Archives February 2023

เปิดประสบการณ์ ศึกษาดูงานการจัดการขยะและของเสียอันตราย

วันอังคารที่ 28 กุมภาพันธ์ 2566 สาขาวิชาอนามัยสิ่งแวดล้อม คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร โดย ผศ.ดร.วรวิทย์ อินทร์ชม ผู้รับผิดชอบโครงการ พร้อมด้วยคณาจารย์ในสาขาฯ จัดโครงการศึกษาดูงานการจัดการขยะและของเสียอันตราย ณ ศูนย์กำจัดขยะถูกหลักสุขาภิบาล เทศบาลเมืองสุโขทัยธานี ตำบลตาลเตี้ย อำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย โดยมีนิสิตสาขาวิชาอนามัยสิ่งแวดล้อม ชั้นปีที่ 3 จำนวน 46 คน เข้าร่วมโครงการ การศึกษาดูงานดังกล่าวนี้ได้การต้อนรับเป็นอย่างดี จากท่านรองนายกเทศมนตรีเมืองสุโขทัยธานี คุณสมศักดิ์ เวชสุวรรณ ทั้งนี้ การศึกษาดูงานครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้นิสิตได้รับประสบการณ์จากการได้เห็นการดำเนินการจัดการขยะมูลฝอยในพื้นที่จริง รวมทั้ง รับรู้รับทราบสภาพปัญหาและอุปสรรคในการจัดการขยะมูลฝอย และได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวทางการดำเนินงานด้านการจัดการมูลฝอยและประสบการณ์กับผู้ปฏิบัติงานจริง ประสบการณ์ดังกล่าวนี้สามารถช่วยให้นิสิตมีทักษะในการใช้หลักวิชาในการปฏิบัติงานจริงในอนาคต และเกิดประโยชน์กับประชาชน ต่อไป

ที่มา: สาขาวิชาอนามัยสิ่งแวดล้อม คณะสาธารณสุขศาสตร์ มน.

อบรม “เทรนกิจกรรมและบริการ ที่ตอบสนองความต้องการของนิสิต”

ดร.จารุวรรณ แดงบุบผา ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายกิจการนิสิต ได้ให้เกียรติเป็นประธานเปิดโครงการพลิกโฉมหน่วยงาน กิจกรรม Design Thinking (ครั้งที่ 3) โดยมีหัวข้ออบรม “เทรนกิจกรรมและบริการ ที่ตอบสนองความต้องการของนิสิต”

โดยได้รับเกียรติจาก ผศ.รัชด ชมภูนิช รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนิสิตและพัฒนาอย่างยั่งยื่น มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นวิทยากรบรรยายให้ความรู้แก่บุคลากรกองกิจการนิสิต มน.เพื่อนำไปพัฒนาตนเองและองค์กรต่อไป

ที่มา: กองกิจการนิสิต มหาวิทยาลัยนเรศวร

ม.นเรศวร ลงนามสัญญาโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตราฐานของประเทศไทย (TVER)

พิธีลงนามสัญญาโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตราฐานของประเทศไทย (TVER) ระหว่างบริษัทอินเตอร์ ฟาร์อีสท์ วินด์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ลงนามโดย ดร.สุเมธ สุทธภักติ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และวิทยาลัยพลังงานทดแทนและสมาร์ตกริดเทคโนโลยี ลงนามโดย รองศาสตราจารย์ ดร.วัฒนพงศ์ รักษ์วิเชียร ผู้อำนวยการวิทยาลัยฯ

ที่มา: วิทยาลัยพลังงานทดแทนและสมาร์ตกริดเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยนเรศวร

NU SciPark ลงพื้นที่ถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน Tech Transfer to Community ส่งเสริมการรับงานไปทำที่บ้าน

วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2566 เจ้าหน้าที่อุทยานวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวรลงพื้นที่ติดตามผลการดำเนินงานโครงการ “การผลิตภัณฑ์ขิงเพื่อการค้า เส้นทางนวัตกรรมเทคโนโลยีเพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจและการตลาดสร้างสรรค์” โดยมี ผศ.ดร.ภคพร วัฒนดำรงค์ สังกัดคณะบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์ และการสื่อสาร มหาวิทยาลัยนรศวร เป็นหัวหน้าโครงการ ทั้งนี้ได้รับความร่วมมือจากสำนักงานจัดหางานจังหวัดเพชรบูรณ์

