Archives September 2023

พัฒนานิสิตด้านทักษะการเรียนรู้และทักษะในศตวรรษที่ 21

วันพฤหัสบดีที่ 21 กันยายน 2566 ดร.นิภารัตน์ อิ่มศิลป์ รองคณบดีฝ่ายวิชาการ เป็นประธานกล่าวเปิดโครงการพัฒนานิสิตด้านทักษะการเรียนรู้และทักษะในศตวรรษที่ 21 ครั้งที่ 2 ในหัวข้อ “ไอเดียสร้างรายได้จากวิดีโอ” ณ ห้อง QS 44101 อาคารเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา บรมราชินีนาถ มหาวิทยาลัยนเรศวรวิทยากรโดย คุณเสกสรร เทิดสิริภัทร หรือ เสกสรร ปั้น YouTube Video Content Creator รุ่นใหม่ เจ้าของไอเดียเด็ดที่สร้างช่องทางการสื่อสารและตัวตนผ่านทางยูทูป เพื่อให้นิสิตชั้นปีที่ 4 ได้รับแนวคิด รูปแบบวิธีการการทำงานในลักษณะออนไลน์และสามารถที่จะนำทักษะความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการออกฝึกปฏิบัติงานในภาคการศึกษาต่อไป

ที่มา: คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

ม.นเรศวร เปิดโอกาสในการพัฒนาตนเอง และสร้าง Digital TaIent มาถึงแล้ว

CITCOMS ขอเชิญนิสิต อาจารย์ บุคลากรมหาวิทยาลัยนเรศวร มาร่วมพัฒนาทักษะด้านเทคโนโลยี ภายใต้โครงการ Samart Skills (Google Career Certificate) จำนวนทั้งสิ้น 9 หลักสูตร ฟรี!!!!

เปิดรับสมัครเพิ่มเติม ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม – 10 พฤศจิกายน 2566 เริ่มเรียนวันที่ 20 พฤศจิกายน 2566

ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่ https://training.nu.ac.th/samartskills
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ได้ที่ คุณจินตนา ชัยรัตนศักดิ์ หมายเลขโทรศัพท์ 0-5596-1510 หรือ e-Mail : citcoms_training@nu.ac.th

ที่มา: กองบริการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (CITCOMS)

พื้นที่แห่งความสุขเปิดให้บริการทุกวัน

มหาวิทยาลัยนเรศวร เปิดพื้นที่แห่งความสุขเปิดให้บริการทุกวัน เริ่ม 1 ตุลาคม นี้จ้าาาาา โดยเป็นศูนย์ที่ให้คำปรึกษานิสิต ในการจัดการความเคลียด ดูแลและช่วยเหลือและติดตามนิสิตผู้มีสภาวะซึมเศร้า

NU SDGs No.7 เราทำได้ ทุกคนทำได้

มหาวิทยาลัยนเรศวร เรามุ่งมั่นขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ SDGs เป้าหมายที่ 7 การสร้างหลักประกันให้ทุกคนสามารถเข้าถึงพลังงานสมัยใหม่ที่ยั่งยืนในราคาที่ย่อมเยา ทั้งในด้านการปฏิบัติ และการวิจัยค้นคว้า ช่วยให้บรรลุวาระการพัฒนา ปี 2030 และช่วยให้โลกใบนี้น่าอยู่ยิ่งขึ้น

ที่มา: www.facebook.com/AusudayuHD

‘คลินิกกฎหมายนเรศวรเพื่อสิทธิมนุษยชน’ ช่วยเหลือคนไร้สัญชาติในพิษณุโลก เสริมสร้างความยุติธรรมและสิทธิพื้นฐาน

มหาวิทยาลัยนเรศวรได้ดำเนินโครงการต่างๆ ที่ไม่เพียงแค่สนับสนุนการพัฒนาที่ยั่งยืนในด้านสุขภาพและการลดความเหลื่อมล้ำ แต่ยังรวมถึงการส่งเสริมความยุติธรรมและสิทธิพื้นฐานของประชาชนในสังคม โดยเฉพาะกลุ่มคนที่มักถูกมองข้ามและไม่สามารถเข้าถึงสิทธิพื้นฐานได้อย่างเต็มที่ เช่น คนไร้สัญชาติ ซึ่งเป็นกลุ่มประชากรที่เผชิญกับการขาดโอกาสในการเข้าถึงการศึกษา, การรักษาพยาบาล, การประกอบอาชีพ และสิทธิขั้นพื้นฐานอื่น ๆ ที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต

