สาธิต ม.นเรศวร เลือกตั้งประธานนักเรียน ส่งเสริมให้นักเรียนได้เรียนรู้ถึงหลักประชาธิปไตย

โรงเรียนอนุบาลและประถมสาธิตมหาวิทยาลัยนเรศวรจัดกิจกรรมการเลือกตั้งประธานนักเรียน ประจำปีการศึกษา 2566

วันที่ 15 มิถุนายน 2566 โรงเรียนอนุบาลและประถมสาธิตมหาวิทยาลัยนเรศวร ได้จัดกิจกรรมการเลือกตั้งประธานนักเรียน ประจำปีการศึกษา 2566 เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนได้เรียนรู้ถึงหลักประชาธิปไตย โดยเริ่มจากการรู้จักระบอบประชาธิปไตยภายในโรงเรียน โดยคณะกรรมการเลือกตั้งประธานนักเรียน ได้จัดเตรียมสถานที่และดูแลความเรียบร้อยของการลงคะแนนเลือกตั้งประธานนักเรียน ประจำปีการศึกษา 2566 ณ อาคารปฏิบัติการช้างน้อย กระบวนการเลือกตั้งได้จัดขึ้นอย่างโปร่งใสและยุติธรรม ภายใต้การควบคุมของคณะกรรมการเลือกตั้งฯ

ทั้งนี้ กระบวนการเลือกตั้งได้เสร็จสิ้นเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ผู้มาใช้สิทธิเป็นนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 336 คน ผลการเลือกตั้งปรากฏว่า พรรคเพื่อน้อง หมายเลข 2 ชนะการเลือกตั้งด้วยผลคะแนน 169 เสียง โดย เด็กหญิง กฤตญกร สุริวงษ์ ได้รับการคัดเลือกให้เป็นประธานนักเรียน ประจำปีการศึกษา 2566 ของโรงเรียนฯ และดำเนินการตามนโยบายของพรรค เพื่อพัฒนาให้โรงเรียนเป็นไปในทิศทางที่ดีต่อไป

ที่มา: เอดีดีนิวส์ – ADD News

สภานิสิต ม.นเรศวร ประกาศและแสดงจุดยืน “ไม่สนับสนุนกิจกรรม ระบบโซตัส”

สภานิสิตขอประกาศและแสดงจุดยืน “ไม่สนับสนุนกิจกรรม ระบบโซตัส” ยกเลิกกิจกรรมห้องเชียร์มติตั้งแต่ปีการศึกษา2564 เป็นต้นไป และไม่สนับสนุนกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับระบบโซตัส(SOTUS) ทั้งกิจกรรมที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนของมวลนิสิตในรูปแบบต่างๆ

อ้างตาม : มติจากการประชุมร่วมกันระหว่างสภานิสิต องค์การนิสิต และสโมสรนิสิตคณะ/วิทยาลัย และเสนอเข้าเพื่อทราบในที่ประชุมคณะกรรมการกิจการนิสิต ครั้งที่ 1/2564

โดยก่อนหน้านี้มีหน่วยงาน/องค์กรทางการศึกษาทยอยประกาศ ยกเลิกโซตัส รวมทั้งกิจกรรมที่เข้าข่ายการละเมิดสิทธิมนุษยชน อย่างต่อเนื่อง โดยก่อนหน้าที่มีองค์การบริหาร องค์การนิสิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน (อบ.ก.), องค์การนักศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น, องค์การนิสิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (มมส) ที่ประกาศออกมาแล้ว

และล่าสุด เมื่อวันที่ 12 มิถุนายนที่ผ่านมา สภานิสิต มหาวิทยาลัยนเรศวร (มน.) เป็นหน่วยงานล่าสุดที่ออกมาระบุว่า สภานิสิตขอประกาศและแสดงจุดยืน ยกเลิกกิจกรรมห้องเชียร์ มติตั้งแต่ปีการศึกษา 2564 เป็นต้นไป และไม่สนับสนุนกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับระบบโซตัส (SOTUS) ทั้งกิจกรรมที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนของมวลนิสิตในรูปแบบต่างๆ