จัดกิจกรรม “การอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง เส้นทางนวัตกรรมเทคโนโลยีเพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจสร้างสรรค์” ณ วิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านทฤษฎีใหม่ การลงพื้นที่ติดตามผลการดำเนินงานโครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน Tech Transfer to Community เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีกระบวนการผลิต และการแปรรูปขิงและมะขามให้กับสมาชิกในชุมชน และเป็นการส่งเสริมการรับงานไปทำที่บ้าน โดยดำเนินงานภายใต้แผนงานการส่งเสริมการนำนวัตกรรมไปใช้ประโยซน์ในพื้นที่เพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน (Area based Innovation for Community)(โครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน Tech Transfer to Community) ประจำปี 2565

ที่มา: อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

NU SciPark ต้อนรับคณะกรรมการติดตามการดำเนินโครงการส่งเสริมศักยภาพผู้ประกอบการธุรกิจนวัตกรรมรายใหม่

วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2566 ดร.สราวุธ สัตยากวี ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์และการถ่ายทอดเทคโนโลยี เเละรักษาการในตำเเหน่งรองผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่อุทยาน ฯ ให้การต้อนรับคณะกรรมการติดตามการดำเนินโครงการส่งเสริมศักยภาพผู้ประกอบการธุรกิจนวัตกรรมรายใหม่ ระหว่างกิจการขนาดใหญ่และมหาวิทยาลัย (Business Brotherhood) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 นอกจากนี้ยังเข้าเยี่ยมชมสถานวิจัยเครื่องสำอาง และผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ คณะเภสัชศาสตร์ (Cosnat) ณ อุทยานวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร อาคารมหาธรรมราชา ชั้น 2 โซน B มหาวิทยาลัยนเรศวร

โดยมีคณะกรรมการ ดังนี้
– ดร.ชาญวิทย์ ตรีเดช นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการพิเศษ สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
– คุณเกียรติรัตน์ ทองผาย ที่ปรึกษาอาวุโส สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
– คุณนัยนา เปลี่ยนผัน นักพัฒนานโยบาย สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
– คุณนายสนามชัย แพนดี นักส่งเสริมนวัตกรรม สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)

ที่มา: อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

ม.นเรศวร จัดกิจกรรม Clean Cook ภายใต้โครงการ เสริมสร้างสมรรถนะเครือข่าย ประจำปี 2566

งานบริการสวัสดิการนิสิต กองกิจการนิสิต ได้จัดกิจกรรม Clean Cook ภายใต้โครงการ เสริมสร้างสมรรถนะเครือข่าย ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2566 ในระหว่างวันที่ 19 – 20 มกราคม 2566 ณ กองบริการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยนเรศวร โดยได้รับเกียรติจาก นางพรธิดา บุญยะโรจน์ หัวหน้างานบริการสวัสดิการนิสิต เป็นประธานเปิดการอบรมและกล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมอบรมฯ

ในครั้งนี้ ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ประกอบการได้พัฒนาศักยภาพด้านการประกอบการร้านค้าและการให้บริการ ประกอบกับกระทรวงสาธารณสุขได้ออกกฎกระทรวง สุขลักษณะของสถานที่จำหน่ายอาหาร พ.ศ. 2561 โดยสาระสำคัญเน้นสถานที่จำหน่ายอาหาร ผู้ประกอบกิจการอาหารและผู้สัมผัสอาหาร ปฏิบัติไม่ถูกต้องอาจทำให้เกิดการปนเปื้อนเชื้อโรค สารเคมี และโลหะหนัก รวมทั้งมีความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรคที่มีอาหารและน้ำเป็นสื่อ กิจกรรมฯ

นอกจากนี้ควรเพิ่มอาหารทางเลือกที่หลากหลายให้ผู้บริโภค เช่น อาหารสุขภาพ ฮาลาน มังสวิรัติ เป็นต้น ไว้เป็นตัวเลือกในการบริโภค โดยกิจกรรมครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมอบรมทั้งสิ้น 268 คน ประกอบด้วย ผู้ประกอบการร้านค้า จำนวน 131 คน และผู้สัมผัสอาหาร จำนวน 137 คน และได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกที่เกี่ยวข้องเป็นอย่างมาก และขอขอบพระคุณมา ณ ที่นี้