หนึ่งในโครงการสำคัญที่สะท้อนถึงการดำเนินงานในแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืนคือ โครงการ “คลินิกกฎหมายนเรศวรเพื่อสิทธิมนุษยชน” ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการช่วยเหลือคนไร้สัญชาติในจังหวัดพิษณุโลก โดยการให้คำปรึกษาด้านกฎหมายเพื่อช่วยเหลือพวกเขาในการเข้าถึงสิทธิพื้นฐานที่พวกเขาควรได้รับ ภายใต้แนวคิดของการส่งเสริม ความยุติธรรม และ การลดความเหลื่อมล้ำ ในสังคม

การให้คำปรึกษาทางกฎหมายแก่คนไร้สัญชาติ ในตอนที่ 2 ของโครงการ “คลินิกกฎหมายนเรศวรเพื่อสิทธิมนุษยชน” มหาวิทยาลัยนเรศวรได้ให้บริการช่วยเหลือและคำปรึกษาด้านกฎหมายแก่ คนไร้สัญชาติ ในจังหวัดพิษณุโลก ซึ่งเป็นกลุ่มที่มักจะไม่ได้รับการคุ้มครองทางกฎหมายหรือสิทธิพื้นฐานที่เหมาะสม โดยเฉพาะสิทธิในการขอสัญชาติ การได้รับการศึกษา การเข้าถึงการรักษาพยาบาล และการมีสิทธิในการดำเนินชีวิตอย่างเท่าเทียมกับประชาชนอื่น ๆ ในสังคม

การให้บริการทางกฎหมายในครั้งนี้ได้รับการสนับสนุนจาก ภาคีต่างๆ รวมถึงคณาจารย์จาก คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร และบุคคลผู้เชี่ยวชาญทางด้านกฎหมาย โดยมีการให้คำปรึกษาในการยื่นขอสัญชาติ การจัดการกับปัญหาทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสถานะทางกฎหมายของคนไร้สัญชาติ และการส่งเสริมความรู้ด้านสิทธิมนุษยชนในระดับท้องถิ่น

สัมภาษณ์พิเศษเกี่ยวกับโครงการ ในระหว่างการดำเนินงานของโครงการนี้ ผศ.กิติวรญา รัตนมณี อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ได้กล่าวถึงความสำคัญของการให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายแก่คนไร้สัญชาติว่า:

“การส่งเสริมสิทธิทางกฎหมายให้แก่ประชาชนทุกคนเป็นเรื่องที่จำเป็นในการสร้างสังคมที่ยั่งยืน การให้คำปรึกษาและความช่วยเหลือด้านกฎหมายสำหรับกลุ่มคนไร้สัญชาติในจังหวัดพิษณุโลกนี้ ถือเป็นการตอบสนองความต้องการพื้นฐานของพวกเขาในการเข้าถึงสิทธิพื้นฐานอย่างเท่าเทียม โดยการเข้าถึงสิทธิอย่างเท่าเทียมไม่เพียงแต่ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของพวกเขา แต่ยังสร้างสังคมที่มีความยุติธรรมและสันติภาพได้”

ขณะเดียวกัน น.ส.ภิญญาภัทร ปุญญธนา (น้องแตงโม) นิสิตชั้นปีที่ 1 จาก คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ได้กล่าวถึงประสบการณ์ส่วนตัวในโครงการนี้ว่า:

“การเป็นส่วนหนึ่งของโครงการนี้ทำให้รู้สึกภูมิใจที่ได้ช่วยเหลือผู้ที่ขาดโอกาสและสิทธิพื้นฐานในสังคม การให้คำปรึกษาทางกฎหมายแก่คนไร้สัญชาติไม่เพียงแต่เป็นการช่วยเหลือในด้านการขอสัญชาติหรือสิทธิที่เกี่ยวข้อง แต่ยังเป็นการสร้างความหวังให้กับพวกเขาในการมีชีวิตที่ดีขึ้น การได้เห็นพวกเขามีโอกาสในการเข้าถึงสิทธิที่ควรได้รับถือเป็นประสบการณ์ที่มีคุณค่ามาก”

