวิทยาลัยนานาชาติ ได้ทำหน้าที่เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาโครงการ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการสนับสนุนและแนะนำให้นิสิตได้พัฒนาผลงานจนประสบความสำเร็จ

มหาวิทยาลัยนเรศวรขอแสดงความยินดีและภูมิใจในความสำเร็จของนิสิตที่ได้นำชื่อเสียงและเกียรติยศมาสู่มหาวิทยาลัย พร้อมทั้งย้ำถึงความมุ่งมั่นในการสนับสนุนให้เกิดการพัฒนานวัตกรรมที่ยั่งยืนต่อไปในอนาคต

ตรวจสุขภาพตามความเสี่ยงจากการทำงาน

วันที่ 7 สิงหาคม 2567  เวลา 08.45 น. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ แพทย์หญิงพิริยา นฤขัตรพิชัย คณบดีคณะแพทยศาสตร์ รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร เป็นประธานเปิดโครงการ ตรวจสุขภาพตามความเสี่ยงจากการทำงาน กิจกรรมที่ 2 อบรมและประเมินสมรรถภาพทางกายให้กับบุคลากรในหน่วยงานที่มีความเสี่ยงด้านการยศาสตร์ ณ ห้องประชุมเอกาทศรถ 9 อาคารสิรินธร โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร

โครงการดังกล่าวจัดโดยหน่วยอาชีวอนามัยและส่งเสริมสุขภาพนิสิตร่วมกับคณะกรรมความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร มีวัตถุประสงค์เพื่ออบรมให้ความรู้เกี่ยวกับอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงานและตรวจประเมินสมรรถภาพทางกายของโครงการตรวจสุขภาพตามความเสี่ยงจากการทำงานขึ้น นำความรู้เกี่ยวกับสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพไปปรับใช้ และเพื่อให้บุคลากรทราบข้อมูลพื้นฐานด้านสมรรถภาพทางกายและเป็นข้อมูล ในการส่งเสริมด้านสุขภาพและป้องกันโรคออฟฟิศซินโดรมหรืออาการผิดปกติทางระบบกระดูกโครงร่างและกล้ามเนื้อ ให้แก่บุคลากรของคณะ

เนื่องจากรายงานสถานการณ์การประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเรื่องจากการทำงาน ปี 2562 – 2566 ของสำนักงานประกันสังคม พบว่าโรคที่เกิดขึ้นตามลักษณะหรือสภาพของงานที่มีจำนวนการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงานสูงสุด 5 อันดับแรก คือ (1) โรคระบบกล้ามเนื้อและโครงสร้างกระดูกที่เกิดขึ้นเนื่องจากการทำงานฯ สูงสุด โดยเฉลี่ย 5 ปี มีลูกจ้างประสบอันตราย จำนวน 3,765 รายคิดเป็นร้อยละ 0.90 ต่อปี (2) โรคจากสาเหตุทางชีวภาพ มีลูกจ้างประสบอันตราย จำนวน 1,542 ราย คิดเป็นร้อยละ 0.37 ต่อปี (3) โรคผิวหนังที่เกิดจากสาเหตุทางกายภาพเคมีหรือชีวภาพอื่น มีลูกจ้างประสบอันตราย จำนวน 375 ราย คิดเป็นร้อยละ 0.09 ต่อปี (4) โรคจากแสงอัลตราไวโอเลต มีลูกจ้างประสบอันตราย จำนวน 124 ราย คิดเป็นร้อยละ 0.03 ต่อปี และ (5) โรคหูตึงจากเสียงมีลูกจ้างประสบอันตราย จำนวน 57 ราย คิดเป็นร้อยละ 0.01 ต่อปี (ที่มา : สำนักงานกองทุนทดแทน)

และจากการประเมินความเสี่่ยงทางสุขภาพและสภาพแวดล้อมในการทำงาน ทางด้านการยศาสตร์ของเจ้าหน้าที่ฝ่ายพยาธิวิทยาคลินิก และ Clerk ฝ่ายการพยาบาล คณะแพทยศาสตร์ เมื่อเดือนมีนาคม และดือนมิถุนายน 2567 จำนวน 26 หน่วยงาน พบว่า ระดับความรุนแรงของอันตรายด้านการยศาสตร์ ที่มีระดับเสี่ยงที่ยอมรับไม่ได้ (9 คะแนน) ได้แก่ (1) การออกแรงยก/เคลื่อนย้ายวัสดุสิ่งของที่มีน้ำหนักมาก และ (2) การออกแรงยก/เคลื่อนย้ายของด้วยท่าทางบิดเบี้ยวตัว รองลงมาเป็นระดับเสี่ยงสูง (6 คะแนน) ได้แก่ (1) ยืน/นั่งทำงานอยู่กับที่ติดต่อกันเป็นเวลานาน (2) ท่าทางการทำงานแบบซ้ำ

กิจกรรมในโครงการประกอบด้วย
1) การตรวจประเมินตรวจสมรรถภาพทางกายของคนวัยทำงานพร้อมการแปลผลตรวจสมรรถภาพทางกายและให้คำแนะนำรายบุคคล โดย ผศ.ดร.อาพัทธ์ เตียวตระกูล ดร.ภัควัฒน์ เชิดพุทธ พร้อมด้วยนิสิตระดับปริญญาตรี หลักสูตร กศ.บ.พลศึกษาและวิทยาศาสตร์การออกกำลังกาย
2) การอบรมให้ความรู้โดยวิทยากร โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทศพล บุตรมี สาขาวิชาอนามัยสิ่งแวดล้อม และอาชีวอนามัยและความปลอดภัย คณะสาธารณสุขศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร
3) การสาธิตการออกกำลังกายในการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหรือความผิดปกติทางระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ โดย หน่วยกายภาพบำบัด คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

ที่มา: คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

Sustainability

NARESUAN UNIVERSITY

Solverwp- WordPress Theme and Plugin