Archives August 2022

ม.นเรศวร ร่วมแลกเปลี่ยนแนวทางการดำเนินงานด้านณรงค์ป้องกันยาเสพติดในสถาบันอุดมศึกษาเครือข่ายภาคเหนือตอนล่าง

เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2565 มหาวิทยาลัยนเรศวร (สถาบันแม่ข่าย) ได้ร่วมแลกเปลี่ยนแนวทางการดำเนินงานด้านณรงค์ป้องกันยาเสพติดในสถาบันอุดมศึกษาเครือข่ายภาคเหนือตอนล่าง เป็นครั้งที่3 โดยได้เข้าร่วมแลกเปลี่ยนกับ 1.มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครสวรรค์ในประเด็นการลงพื้นที่เป้าหมายรณรงค์และให้ความรู้เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องและรู้เท่าทันสถานการณ์ยาเสพติดในปัจจุบัน 2.มหาวิทยาลัยภาคกลาง ในประเด็นผนวกการให้ความรู้เรื่องยาเสพติดเข้ากับวิชาเรียน และ 3.มหาวิทยาลัยเจ้าพระยา ให้ความรู้การทำคลิปเพื่อเผยแพร่ความรู้การรณรงค์ป้องกันยาเสพติด โดยทั้ง3สถาบัน จะได้นำสิ่งที่ได้จากการดำเนินงานร่วมแลกเปลี่ยนกับสถาบันอุดมศึกษา เครือข่ายภาคเหนือตอนล่างต่อไป

ที่มา: กองกิจการนิสิต มหาวิทยาลัยนเรศวร

รายการ รักไม่รู้โรย เรื่อง ปัญหาเรื่องเต้านมคุณแม่หลังคลอด

รายการ รักไม่รู้โรย เรื่อง ปัญหาเรื่องเต้านมคุณแม่หลังคลอด
>>วิทยากรโดย อาจารย์กนกอร มังกรประดิษฐ์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาการพยาบาลมารดรและทารก

ดำเนินรายการโดย ผศ.ดร.วรวรรณ์ ทิพย์วารีรมย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
ที่มา: สถานีวิทยุกระจายเสียงมหาวิทยาลัยนเรศวร NUradio Naresuan

https://www.youtube.com/watch?v=VOpAWtuAzWU&t=54s

โครงการผักปลอดภัย เสริมอนามัยสู่ชุมชน

เมื่อวันอังคารที่ 30 สิงหาคม 2565 รศ.ดร.ณรงค์ศักดิ์ หนูสอน คณบดีคณะสาธารณสุขศาสตร์ และ คุณธวัช สิงหเดช นายกองค์การบริหารส่วนตำบลท่าโพธิ์ ให้เกียรติเป็นประธานการกล่าวเปิดงาน “โครงการผักปลอดภัย เสริมอนามัยสู่ชุมชน” หัวหน้าโครงการ: ดร.กนกทิพย์ จักษุซึ่งได้รับการสนับสนุนงบประมาณด้านการบริการวิชาการจาก อบต.ท่าโพธิ์ ร่วมกับ “โครงการบริการวิชาการด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม” หัวหน้าโครงการ: ผศ.ดร.สรัญญา ถี่ป้อม จัดขึ้นโดยสาขาวิชาอนามัยสิ่งแวดล้อม คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร โดยมีผู้เข้าร่วมโครงการ ได้แก่ ผู้ประกอบการแผงผัก จำนวน 20 ร้านค้า และ อสม. จำนวน 50 ท่าน คณาจารย์และนิสิตสาขาวิชาอนามัยสิ่งแวดล้อมชั้นปีที่ 4 ณ ศูนย์ส่งเสริมพัฒนาคุณภาพชีวิตตำบลท่าโพธิ์ อ.เมือง จ.พิษณุโลก

โดยนิสิตสาขาวิชาอนามัยสิ่งแวดล้อมจัดกิจกรรมให้ความรู้ เวียนฐานการเรียนรู้ อธิบายและสาธิต จำนวน 7 ฐาน
1. การล้างผัก เพื่อการบริโภคผักอย่างปลอดภัย
2. การตรวจวัดหาการตกค้างของสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในผัก
3. การตรวจสารฟอกขาวในอาหาร
4. การตรวจสารกันรา
5. การตรวจน้ำส้มสายชูปลอม
6. การตรวจสารโพลาร์ในน้ำมันทอดซ้ำ
7. การตรวจโคลิฟอร์มในน้ำ