การสอดคล้องกับ SDGs 3, 10, และ 16: SDG 3 (สุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี) และ SDG 10 (ลดความเหลื่อมล้ำ) มุ่งเน้นให้ทุกคนสามารถเข้าถึงสิทธิพื้นฐานต่าง ๆ ได้อย่างเท่าเทียม ไม่ว่าจะเป็นการรักษาพยาบาล, การศึกษา, และโอกาสในการมีชีวิตที่ดี โครงการคลินิกกฎหมายนเรศวรเพื่อสิทธิมนุษยชนมีบทบาทสำคัญในการช่วยให้คนไร้สัญชาติสามารถเข้าถึงสิทธิที่พวกเขาควรได้รับ และลดช่องว่างของความเหลื่อมล้ำในสังคมไทย

นอกจากนี้ โครงการนี้ยังสอดคล้องกับ SDG 16 (สันติภาพ, ความยุติธรรม, และสถาบันที่เข้มแข็ง) ซึ่งมุ่งเน้นการส่งเสริมความยุติธรรม และสร้างสังคมที่มีการให้บริการทางกฎหมายอย่างเท่าเทียม โครงการนี้ช่วยสร้างความยุติธรรมให้แก่คนไร้สัญชาติ ที่มักถูกมองข้ามในการเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐานผ่านการให้คำปรึกษาทางกฎหมายเพื่อให้พวกเขาสามารถดำเนินชีวิตได้อย่างมีศักดิ์ศรีและเท่าเทียม

ผลกระทบที่สำคัญและการต่อยอดโครงการ: โครงการนี้ไม่เพียงแค่ช่วยเหลือคนไร้สัญชาติในการขอสัญชาติ แต่ยังช่วยส่งเสริมการตระหนักรู้ในเรื่องของสิทธิมนุษยชนในชุมชน การให้คำปรึกษาทางกฎหมายช่วยเพิ่มความเข้าใจและการเข้าถึงสิทธิของพวกเขาในระดับที่ลึกซึ้งขึ้น อีกทั้งยังเปิดโอกาสให้กลุ่มคนที่ถูกมองข้ามในสังคมสามารถก้าวไปข้างหน้าได้อย่างมั่นคง

ในระยะยาว โครงการนี้มีความสำคัญในการยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไร้สัญชาติให้สามารถเข้าถึงการศึกษา, การรักษาพยาบาล และการมีงานทำได้อย่างเท่าเทียมกับคนอื่น ๆ ในสังคม ส่งผลให้เกิดการลดความเหลื่อมล้ำในทุกมิติ และสร้างสังคมที่ยั่งยืนและมีความยุติธรรมมากขึ้น

ขอเชิญชวนเข้าร่วมกิจกรรม มหาวิทยาลัยนเรศวรขอเชิญชวนทุกท่านร่วมรับชม คลิปวิดีโอ และตอบ แบบสอบถาม เพื่อแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับโครงการนี้ พร้อมทั้งช่วยเผยแพร่ข้อมูลให้กับผู้ที่อาจได้รับประโยชน์จากโครงการ โดยการกระตุ้นให้เกิดการตระหนักรู้ในเรื่องของสิทธิมนุษยชนและความยุติธรรมในสังคม

การให้โอกาสทางกฎหมายแก่คนไร้สัญชาติถือเป็นการส่งเสริมความเท่าเทียมในสังคม และเป็นการพัฒนาที่ยั่งยืนที่สร้างผลกระทบที่ดีต่อสังคมทั้งในปัจจุบันและอนาคต

มหาวิทยาลัยนเรศวร ขอขอบคุณทุกภาคส่วนที่ร่วมมือกันในการดำเนินโครงการนี้ และขอเชิญชวนทุกท่านร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างสังคมที่มีความยุติธรรมและเท่าเทียมกัน