ที่มา: Matichon Online

“เวทีผู้บริหารพบประชาคมมหาวิทยาลัยนเรศวร”

วันจันทร์ที่ 6 มิถุนายน 2565 เวลา 13.00 น. มหาวิทยาลัยนเรศวรจัดกิจกรรม “เวทีผู้บริหารพบประชาคมมหาวิทยาลัยนเรศวร” เพื่อรับทราบนโยบาย วิสัยทัศน์และทิศทางของมหาวิทยาลัยในอนาคต โดยรองศาสตราจารย์ ดร.ศรินทร์ทิพย์ แทนธานี รักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยนเรศวร พร้อมด้วยคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัย ณ ห้องประชุมมหาราช อาคารอุทยานองค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ชั้น 2 มหาวิทยาลัยนเรศวร

ที่มา: กองอาคารสถานที่ มหาวิทยาลัยนเรศวร

ม.นเรศวร ตั้ง กก.สอบ! เครือข่าย ปชช. ยื่นร้องพฤติกรรมนักวิชาการทำEIA แนวส่งน้ำยวมไม่น่าไว้ใจ

สืบเนื่องจากสำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) เคยนำเสนอข่าวในช่วงเดือนเมษายน 2565 ที่ผ่านมา ชาวบ้าน ต.นาคอเรือ อ.ฮอต จ.เชียงใหม่ ได้ออกคัดค้านการก่อสร้างโครงการเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนเขื่อนภูมิพล (แนวส่งน้ำยวม) พร้อมตั้งข้อสังเกตกรณีนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยนเรศวร ที่เข้ามาในพื้นที่ว่า อาจจะมีพฤติกรรมไม่ชอบมาพากล เหมือนที่ทำรายงานวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) แบบไม่ถูกต้องตามข่าวที่สำนักข่าวอิศราเคยนำเสนอ ซึ่งเรียกว่า ‘EIA ร้านลาบ’ 

277185726 3083695085175796 3074945533297550827 n

สำนักข่าวอิศรา รายงานความเคลื่อนไหวล่าสุด ว่า เมื่อวันที่ 10 พ.ค. 2565 เครือข่ายประชาชนลุ่มน้ำยวม-เงา-เมย-สาละวิน  ได้ทำหนังสือถึงประธานสภามหาวิทยาลัยนเรศวร และทำสำเนาถึงนายเอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) เพื่อขอให้ตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของนักวิชาการในมหาวิทยาลัยนเรศวรกลุ่มหนึ่ง กรณีที่รับจ้างจากกรมชลประทาน จัดทำรายงาน EIA โครงการเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนให้เขื่อนภูมิพล และโครงการสืบเนื่อง เป็นทางการ

เนื้อหาหนังสือระบุสาระคำสัญว่า ที่ผ่านมา คณะนักวิชาการกลุ่มนี้ เคยทำรายงาน EIA โครงการไว้และสิ้นสุดขอบข่ายการปฏิบัติงานไปเมื่อเดือนสิงหาคม 2564 ที่ผ่านมา ซึ่งกระบวการทำรายงาน EIA มีปัญหาหลายจุด อาทิ จำนวนพื้นที่และผู้ได้รับผลกระทบจากโครงการไม่สอคล้องกับความเป็นจริง, กระบวนการรับฟังความเห็นประชาชนในพื้นที่ไม่ครบถ้วน, ใช้ข้อมูลผิดวัตถุประสงค์ และใช้รูปภาพหรือข้อมูลที่ไม่น่าเชื่อถือ เป็นต้น 

โดยทางเครือข่ายประชาชนฯ จะให้เวลาตอบกลับภายใน 15 วัน นับจากวันที่ได้รับหนังสือฉบับนี้ ซึ่งภายในหนังสือดังกล่าวแนบชื่อนักวิชาการจำนวน 9 รายที่ร่วมจัดทำรายงาน EIA ทั้งหมดด้วย (ดูรายละเอียดในหนังสือท้ายเรื่อง) 

