TM Clearing House อุทยานวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร

วันที่ 18 มกราคม 2566 ดร.สราวุธ สัตยากวี ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์และการถ่ายทอดเทคโนโลยี และรักษาการในตำเเหน่งรองผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร เเละเจ้าหน้าที่อุทยานวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร เข้าร่วม ประชุม Retreat แนวทางการดำเนินการโครงการ Talent Mobility ประจำปีงบประมาณ 2566 พร้อมด้วยคณะกรรมการพิจารณาโครงการ Talent Mobility ผู้บริหาร ผู้แทนสถาบันอุดมศึกษา นักวิจัย และเจ้าหน้าที่จากเครือข่ายอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาคทั่วประเทศ ณ อาคารอำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดขอนแก่น

——————————————————–

สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้ดำเนินโครงการการเคลื่อนย้ายบุคลากรเพื่อพัฒนาศักยภาพการวิจัยในภาคอุตสาหกรรม (Talent Mobility) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพบุคลากรวิจัยของสถาบันอุดมศึกษา ผ่านการเคลื่อนย้ายบุคลากรในการพัฒนาองค์ความรู้ การแก้ไขปัญหา ตลอดจนเพิ่มขีดความสามารถด้านการวิจัยและพัฒนาให้กับสถานประกอบการ ได้กำหนดจัดการประชุม Retreat แนวทางการดำเนินการโครงการ Talent Mobility ประจำปีงบประมาณ 2566 โดยมี ศาสตราจารย์ ปริญญา จินดาประเสริฐ ประธานคณะกรรมการ Talent Mobility เป็นประธานการประชุม และผู้ช่วยศาสตราจารย์ธัญญานุภาพ อานันทนะ ผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ เป็นผู้นำเสนอผลการวิเคราะห์และสรุปผลการถอดบทเรียนเพื่อพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการศูนย์อำนวยความสะดวก Talent Mobility (TM Clearing House) และนำเสนอ (ร่าง) แนวทางการดำเนินการโครงการ Talent Mobility และผู้เข้าร่วมการประชุม ร่วมระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินการโครงการ Talent Mobility

ที่มา: อุทยานวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร

ม.นเรศวร จัดกิจกรรม Food Maker Space Workshop @NU

ระหว่างวันที่ 14 – 15 มกราคม 2566 Food Innopolis เมืองนวัตกรรมอาหาร (Food Innopolis: FI) ร่วมกับ มหาวิทยาลัยนเรศวร ได้จัดกิจกรรม Food Maker Space Workshop @NU : “The Science Behind Bakery” ณ อาคารนวัตกรรมเทคโนโลยีการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรและอาหาร มหาวิทยาลัยนเรศวร โดยได้รับเกียรติจาก ดร.พิสุทธิ์ อภิชยกุล รองอธิการบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์และการถ่ายทอดเทคโนโลยีและรักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร เป็นประธานกล่าวเปิดกิจกรรมดังกล่าว เเละได้รับเกียรติจาก ผศ.ดร.วรสิทธิ์ โทจำปา คณบดีคณะเกษตรทรัพยากรธรรมชาติเเละสิ่งเเวดล้อมกล่าวถึงที่มาวัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรม ทั้งนี้ดร.เจษฎา วิชาพร รองคณบดีฝ่ายบริการวิชาการและสื่อสารองค์กร คณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร่วมเปิดงานให้การต้อนรับผู้เข้าร่วมกิจกรรมเเละคุณสุธีรา อาจเจริญ ผู้จัดการฝ่ายพัฒนาธุรกิจเมืองนวัตกรรมอาหาร

ในฐานะหน่วยงานเครือข่ายเมืองนวัตกรรมอาหาร (FI@NU) และวิทยากรผู้เชี่ยวชาญด้านเบเกอรี่ระดับประเทศ รศ.ดร.นภัสรพี เหลือสกุล คณบดี คณะอุตสาหกรรมอาหาร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (FI@KMITL) จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการแบบเข้มข้นฉลอง Food Maker Space Platform ที่พร้อมให้ผู้ประกอบการ และผู้ที่สนใจเข้ามาใช้บริการเครื่องมือ อุปกรณ์ ต่างๆ