ลิงค์สำหรับตอบแบบสอบถาม: https://forms.gle/BefJfJ5HaZ1Q1mLD7

ที่มา: สถานีวิทยุกระจายเสียงมหาวิทยาลัยนเรศวร NUradio Naresuan

รางวัลชนะเลิศ การประกวดผลิตสื่อออนไลน์ NU-SDGs ประเภทบุคลากร “5 พิกัดสถานที่ ม.นเรศวรที่ชวนให้คิดถึง”

รางวัลชนะเลิศ การประกวดผลิตสื่อออนไลน์ NU-SDGs ประเภทบุคลากร

ชื่อผลงาน: 5 พิกัดสถานที่ ม.นเรศวรที่ชวนให้คิดถึง
1. ลานพระบรมรูปสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
2. หอศิลป์มหาวิทยาลัยนเรศวร
3. หอในมหาวิทยาลัยนเรศวร
4. อ่างเก็บน้ำมหาวิทยาลัยนเรศวร
5. วิทยาลัยพลังงานทดแทนและสมาร์ตกริดเทคโนโลยี

นอกจาก 5 สถานที่ ในความทรงจำแล้วยังเป็น 5 เป้าหมายจาก 17 เป้าหมาย SDGS สู่การพัฒนาที่ยั่งยืนเพื่อทำให้โลกดีขึ้น ภายในปี 2030 อีกด้วย

ที่มา: งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

การใช้กลิ่นบำบัดสุขภาพด้วยน้ำมันหอมระเหย

วันจันทร์ที่ 18 กันยายน 2566 หน่วยบริการวิชาการเพื่อชุมชน คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ได้ออกหน่วยบริการวิชาการโดยจัดกิจกรรมการให้ความรู้ เรื่อง “การทำน้ำมันหอมระเหยเพื่อบำบัดสุขภาพ” ให้แก่ประชาชนตำบลป่าแฝก ณ องค์การบริหารส่วนตำบลป่าแฝก อ.กงไกรลาศ จ.สุโขทัย ซึ่งมีการบรรยายให้ความรู้ “การใช้กลิ่นบำบัดสุขภาพด้วยน้ำมันหอมระเหย” และการอบรมเชิงปฏิบัติการ “การทำน้ำมันหอมระเหยเพื่อบำบัดสุขภาพ” โดยวิทยากร ดังนี้
>>วิทยากรหลัก : อาจารย์ธรรศ พิศลย์กุลเกษม
>>วิทยากรร่วม : อาจารย์กิติณัฐ รอดทองดี

ที่มา: คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

NU PLAYGROUND EVENT

มาเดิน งาน ต้ม ตำ ยำ แซ่บ >>>ฟินกับ กิจกรรมในงาน มีวงดนตรีโฟล์คซอง และการแสดงบนเวทีมากมาย เดินชิมอิ่มอร่อย กับความแซ่บของอาหารจากบูธร้านค้าหลากหลายสไตล์เลยนะ เหลือวันพุธอีก1 วัน #มาเถอะนะอยากเจอ 18 – 20 กันยายน 2566 เวลา 17.00 – 21.00 น. ณ ลาน Playground หน้าหอพักนิสิต มหาวิทยาลัยนเรศวร

ที่มา: สถานีวิทยุกระจายเสียงมหาวิทยาลัยนเรศวร NUradio Naresuan

ให้ความรู้ความปลอดภัยของผู้ป่วย (World Patient Safety Day)

รายการ : พบเภสัชกร เรื่อง : ความปลอดภัยของผู้ป่วย (World Patient Safety Day)

ดำเนินรายการโดย : อ.ภก.ศุภชัย อินสุข คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

สามารถติดตามรับฟังรายการสดทางสถานีวิทยุกระจายเสียงมหาวิทยาลัยนเรศวรได้ ทาง FM 107.25 MHz และทางออนไลน์ www.nuradio.nu.ac.th ทุกวันศุกร์ เวลา 18.30 – 19.00 น.