สาขาวิชาอนามัยสิ่งแวดล้อมขอขอบคุณคณาจารย์และนิสิตผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งเบื้องหน้าและเบื้องหลังที่ทำให้โครงการในครั้งนี้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี

ที่มา: สาขาวิชาอนามัยสิ่งแวดล้อม คณะสาธารณสุขศาสตร์ มน.

ม.นเรศวร ขนย้ายและกำจัดของเสียอันตราย ประจำปี 2565

เมื่อวันที่ 29-30 สิงหาคม 2565 บุคลากรกองอาคารสถานที่ร่วมกับหลายฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้ดำเนินการขนย้ายของเสียอันตรายที่เกิดขึ้นภายในห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ของคณะและหน่วยงานต่างๆ จำนวน 23 จุด ภายในมหาวิทยาลัยนเรศวร ซึ่งจะถูกนำไปกำจัดและทำลายอย่างถูกวิธีโดยผู้เชี่ยวชาญเพื่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของบุคลากรที่ปฏิบัติการทางด้านวิทยาศาสตร์ รวมถึงผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายภายในมหาวิทยาลัยนเรศวร

ที่มา: กองอาคารสถานที่ มหาวิทยาลัยนเรศวร

ม.นเรศวร จัดโครงการอบรมการปฐมพยาบาลเบื้องต้นสำหรับนักกีฬา

กองกิจการนิสิต มหาวิยาลัยนเรศวร ได้จัดให้มีโครงการอบรมการปฐมพยาบาลเบื้องต้นสำหรับนักกีฬา ในวันอาทิตย์ที่ 28 สิงหาคม 2565 ณ อาคารอเนกประสงค์ โดยมีอาจารย์ที่ปรึกษา ผู้จัดการทีม ผู้ช่วยผู้ฝึกสอน และนักกีฬา มหาวิทยาลัยเข้าร่วมการอบรม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปฐมพยาบาลเบื้องต้นสำหรับนักกีฬาที่ถูกต้อง และสามารถนำความรู้ที่ได้รับจากการอบรมไปใช้ในกรณีเกิดการบาดเจ็บระหว่างฝึกซ้อม หรือนำไปใช้กรณีเกิดเหตุฉุกเฉินในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้อง เพื่อลดความเสี่ยงในการเสียชีวิตหรือลดความรุนแรงในการบาดเจ็บจากการฝึกซ้อมหรือการแข่งขันกีฬา โดยได้รับความร่วมมือจาก รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยยงค์ จรเกตุ รองคณบดีฝ่ายบริหารและพัฒนาทรัพยากร คณะสหเวชศาสตร์ ร่วมเป็นวิทยากร และได้รับความร่วมมือจาก AEKKAMON AMBULANCE ประกอบไปด้วย คุณเกียรติศักดิ์ รุ่งเรือง คุณพิมใจ รุ่งเรือง คุณวาสนา แสนทนันชัย และคุณปรีชา เชื้อสายมาก ให้ความรู้และสาธิตวิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้นในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินในรูปแบบต่างๆ ที่อาจพบเจอได้จากการเล่นหรือฝึกซ้อมกีฬา รวมถึงเหตุฉุกเฉินที่พบได้บ่อยในชีวิตประจำวัน

ที่มา: กองกิจการนิสิต มหาวิยาลัยนเรศวร

เชิดชูคนดี กยศ. จิตอาสาคัดแยกขยะ

กิจกรรมจิตอาสาคัดแยกขยะเริ่มทำตั้งแต่ปี 2558 โดยเป็นการรวมกลุ่มของนิสิตแกนนำเพียง 10 คนซึ่งปัจจุบันมีสมาชิกที่ร่วมทำกิจกรรมสะสมกว่า 4,000 คนโดยเงินที่ได้จากการจัดกิจกรรมคัดแยกขยะในช่วงแรกได้นำไปมอบให้กับหน่วยงานการกุศลและ กองทุนการศึกษาเพื่อนิสิต มหาวิทยาลัยนเรศวร