กิจกรรม workshop ครั้งนี้เน้นการถ่ายทอดความรู้พื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์เบเกอรี่ให้แก่ผู้ประกอบการในพื้นที่จ.พิษณุโลก และพื้นที่ใกล้เคียง ได้มีความเข้าใจ และมีความรู้เกี่ยวกับในการเลือกใช้ ingredients ประเภทต่างๆ เช่น แป้ง น้ำตาล ไขมัน วัตถุเจือปนอาหาร ที่เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์เบเกอรี่ประเภทต่างๆ และสามารถนำไปใช้ในการพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ของตนเองได้อย่างเหมาะสม นอกจากนี้ยังมุ่งเน้นการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ระหว่างผู้เชี่ยวชาญด้านเบเกอรี่ระหว่างหน่วยงานเครือข่าย Food Innopolis อีกด้วย โดยมีอาจารย์ ผู้เชี่ยวชาญ และนักวิชาการ จากม.นเรศวร เข้าร่วมกิจกรรมกว่าสิบท่าน เพื่อนำองค์ความรู้ และประสบการณ์ไปใช้ในการถ่ายทอด และฝึกอบรมผู้ประกอบการในพื้นที่ต่อไปในอนาคต

ที่มา: อุทยานวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร

ม.นเรศวร จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตรการส่งเสริมการประยุกต์ใช้อากาศยานไร้คนขับสำหรับภาคอุตสาหกรรม รุ่นที่ 3 (Onsite)

NuSciPark จัดกิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตรการส่งเสริมการประยุกต์ใช้อากาศยานไร้คนขับสำหรับภาคอุตสาหกรรม รุ่นที่ 3 (Onsite) ภายใต้โครงการพัฒนาความสามารถทางเทคโนโลยีของบุคลากรภาคอุตสาหกรรม (Brain Power Skill Up) ในวันที่ 9 – 13 มกราคม 2566

🔰 โดยได้รับเกียรติจาก ดร.พิสุทธิ์ อภิชยกุล รองอธิการบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์และการถ่ายทอดเทคโนโลยี และรักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร เป็นประธานกล่าวเปิดกิจกรรมดังกล่าว

ที่มา: อุทยานวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร

ม.นเรศวร จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตรการส่งเสริมการประยุกต์ใช้อากาศยานไร้คนขับสำหรับภาคอุตสาหกรรม รุ่นที่ 3

อุทยานวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร จัดกิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตรการส่งเสริมการประยุกต์ใช้อากาศยานไร้คนขับสำหรับภาคอุตสาหกรรม รุ่นที่ 3 หลักสูตรระยะยาว ที่มีเนื้อหาอัดแน่นกว่า 40 ชั่วโมง ภายใต้การดำเนินงานโครงการพัฒนาความสามารถทางเทคโนโลยีของบุคลากรภาคอุตสาหกรรม (Brain Power Skill Up) ในวันที่ 9 – 13 มกราคม 2566

🌟 วิทยากรประจำหลักสูตร
▪️ ดร.อนุชิต สุขเจริญพงษ์ – กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่
▫️ ผศ.ดร.สุรเดช ตัญตรัยรัตน์ – มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
▪️ ดร.ชัยยุทธิ์ เจริญผล – จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
▫️ นายชิงชัย หุมห้อง – บริษัท แมพพิเดีย จำกัด
▪️ ผศ.ดร.ดวงเดือน อัศวสุธีรกุล – มหาวิทยาลัยนเรศวร
▫️ ดร.พลปรีชา ชิดบุรี – มหาวิทยาลัยนเรศวร