ผู้สื่อข่าวสำนักข่าวอิศรา รายงานว่า ได้พยายามติดต่อไปยังมหาวิทยาลัยนเรศวร เพื่อสอบถามข้อเท็จจริงเรื่องนี้เพิ่มเติม ได้รับการยืนยันจากแหล่งข่าวในมหาวิทยาลัยว่า ทางสภามหาวิทยาลัยได้รับเรื่องดังกล่าวไว้เมื่อวันที่ 12 พ.ค. 2565 แต่เนื่องจากสภามหาวิทยาลัยตั้งอยู่ในกรุงเทพฯ จึงต้องส่งเรื่องต่อไปยังสำนักงานสภาฯ ที่กรุงเทพฯ 

“จดหมายที่มาถึงไม่มีเอกสารแนบใด ๆ มีเพียงเนื้อความในจดหมาย 2 แผ่นเท่านั้น แต่ตอนนี้ตามระเบียบของมหาวิทยาลัยได้ตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงแล้ว คาดว่าจะใช้เวลา 90 วัน แต่หากเป็นเรื่องร้องเรียนจากภายนอกมหาวิทยาลัย ทางสภามหาวิทยาลัยก็จะเร่งรัดให้ใช้เวลาพิจารณาเร็วขึ้น แต่ไม่สามารถบอกได้ว่า จะใช้เวลาตรวจสอบนานแค่ไหน”  แหล่งข่าวระบุ   

ขณะที่ นายวันชัย ศรีนวน ผู้ใหญ่บ้านแม่งูด ต.นาคอเรือ อ.ฮอด จ.เชียงใหม่ เปิดเผยว่า เครือข่ายประชาชนลุ่มน้ำยวม-เงา-เมย-สาละวิน ซึ่งประกอบด้วยกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน นายกและสมาชิกองค์กรบริหารส่วนท้องถิ่น ชาวบ้านที่ได้รับผลประทบ ได้ส่งหนังสือถึงประธานสภามหาวิทยาลัยนเรศวร(มน.)และศ.พิเศษ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวตกรรม(อว.)เพื่อขอให้ตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของนักวิชาการกลุ่มหนึ่งใน มน. กรณีรับจ้างกรมชลประทานการจัดทำรายงานศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม(อีไอเอ)โครงการเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนให้เขื่อนภูมิพล และโครงการสืบเนื่อง เพราะมีข้อมูลหลายส่วนที่ไม่ตรงกับข้อเท็จจริง และมีการแอบอ้างชื่อและภาพชาวบ้านไว้ในงานวิจัยโดยไม่ขออนุญาตที่สำคัญคือมีการเบียงเบนข้อเท็จจริง

นายวันชัยกล่าวย้ำว่า หนังสือดังกล่าวเห็นชอบและลงนามโดยผู้นำชุมชน 9 ราย อาทิ ประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบลแม่สวด นายกองค์การบริหารส่วนตำบลแม่สามแลบ อ.สบเมย จ.แม่ฮ่องสอน กำนันต.นาคอเรือ กำนัน ต.ฮอด อ.ฮอด จ.เชียงใหม่ เป็นต้น 

ส่วน นายดวงจันทร์ ทองคำ ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านแม่เงา ต.แม่สวด อ.สบเมย จ.แม่ฮ่องสอน ซึ่งจะได้รับผลกระทบจากเขื่อนกั้นแม่น้ำยวม สถานีสูบน้ำ และกองดินจากการขุดอุโมงค์ กล่าวว่า “ขณะนี้ชาวบ้านในเขตป่า 3 จังหวัด กำลังได้เจอปัญหาเดียวกัน ทั้งการสร้างเขื่อนกั้นแม่น้ำยวม ขุดอุโมงค์ และสายส่งไฟฟ้าแรงสูง เราจะได้รับผลกระทบที่รุนแรงหลายสิ่งอย่างมาก ทั้งกุ้งหอยปูปลา แม่น้ำ ป่าไม้ ที่ดินทำกินของเรา กรณีที่นักวิชาการ มน.รับทำการศึกษาโครงการนั้น ตนและผู้นำในพื้นที่ ต่างพบเจอสิ่งเดียวกัน คือ พบว่ามีตัวแทนจากมหาวิทยาลัย นเรศวรมาพบเรา มายืนข้างเรา และถ่ายรูปเราไป”