ที่มา: กองกิจการนิสิต มหาวิทยาลัยนเรศวร

ม.นเรศวร เข้าร่วมงานประชุมหน่วยงานภาคีเครือข่าย สภาอุตสาหกรรม จังหวัดพิษณุโลก

วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2566 ดร.สราวุธ สัตยากวี ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์และการถ่ายทอดเทคโนโลยี และรักษาการในตำแหน่งรองผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร เป็นวิทยากรบรรยายพิเศษ “หัวข้อวิเคราะห์ทิศทางเศรษฐกิจไทย ปี2566 และการรับมือของ SMEs” พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ อุทยานวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร ร่วมจัดนิทรรศการกับหน่วยงานภาคีเครือข่าย สภาอุตสาหกรรมจังหวัดพิษณุโลก ในการประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2566 ณ ห้องอุทัยธานี โรงแรมท็อปแลนด์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความร่วมมือในการช่วยเหลือผู้ประกอบการ เป็นแหล่งข้อมูลและเป็นศูนย์กลางการให้บริการที่ส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนางานวิจัยและเทคโนโลยีนวัตกรรมบูรณาการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐ สถาบันการศึกษา และภาคเอกชน สร้างความเข้มแข็งให้กับเศรษฐกิจในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง ด้วยการผลักดันให้มีการนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์

ที่มา: อุทยานวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร

นวัตกรรมใหม่ “ผงแป้งพอกตัวลูกสุกรแรกคลอด” เพื่อช่วยลดการตายของลูกสุกร

ม.นเรศวรเปิดตัวนวัตกรรมฝีมือคนไทย “ผงแป้งพอกตัวลูกสุกรแรกคลอด” ช่วยลดการตายของลูกสุกร ส่วนผสมทำมาจากสมุนไพรที่หาง่ายในประเทศ สามารถย่อยสลายได้ง่าย ช่วยเพิ่มมูลค่าผลผลิตมาได้อีกทางหนึ่ง

เมื่อวันที่ 21 ก.พ. 2566 ร.ศ.ดร.วันดี ทาตระกูล อาจารย์ประจำคณะเกษตรศาสตร์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนเรศวร ต.ท่าโพธิ์ อ.เมือง จ.พิษณุโลก พร้อมทีมวิจัยและตัวแทนบริษัทเฟิร์สลี่เทค จำกัด ได้แถลงข่าวเปิดตัวผลงานวิจัย “ผงแป้งพอกตัวลูกสุกรแรกคลอด” จากสมุนไพรไทยลดความเสี่ยงอัตราการตายของลูกสุกร โดยนวัตกรรมนี้ได้รับความไว้วางใจจากบริษัทเฟิร์สลี่เทค จำกัด รับการถ่ายทอดนวัตกรรมสู่เชิงพาณิชย์ และพร้อมวางจำหน่ายในไทยช่วงเดือนมีนาคม 2566 นี้

อาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์การเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ม.นเรศวร กล่าวต่อว่า เบื้องต้นตั้งกลุ่มเป้าหมายไว้ 2 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้ที่เคยใช้ผงพอกตัวลูกสุกรแรกคลอดอยู่แล้วแต่เป็นผลิตภัณฑ์นำเข้า หรือผลิตจากวัตถุดิบชนิดอื่น และกลุ่มเกษตรกรผู้ที่ไม่เคยใช้ผงพอกตัวลูกสุกรมาเลย โดยราคาผลิตภัณฑ์จากนวัตกรรมชิ้นนี้จะวางจำหน่ายในไทยเพียง 250 บาท (น้ำหนัก 5 กิโลกรัม) ซึ่งราคาจะถูกกว่าสินค้านำเข้าและสินค้าประเภทอื่นถึง 30-40 เปอร์เซ็นต์ อีกทั้งไม่มีอันตรายหากปนเปื้อนในน้ำ เพราะเป็นนวัตกรรมที่ผลิตจากสมุนไพรไทย อาทิ ขมิ้นชัน ไพล และฝาง

รศ.ดร.วันดี กล่าวอีกว่า “ผงแป้งพอกตัวลูกสุกรแรกคลอด” สามารถใช้พอกตัวลูกสุกร ทำให้ลูกสุกรสามารถ เข้าถึงเต้านมได้เร็วขึ้น และยังมีฤทธิ์ในการยับยั้งเชื้อจุลลินทรีย์ที่ทำให้เกิดท้องเสียในลูกสุกร และทำให้พื้นคอกแห้งอยู่เสมอ โดยมีส่วนผสมจากสมุนไพรที่เป็นวัตถุดิบหาได้ง่ายจากภายในประเทศ อีกทั้งสามารถย่อยสลายได้ง่าย และเป็นการช่วยเพิ่มมูลค่าผลผลิตทางการเกษตรให้แก่เกษตรกรได้อีกทางหนึ่ง

อาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์การเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ม.นเรศวร กล่าวอีกว่า นวัตกรรม “ผงแป้งพอกตัวลูกสุกรแรกคลอด” ประกอบไป ด้วยแร่ธาตุจากธรรมชาติ เมื่อสัมผัสกับน้ำจะไม่ทำให้เกิดความร้อน ไม่มีสารเคมีเจือปน และไม่ออกฤทธิ์ระคายเคืองต่อผิวหนัง ไม่เพียงแต่จะใช้โรยตัวลูกสุกรเพื่อดูดซับความชื้น แล้วยังสามารถลดกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ในคอก รวมถึงช่วยรักษาสภาพแวดล้อมภายในคอกให้ปลอดโรคมากยิ่งขึ้น มีจุดเด่นคือลดความชื้น รักษาอุณหภูมิในร่างกายลูกสุกร อุณหภูมิภายนอกสูงกว่าในมดลูกลูกหมูมีพลังงานสะสมน้อยควรมีการดูดนมมากกว่า ควบคุมแบคทีเรียแห้งกว่า เชื้อโรคก็น้อยกว่า สายสะดือแห้งเร็ว ลดการเกิดสะดืออักเสบ

สำหรับแนวโน้มสถานการณ์สินค้าสุกร ปี 2566 โดยสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรคาดว่าปี 2566 การผลิตสุกรในประเทศไทยจะมีปริมาณ 17.47 ล้านตัว เพิ่มขึ้น จาก 15.51 ล้านตัว ของปี 2565 คิดเป็นร้อยละ 12.66 เนื่องจากจำนวนแม่พันธุ์สุกรที่เพิ่มขึ้นจะสามารถขยายการผลิต สุกรได้เพิ่มขึ้น แต่อย่างไรก็ตามเกษตรกรยังคงมีความกังวลจากความเสี่ยงของโรคระบาดในสุกร และต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้นจากระบบความปลอดภัยทางชีวภาพ (biosecurity).

ที่มา: ไทยรัฐออนไลน์

เรียนรู้จากประสบการณ์ เพื่อเร่งการเป็นผู้ประกอบการ

เปิดรับสมัครนิสิต เข้าร่วมโปรแกรมการเรียนรู้จากประสบการณ์ เพื่อเร่งการเป็นผู้ประกอบการจากมหาวิทยาลัยในเครือข่ายอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค ร่วมกับพันธมิตรระหว่างประเทศ (Experiential Learning Program to Accelerate University Student Entrepreneurs Through Collaboration between Regional Science Parks and Global Partners) : ELP�

สิ่งที่จะได้รับจาก ELP : แนวความคิดในการเป็นผู้นำและผู้ประกอบการระดับโลก, โอกาสในการแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับ Partner จากต่างประเทศ และโอกาสในการเป็นตัวแทนไปแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในต่างประเทศ เช่น ญี่ปุ่น สิงคโปร์ หรือ เกาหลี เป็นต้น

คุณสมบัติ
– เป็นนิสิต ม.นเรศวร ระดับปริญญา ตรี/โท/เอก
– รับสมัครเพียง 50 คน เท่านั้น
– มีความสนใจในด้านเทคโนโลยี และนวัตกรรม มี Prototype หรือ Idea ก็ได้
– มีความคิดสร้างสรรค์ มีความเป็นผู้นำ กล้าแสดงอออก มีความต้องการเป็นผู้ประกอบการ และมีความสนใจด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม
– สามารถนำเสนอผลงานเป็นภาษาอังกฤษได้�

สนใจสมัครได้ตั้งแต่บัดนี้ ถึงวันที่ 10 มีนาคม 2566 ที่ https://shorturl.asia/O3TW9 หรือแสกน QR Code
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม Facebook: NU SciPark, Tel. 0 5596 8783 หรือ 08 7522 2896 (โม)
ที่มา: กองการวิจัยและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยนเรศวร

รายการ : พบเภสัชกร เรื่อง : ยาคุมฉุกเฉิน

ดำเนินรายการโดย : ผศ.ดร.ภก.ธนศักดิ์ เทียกทอง คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

สามารถติดตามรับฟังรายการสดทางสถานีวิทยุกระจายเสียงมหาวิทยาลัยนเรศวรได้ ทาง FM 107.25 MHz และทางออนไลน์ www.nuradio.nu.ac.th ทุกวันศุกร์ เวลา 18.30 – 19.00 น.

ที่มา: สถานีวิทยุกระจายเสียงมหาวิทยาลัยนเรศวร NUradio Naresuan

Sustainability

NARESUAN UNIVERSITY

Solverwp- WordPress Theme and Plugin