ที่มา: อุทยานวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร

อุทยานวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร ยกทีมเข้าร่วมประชุมคณะทำงานดำเนินงานอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ ครั้งที่ 1/2566

วันที่ 4 มกราคม 2565 ดร.สราวุธ สัตยากวี ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์และการถ่ายทอดเทคโนโลยี เเละรักษาการใน ตำเเหน่งรองผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวรพร้อมด้วยเจ้าหน้าที่อุทยานวิทยาศาสตร์ฯ เข้าร่วมประชุมคณะทำงานดำเนินงานอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ ครั้งที่ 1/2566 พร้อมกับผู้บริหารและเจ้าหน้าที่เครือข่ายอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ ณ NSP Conference Hall อาคารอำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ (จังหวัดเชียงใหม่)

ในการนี้ได้รับเกียรติจาก ผศ.ดร.ธัญญานุภาพ อานันทนะ ผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ เป็นประธานการประชุมดังกล่าว เพื่อติดตามการดำเนินงานของอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565 ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ มีประสิทธิภาพเเละเกิดประโยชน์สูงสุด ในการประชุมยังได้ระดมความคิดเพื่อร่วมกันพัฒนาเครือข่ายมหาวิทยาลัยภาคเหนือ เเละหารือแนวทางการดำเนินงานในอนาคตร่วมกันเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับภาครัฐและเอกชน โดยใช้กลไกอุทยานวิทยาศาสตร์ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมในภาคเหนือของประเทศไทย สอดรับกับนโยบายการพัฒนาเชิงพื้นที่ของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

ที่มา: อุทยานวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร

ม.นเรศวร ร่วมหลักสูตรผู้จัดการนวัตกรรม (Certified Innovation Manager: CIM) ระดับประเทศ

วันที่ 1 – 3 ธันวาคม 2565 ณ โรงแรมสวิสโฮเต็ล กรุงเทพ รัชดา ดร.พิสุทธิ์ อภิชยกุล รองอธิการบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์และการถ่ายทอดเทคโนโลยี และรักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร พร้อมคณะ เข้าร่วมกิจกรรมศึกษาดูงานและกิจกรรมการสําเร็จหลักสูตรผู้จัดการนวัตกรรม ระดับประเทศ เพื่อสรุปผลการเรียนรู้และรับรองผลการจบหลักสูตร และแสดงถึงความพร้อมในการเป็นผู้จัดการนวัตกรรม ตลอดจนนำการเปลี่ยนแปลงสู่องค์กรและสังคมอย่างมืออาชีพ

โดยกิจกรรมดังกล่าวเป็นการรวมตัวกันของอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค 3 ภูมิภาค ได้แก่ ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ รวมถึงคณะผู้บริหารระดับสูงจากภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคมหาวิทยาลัย กว่า 200 คน ซึ่งประกอบด้วยกิจกรรมดังนี้

วันที่ 1 ธันวาคม 2565 กิจกรรมศึกษาดูงาน ณ อุทยานวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย

วันที่ 2 ธันวาคม 2565
🔸กิจกรรมบรรยายพิเศษ หัวข้อ การขับเคลื่อนเศรษฐกิจภูมิภาค โดยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม
🔸กิจกรรมพัฒนาศักยภาพ ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรม (Module 6)
🔸บรรยายพิเศษ หัวข้อ นวัตกรรมกับกลไกการลงทุนของตลาดหลักทรัพย์การสนับสนุนของ LiVE platform
🔸พิธีมอบใบประกาศนียบัตรผู้ผ่านการเข้าร่วมหลักสูตรฯ ทั้งหมด 6 รุ่น และกิจกรรม National IS Pitching show จำนวน 12 คน
🔸กิจกรรมแชร์ประสบการณ์การเข้าร่วมกิจกรรมหลักสูตร CIM

นอกจากนี้ยังมีการจัดแสดงนิทรรศการรายงานค้นคว้าอิรสะของผู้จัดการนวัตกรรมทั้ง 3 ภูมิภาค