จากนั้นในปีต่อๆมาได้นำมาจัดสรรเป็นทุนการศึกษาให้กับนิสิตปัจจุบันมีนิสิตได้รับทุนดังกล่าวมากกว่า 60 คนถึงแม้จะเป็นจำนวนเงินไม่มากนักแต่ก็สร้างความภาคภูมิใจให้กับนิสิตที่ทำกิจกรรมและผู้รับทุนสนับสนุน

กิจกรรมจิตอาสาคัดแยกขยะทำเป็นกิจกรรมย่อย 4 กลุ่ม
1.จิตอาสาคัดแยกขยะวันพุธ
2.จิตอาสาคัดแยกขยะวันอาทิตย์
3.จิตอาสาปั่นจักรยานเก็บขยะวันเสาร์
4.จิตอาสาคัดแยกขยะหอพัก

ปัจจุบันยังคงมีนิสิตทำกิจกรรมดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง ขอแรงใจให้น้องนิสิตกลุ่มนี้ เพื่อสืบสานกิจกรรมดีๆแบบนี้ต่อไป
ที่มา: งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

โครงการสนับสนุนการเผยแพร่ผลงานวิจัย และงานสร้างสรรค์ กิจกรรม I&E Boot Camp

วันเสาร์ ที่ 27 สิงหาคม 2565 คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร จัดโครงการสนับสนุนการเผยแพร่ผลงานวิจัย และงานสร้างสรรค์ กิจกรรม I&E Boot Camp โดยมี อ.ดร.นพดล จำรูญ รองคณบดีฝ่ายพัฒนานิสิตและกิจกรรมเพื่อสังคม เป็นวิทยากรในกิจกรรมครั้งที่ 1 กิจกรรมนี้จัดให้นิสิตทั้งสิ้นจำนวน 4 ครั้ง ซึ่งจะช่วยฝึกการใช้ความคิดสร้างสรรค์ให้แก่นิสิต ในด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศ (I: Innovation & Information technology) และทักษะการเป็นผู้ประกอบการ (E: Entrepreneurial skills) เพื่อให้นิสิตนำประสบการณ์จากกิจกรรมนี้ไปต่อยอดใช้กับการเรียน การสร้างผลงานโปรเจค การใช้ชีวิต และการมีงานทำ

ที่มา: คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

หอพักนิสิต ม.นเรศวร จัดโครงการซ้อมหนีไฟเพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้นิสิตผู้พักอาศัย

เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2565 หอพักนิสิตมหาวิทยาลัยนเรศวร กองกิจการนิสิต นำโดย หัวหน้างานบริการสวัสดิการนิสิต (นางพรธิดา บุญยะโรจน์) และเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง ได้จัดโครงการอบรมฝึกซ้อมหนีไฟ ประจำปีการศึกษา  2565 ขึ้น ณ ห้องล็อบบี้ อาคารขวัญเมือง ชั้น 2 และหอพักนิสิตมหาวิทยาลัยนเรศวร อาคาร 1 – 15 ทั้งนี้เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมรับภัยพิบัติที่อาจเกิดขึ้นจากอัคคีภัยโดยไม่ได้คาดคิด ซึ่งหากเกิดขึ้นอาจส่งผลกระทบต่อชีวิตและทรัพย์สินของตัวนิสิตและส่วนรวมได้ โดยโครงการฯ ดังกล่าวได้รับเกียรติจาก นายธวัชชัย โตสุข ตำแหน่ง นักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยปฏิบัติการ และทีมงานจากองค์การบริหารส่วนตำบลท่าโพธิ์ เป็นวิทยากรบรรยายให้ความรู้และฝึกซ้อมภาคปฏิบัติการหนีไฟ รวมถึงการปฏิบัติตนให้พ้นภัยจากเหตุการณ์ไฟไหม้ภายในอาคารดังกล่าวอีกด้วย