“ที่จริงการที่เขาถ่ายรูปผมควรต้องขออนุญาตก่อน ผมถามว่า มาจากที่ไหน อยู่หน่วยงานไหน แต่เขาบอกว่ามาจากกรมชลฯ เขาตอบว่าจบดอกเตอร์ แต่ธรรมชาติสอนให้ผมรู้ที่ต่ำที่สูง รู้ในสิ่งที่ผิดที่ถูก เราไม่ใช่คนไม่มีมารยาท บ้านป่าของเราก็มีการศึกษา เขาถามว่าถ้ามีคนมาเอาเงินเป็นล้านมาให้จะเอาไหม ผมบอกไปว่าผมไม่เอาเงินล้าน ผมอยู่บ้านป่า ผมกินของดอย กินกุ้งหอยปูปลา ดีกว่าเงินล้านเดียว หากรับเอาไปปีเดียวก็หมด ล้านเดียวเดี๋ยวก็หมดเกลี้ยง เอาทรัพยากรธรรมชาติของเรากลับคืนมาดีกว่า พวกเรายืนยันว่าจะไม่โยกย้าย จะไม่หนี” ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านกล่าว

WaterNorth140565
38794F7B 3FD5 4D1E 9E53 FEF3ACD81B27

ที่มา: สำนักข่าวอิศรา

คณะกรรมการสรรหาอธิการบดีเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นประชาคมเพื่อเป็นข้อมูลในการสรรหาอธิการบดีมหาวิทยาลัยนเรศวร

วันจันทร์ที่ 22 พฤศจิกายน 2564  ณ ห้องประชุมเอกาทศรถ 301 ชั้น 3 มหาวิทยาลัยนเรศวร คณะกรรมการสรรหาอธิการบดีมหาวิทยาลัยนเรศวร โดย ดร.พิจิตต รัตตกุล ศาสตราจารย์ ดร.สุรชาติ บำรุงสุข ศาสตราจารย์ ดร.ศันสนีย์ ไชยโรจน์ รองศาสตราจารย์ ดร.วิชญานัน รัตนวิบูลย์สม และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ชนินทร์ อัมพรสถิร จัดการประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาคมมหาวิทยาลัยนเรศวรเกี่ยวกับทิศทางการพัฒนามหาวิทยาลัย เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการในการสรรหาอธิการบดีมหาวิทยาลัยนเรศวร  ซึ่งการรับฟังความคิดเห็นในครั้งนี้ต้องไม่สนับสนุนหรือพาดพิงบุคคลอื่นใด  โดยมีการรับฟังทั้งหมด  6 กลุ่ม ทั้งในห้องประชุมและทางระบบออนไลน์ (Zoom) ดังนี้
กลุ่ม 1 ผู้อำนวยการกอง/ผู้อำนวยการโรงเรียน/บุคลากรสายสนับสนุน
กลุ่ม 2 ผู้บริหาร (คณบดี/ผู้อำนวยการวิทยาลัย/ผู้อำนวยการสำนัก)
กลุ่ม 3 บุคลากรสายวิชาการ
กลุ่ม 4 นิสิตบัณฑิตศึกษา/องค์การนิสิต/สโมสรนิสิต
กลุ่ม 5 ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยนเรศวร
กลุ่ม 6 หน่วยงานภายนอกมหาวิทยาลัย
ทั้งนี้ การจัดประชุมดังกล่าว ได้มีการจัดประชุมภายใต้การดูแลมาตรการป้องกันการแพร่ระบาด โควิด 19 อย่างเคร่งครัด

ที่มา: ประชาสัมพันธ์มหาวิทยาลัยนเรศวร

มหาวิทยาลัยนเรศวรลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการศึกษาแนวทางการแก้ไขปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำ ภาคเหนือตอนล่าง : กรณีศึกษาจังหวัดพิษณุโลก

เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2564 ศาสตารจารย์ ดร.จิรวัฒน์ พิระสันต์ ปฏิบัติหน้าที่แทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยนเรศวร พร้อมผู้บริหาร ร่วมให้การต้อนรับภาคีเครือข่าย จำนวน 12 หน่วยงาน ในพิธีลงนามบันทึกบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการศึกษาแนวทางการแก้ไขปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำ ภาคเหนือตอนล่าง : กรณีศึกษาจังหวัดพิษณุโลก  โดยมี นายรณชัย จิตรวิเศษ ผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก เป็นประธานในพิธีเปิดงาน ณ ห้องประชุมพระพุทธชินราช ชั้น 7 ศาลากลางจังหวัดพิษณุโลก (หลังใหม่)
สำหรับการดำเนินงานดังกล่าว ดร.กิตติ สัจจา ผู้อำนวยการหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.)ได้กล่าวว่า โครงการนี้ ได้รับความร่วมมือจากภาครัฐกว่า 12 หน่วยงาน ที่จะร่วมผลักดันให้เกิดกระบวนการและกลไกของหน่วยงานนำไปสู่การขับเคลื่อนแก้ไขปัญหาพัฒนาคุณภาพชีวิตของครัวเรือนยากจนในพื้นที่จังหวัดพิษรูโลกอย่างเบ็ดเสร็จและแม่นยำ โดยการใช้ประโยชน์จากระบบฐานข้อมูลครัวเรือนยากจนร่วมกันของทุกภาคส่วน นับเป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งที่จะก่อให้เกิดการบูรณาการช่วยเหลือคนจนอย่างตรงจุด
สำหรับจังหวัดพิษณุโลกคณะผู้วิจัยได้ค้นหาและสอบทานข้อมูลคนจน จำนวน 24,000 ข้อมูล ครอบคลุมพื้นที่ 9 อำเภอ จากนั้น ดำเนินการสร้างนวัตกรรมแก้จนที่เหมาะสมกับบริบทและคนจนเป้าหมาย โดยทุนศักยภาพ 5 มิติ ประกอบด้วย ทุนสังคม ทุนมนุษย์ ทุนทางกายภาพ ทุนทางการเงิน และทุนธรรมชาติ นำมาสู่การวิเคราะห์เชิงคุณภาพเชื่อมโยงบริบท เพื่อการสร้างนวัตกรรมแก้จนที่สอดคล้องกับบริบทและคนจนเป้าหมาย โดยมีเป้าหมายคนจนในพื้นที่ 2 อำเภอ ๆ ได้แก่ ตำบลชุมแสงสงคราม ตำบลวังอิทก  อำเภอบางระกำ  และตำบลไทรย้อย อำเภอเนินมะปราง รวมเป็น 2,000 คน ทั้งนี้คนจนได้รับการช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาที่สอดคล้องกับบริบทกลุ่มเป้าหมายอย่างน้อย 10%
ด้วยกระบวนการสร้างนักจัดการข้อมูลชุมชน และภาคีเครือข่ายในชุมชน สามารถติดตามสถานะคนจนให้เป็นปัจจุบัน จัดทำข้อมูลให้มีชีวิต ส่งต่อและประสานความช่วยเหลือครัวเรือนยากจนในระดับพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพ เกิดระบบความช่วยเหลือครัวเรือนยากจนเห็นผลอย่างเป็นรูปธรรม ด้วยการสานพลังขับเคลื่อนจากวัด ทหาร หน่วยงาน และชุมชน  หนุนเสริมทักษะอาชีพ ทักษะการใช้ชีวิตของครัวเรือนยากจน การบูรณาการสร้างระบบสาธารณสุขที่เหมาะสม ทั้งนี้การพัฒนาภาคีเครือข่ายด้วยนวัตกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนในจังหวัดพิษณุโลกแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำ จะเป็นการสานพลังที่จะนำไปสู่กระบวนการแก้ไขปัญหาให้คนพิษณุโลกหลุดพ้นจากความยากจน  สามารถเข้าถึงทรัพยากร  การศึกษา  สวัสดิการต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตได้อย่างเท่าเทียมและยั่งยืน

ที่มา: ประชาสัมพันธ์มหาวิทยาลัยนเรศวร

Sustainability

NARESUAN UNIVERSITY

Solverwp- WordPress Theme and Plugin