ที่มา: อุทยานวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร

ขอเชิญผู้สนใจเข้าร่วมรับฟัง กิจกรรม OPEN INNOVATION (ROAD SHOW) ภาคเหนือ ครั้งที่ 3

วันที่ 29 พฤศจิกายน 2565 เวลา 09.00 – 12.00 น. ในรูปแบบ Onsite ณ ห้องประชุมมหามนตรี อาคารศูนย์แสดงนิทรรศการและการจัดประชุมสมเด็จพระนเรศวรมหาราช (KNECC) มหาวิทยาลัยนเรศวร และรูปแบบ Online ในรูปแบบ Zoom

ที่มา: อุทยานวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร

ไม่มีคำอธิบายรูปภาพ

ม.นเรศวร จัดกิจกรรม OPEN INNOVATION ROAD SHOW ภาคเหนือ ครั้งที่ 3

วันที่ 29 พฤศจิกายน 2565 ณ ห้องประชุมมหามนตรี ชั้น 1 ศูนย์แสดงนิทรรศการและการจัดประชุมสมเด็จพระนเรศวรมหาราช (KNECC) มหาวิทยาลัยนเรศวร และรูปแบบ Online ผ่านโปรแกรม Zoom

🔰อุทยานวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร ร่วมกับสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) และศูนย์ความเป็นเลิศด้านนวัตกรรมทางการเกษตรสำหรับบัณฑิตผู้ประกอบการ ภายใต้การดำเนินงานของอุทยานวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีเกษตรและอาหาร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้จัดกิจกรรม “Open Innovation Road Show ภูมิภาคเหนือ ครั้งที่ 3 “

🔰โดยได้รับเกียรติจาก ดร.พิสุทธิ์ อภิชยกุล รองอธิการบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์และการถ่ายทอดเทคโนโลยี และรักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร เป็นประธานกล่าวเปิดกิจกรรมดังกล่าว

🔴กิจกรรมภายในงานได้บรรยายในหัวข้อ แนวทางการส่งเสริมศักยภาพผู้ประกอบการในพื้นที่ภาคเหนือ รูปแบบการดำเนินงานของ สนช. ในปีงบประมาณ 2566 กลไกการสนับสนุนของ สนช. และการแนะนำการเข้าระบบ MIS สำหรับสมัครสมาชิกและยื่นโครงการเพื่อขอรับการสนับสนุน/ การเตรียมข้อมูลสำหรับ Pitching Conceptual Project เพื่อเป็นแนวทางให้กับผู้ประกอบการที่สนใจยื่นขอรับทุนสนับสนุน

โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมตลอดห่วงโซ่มูลค่าอย่างยั่งยืนของกลุ่มธุรกิจนวัตกรรม (Smart SMEs) และวิสาหกิจเริ่มต้น (Startup) ให้แก่ผู้ประกอบการวิสาหกิจฐานนวัตกรรม (Innovation-based Enterprise; IBE)

ที่มา: อุทยานวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร

ม.นเรศวร จัดการแข่งขันการนำเสนอผลงานโครงการเส้นทางสู่นวัตวณิชย์ ครั้งที่ 10 ระดับภูมิภาค (Research to Market : R2M2022

เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2565 อุทยานวิทยาศาตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร ได้จัดการแข่งขันการนำเสนอผลงานโครงการเส้นทางสู่นวัตวณิชย์ ครั้งที่ 10 ระดับภูมิภาค (Research to Market : R2M2022) ณ โรงละคร อาคารเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา บรมราชินีนาถ มหาวิทยาลัยนเรศวร

🔹โดยมีผู้เข้าร่วมกิจกรรม 9 มหาวิทยาลัยในเขตพื้นที่ภาคเหนือ ทั้งหมด 23 ผลงาน
🔸ซึ่งได้รับเกียรติในการกล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมแข่งขันและนำเสนอผลงานโครงการเส้นทางสู่นวัตวณิชย์ (R2M 2022) ครั้งที่ 10