ที่มา: สถานีวิทยุกระจายเสียงมหาวิทยาลัยนเรศวร NUradio Naresuan

ม.นเรศวร ตอกย้ำความเป็นมหาวิทยาลัยด้านความยั่งยืน จัดประกวดสื่อ หัวข้อ “การขับเคลื่อน SDGs ด้วยสื่อประชาสัมพันธ์ออนไลน์”

เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2566 มหาวิทยาลัยนเรศวร จัดการประกวดสื่อประชาสัมพันธ์หัวข้อ “การขับเคลื่อน SDGs ด้วยสื่อประชาสัมพันธ์ออนไลน์” ภายใต้โครงการ “ประชาสัมพันธ์กิจกรรม NU-SDGs ประจำปี 2566” เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนามหาวิทยาลัยสู่ความยั่งยืน ทั้ง 17 เป้าหมายตามหลัก SDGs ณ ห้องประชุมสุพรรณกัลยา 1 อาคารสำนักงานอธิการบดี ชั้น 3 มหาวิทยาลัยนเรศวร โดยผลชนะเลิศการประกวดสื่อประชาสัมพันธ์ออนไลน์ฯ มีรายละเอียดดังต่อไปนี้

ประเภทบุคลากร
รางวัลชนะเลิศ ได้รับเงินรางวัล 5,000 บาท ได้แก่
นายสัญญา จันทา บัณฑิตวิทยาลัย

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้รับเงินรางวัล 3,000 บาท ได้แก่
นายอัษฎายุ ทนโนนแดง อุทยานวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้รับเงินรางวัล 2,000 บาท ได้แก่
นางสาวพุธิตา วงนะที คณะเภสัชศาสตร์
นางสาวอรวรรณ ศรีสุวรรณ คณะเภสัชศาสตร์

รางวัลชมเชย 2 รางวัล ได้รับเงินรางวัล รางวัลละ 1,000 บาท ได้แก่
1) นายวัธนกร เหนียมพ่วง กองกิจการนิสิต
2) นายธเนศ ขำคล้าย คณะแพทยศาสตร์
นายวันเฉลิม อยู่ทิพย์ คณะทันตะแพทยศาสตร์

ประเภทนิสิต
รางวัลชนะเลิศ ได้รับเงินรางวัล 5,000 บาท ได้แก่
นายไชยภัทร เกียรติรวี คณะนิติศาสตร์

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้รับเงินรางวัล 3,000 บาท ได้แก่
นางสาวรมิตา จิระวงศ์ตระกูล คณะบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร
นายนนทพัทธ์ วงค์แดง คณะบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร
นางสาวกัลยาณี ตั้งใจ คณะบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้รับเงินรางวัล 2,000 บาท ได้แก่
นางสาวณัฏฐ์ชานันท์ รักธัญญาการ คณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

รางวัลชมเชย 2 รางวัล ได้รับเงินรางวัล รางวัลละ 1,000 บาท ได้แก่
1) นางสาวรณรัมภา เดินบุรินทร์ คณะบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร
นางสาวศศิลักษณ์ โพธิบัลลังค์ คณะบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร
นางสาวศุภพิชา มโนรุ่งเรืองกิจ คณะบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร

2) นายอัยการ วชิรบารมี คณะบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร
นายธนวัฒน์ ครูเกษตร คณะวิทยาศาสตร์

ทั้งนี้ ได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์สรรเสริญ เหรียญทอง อาจารย์ประจำภาควิชานิเทศศาสตร์ คณะบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร ดร.นพดล จำรูญ อาจารย์ประจำภาควิชาเทคนิคการแพทย์ คณะสหเวชศาสตร์ อาจารย์ธนบัตร ใจอินทร์ อาจารย์ประจำภาควิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์ เป็นคณะกรรมการตัดสินการประกวดประเภทบุคลากร ในส่วน นางสาวธัญญารัตน์ อินทร์เมือง หัวหน้างานกิจกรรมพัฒนานิสิต นายศิวดล มาตราช นักวิชาการละครและดนตรี งานกิจกรรมพัฒนานิสิต กองกิจการนิสิต และนางสาวจามรี อ่อนโฉม หัวหน้างานประชาสัมพันธ์ คณะแพทยศาสตร์ เป็นคณะกรรมการตัดสินการประกวดประเภทนิสิต

ที่มา: งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

Sustainability

NARESUAN UNIVERSITY

Solverwp- WordPress Theme and Plugin