ที่มา: กองกิจการนิสิต มหาวิยาลัยนเรศวร

กยศ. มอบรางวัลกิจกรรมเชิดชูคนดี กยศ. เพื่อเป็นต้นแบบที่ดี (Role Model) จิตอาสาเต้านมเทียม

กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) มอบรางวัลกิจกรรมเชิดชูคนดี กยศ. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 เพื่อเป็นต้นแบบที่ดี (Role Model) ให้แก่ นักเรียน นักศึกษา ศิษย์เก่า กยศ. และสถานศึกษา เพื่อสร้างขวัญกำลังใจและความภาคภูมิใจแก่ผู้ที่ได้รับการคัดเลือกให้เป็นต้นแบบที่ดี

วันนี้ (26 สิงหาคม 2565) ณ ห้องประชุมวายุภักษ์ 4 ชั้น 4 กระทรวงการคลัง ได้มีพิธีมอบรางวัลกิจกรรมเชิดชูคนดี กยศ. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 โดยมี นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ ปลัดกระทรวงการคลัง และประธานกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา เป็นประธานในพิธีมอบรางวัลและร่วมแสดงความยินดีแก่ผู้ได้รับรางวัล

นายชัยณรงค์ กัจฉปานันท์ ผู้จัดการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา เปิดเผยว่า “ในโอกาสที่กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาได้จัดงานมอบรางวัลกิจกรรมเชิดชูคนดี กยศ. ให้แก่ นักเรียน นักศึกษา ศิษย์เก่า กยศ. และสถานศึกษา ซึ่งทุกท่านถือเป็นผู้ที่มีคุณงามความดี และเป็นต้นแบบที่ดีให้กับรุ่นน้องได้เห็นคุณค่าของเงินกู้ยืมมีทัศนคติที่ดีและถูกต้องต่อการกู้ยืมเงินเพื่อการศึกษา และมีคุณธรรมจริยธรรมจิตสำนึกความรับผิดชอบต่อสังคม รวมถึงมีความรับผิดชอบในการชำระเงินคืนกองทุน ซึ่งสมควรที่จะได้รับการยกย่องให้เป็นต้นแบบที่ดีของสังคมต่อไป ทั้งนี้ กองทุนมีความภาคภูมิใจที่ได้มีส่วนร่วมในการสร้างโอกาสทางการศึกษา และพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพ เพื่อเป็นกำลังสำคัญให้กับประเทศชาติในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมต่อไป กองทุนได้ดำเนินการคัดเลือกรางวัลกิจกรรมเชิดชูคนดี กยศ. โดยร่วมกับสถานศึกษาที่เข้าร่วมดำเนินงานกองทุนทั่วประเทศ เพื่อสรรหาผู้ที่เป็นต้นแบบที่ดี (Role Model) ให้แก่ นักเรียน นักศึกษา ศิษย์เก่า กยศ. และสถานศึกษา เพื่อสร้างขวัญกำลังใจและความภาคภูมิใจแก่ผู้ที่ได้รับการคัดเลือกให้เป็นต้นแบบที่ดีในการประพฤติปฏิบัติตน มีจิตสาธารณะ มีจิตสำนึกความรับผิดชอบต่อสังคม รวมถึงสร้างเครือข่ายผู้เป็นต้นแบบที่ดีของกองทุนที่จะได้เป็นส่วนสำคัญในการร่วมสร้างประโยชน์แก่สังคม และร่วมกันดำเนินกิจกรรมสาธารณประโยชน์ที่เกี่ยวกับกองทุนในโอกาสต่างๆ ทั้งนี้ กองทุนได้ประกาศผลการคัดเลือกต้นแบบที่ดี จำนวน 36 รางวัล ประกอบด้วย

นักเรียน นักศึกษา กยศ. ต้นแบบ จำนวน 12 รางวัล (แบ่งเป็นประเภทเดี่ยว จำนวน 9 รางวัล ประเภทกลุ่ม 3 รางวัล) โดยจะได้รับรางวัลทุนการศึกษา พร้อมใบประกาศเกียรติคุณ และเข็มคนดี กยศ.

ศิษย์เก่า กยศ. ต้นแบบ จำนวน 12 รางวัล โดยจะได้รับรางวัลทุนการศึกษา พร้อมใบประกาศเกียรติคุณ และเข็มคนดี กยศ.

สถานศึกษาต้นแบบ 12 รางวัล โดยจะได้รับโล่ประกาศเกียรติคุณ ในฐานะที่เป็นต้นแบบ    การบริหารจัดการงานกองทุนที่ดี มีการสร้างเครือข่ายจิตสาธารณะ เพื่อปลูกฝังให้นักเรียน นักศึกษา ร่วมทำประโยชน์เพื่อสังคมส่วนรวมอย่างเป็นรูปธรรม

ทั้งนี้ กองทุนเป็นหน่วยงานของรัฐในกำกับดูแลของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้ดำเนินการให้กู้ยืมเงินแก่นักเรียน นักศึกษา ตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ระดับอาชีวศึกษา จนถึงระดับอุดมศึกษา ผ่านสถานศึกษามากกว่า 4,000 แห่ง โดยมีผู้กู้ยืมที่ได้รับโอกาสทางการศึกษาทั่วประเทศกว่า 6.2 ล้านราย ซึ่งทุกคนล้วนเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนและพัฒนาประเทศให้มีความเจริญก้าวหน้าต่อไป” ผู้จัดการกองทุนฯ กล่าวในที่สุด

   ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยนเรศวรได้รับการคัดเลือกต้นแบบที่ดีและได้รับรางวัล  ดังนี้
1. นักเรียน นักศึกษา กยศ. ต้นแบบ
              1. นางสาวเบญจรัตน์ ดีเรือง มหาวิทยาลัยนเรศวร

2. ประเภทกลุ่ม “จิตอาสาเต้านมเทียม”
            1. นางสาวเอมมิกา ใจกลม มหาวิทยาลัยนเรศวร
              2. นางสาวกัญญ์วรา ขันวิเศษ มหาวิทยาลัยนเรศวร
              3. นางสาวรวิสรา สมบูรณ์มา มหาวิทยาลัยนเรศวร
              4. นางสาวธนภรณ์ ชัยสิทธิ์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
              5. นางสาวมานิตา สุนทรพจน์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

3. ​ประเภทกลุ่ม
              1. นายเกรียงศักดิ์ ลีลาศักดิ์สิริ มหาวิทยาลัยนเรศวร
              2. นางสาวมูนา กียะ มหาวิทยาลัยนเรศวร
              3. นางสาวณัฐติกรณ์ โยธาสิงห์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
              4. นางสาววชิราภรณ์ รุ่งอินทร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

4. สถานศึกษาต้นแบบ
              มหาวิทยาลัยนเรศวร

ที่มา: กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.)

ม.นเรศวร ผนึกกำลังจัด “สัมมนาวิชาการระดับชาติด้านคนพิการ ครั้งที่ 14” มุ่งขับเคลื่อนอาชีพคนพิการ ยุคโควิด-19 ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม

วันที่ 26 สิงหาคม 2565 น. ที่ศูนย์แสดงนิทรรศการและการประชุมนานาชาติ มหาวิทยาลัยนเรศวร นางสาวสราญภัทร อนุมัติราชกิจ อธิบดีกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ เป็นประธานในพิธีเปิดงานสัมมนาวิชาการระดับชาติด้านคนพิการ ครั้งที่ 14 ประจำปี 2565 การขับเคลื่อนอาชีพสำหรับคนพิการในยุคโควิดด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม “Driving occupation for persons with disabilities in the COVID-19 pandemic with technology and innovation” ในรูปแบบการจัด Online และ Onsite ผ่านโปรแกรม Zoom meeting

พร้อมมอบเกียรติบัตรและโล่รางวัลให้แก่ผลงานบทความวิชาการ จำนวน 3 รางวัล และการประกวดนวัตกรรม จำนวน 6 รางวัล โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กำพล ทรัพย์สมบูรณ์ รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร มหาวิทยาลัยนเรศวร กล่าวรายงาน พร้อมด้วย รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณาจารย์ พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด ผู้แทนหน่วยงานองค์กรด้านคนพิการ สื่อมวลชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมงาน

ที่มา: กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ

Sustainability

NARESUAN UNIVERSITY

Solverwp- WordPress Theme and Plugin