โดย ดร.พิสุทธิ์ อภิชยกุล รองอธิการบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์และการถ่ายทอดเทคโนโลยี และรักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร กล่าวเปิดแข่งขันและนำเสนอผลงาน โดย ดร.ทินกร รสรื่น หัวหน้าโครงการเส้นทางสู่นวัตวณิชย์ (R2M)

🔹โดยมีคณะกรรมการตัดสินผลงานในครั้งนี้จำนวน 5 ท่าน ดังนี้
1. ดร.ทินกร รสรื่น หัวหน้าโครงการเส้นทางสู่นวัตวณิชย์ (R2M)
2. นายตรีชิต เมธารัตนโชติ CEO & Co-founder Veget Deli
3. นายพัชกร ไทยนิยม ผู้เชี่ยวชาญฝ่ายส่งเสริมความรู้และความร่วมมือด้าน นวัตกรรมภายนอกองค์กร ศูนย์นวัตกรรม กลุ่ม ซีพี ออลล์
4. นางสาวคณิศรา กาญจนวงค์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุน
5. นางสาวธันยธร จรรยาวรลักษณ์ ผู้จัดการสมาคมไทยผู้ประกอบธุรกิจเงินร่วมลงทุน

📍ตัวเเทนทีมนิสิตจากมหาวิทยาลัยนเรศวรมีสมาชิกดังนี้
1. ทีม 5EVER ชื่อผลงาน : ลูกชิ้นไข่ขาว ทีมนิสิตจากคณะเกษตรศาสตร์ฯ สมาชิก นางสาวนฤมล โตสุข นางสาวภูชินากร ปะระวันนา นางสาวเนตรนภา สุ่มประดิษฐ นางสาวสุธีรา อําไพวงษ์ นางสาวปรียาภัทร แก้วมูล
2. ทีม ไปด้วยกันไปได้ไกล ชื่อผลงาน : ผลิตภัณฑ์กันแดดสำหรับนักกีฬา สมาชิก นางสาวพิชญ์สินี ฤกษนันทน์ นิสิตจากคณะเภสัชศาสตร์ นางสาวสนัฐญา เมืองแดง นิสิตจากคณะเภสัชศาสตร์ นางสาวสุทธิวรรักษ์ แก้วชมภู นิสิตจากคณะเภสัชศาสตร์ นางสาวบุญญาภา นาคน้อย นิสิตจากคณะบริหารธุรกิจฯ
3. ทีม Perfecttwin DT ชื่อผลงาน : PaperMFresh Underarms Pads ผลิตภัณฑ์แผ่นระงับกลิ่นกายใต้วงแขน ทีมนิสิตจากคณะเภสัชศาสตร์ สมาชิก นางสาวอัชฉรีย์ ผกากรอง นางสาวพัชราภรณ์ อ่ําพรม นางสาวรุ่งรวีวรรณ์ ด้วงเฟื่อง

🎉 ขอแสดงความยินดี กับ ทีมไปด้วยกันไปได้ไกล ชื่อผลงาน : ผลิตภัณฑ์กันแดดสำหรับนักกีฬา ได้รับรางวัลชมเชย จำนวนเงิน 5,000 บาท และเป็นตัวแทนระดับภูมิภาค จาก 23 ทีม เข้าร่วมการแข่งขันต่อในระดับประเทศ ณ อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จังหวัดสงขลา ในวันที่ 18-19 กุมภาพันธ์ 2566

ที่มา: อุทยานวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร

ม.นเรศวร เป็น 1 ใน 17 โครงการเด่น หนุนนักวิจัยไทย หวังเป็นฟันเฟืองขับเคลื่อนประเทศ

นางสาว ชนัณภัสร์ วานิกานุกูล ผู้อำนวยการส่วน รักษาการแทน ผู้อำนวยการสำนักกองทุนวิจัยและพัฒนา เปิดเผยว่า ทิศทางการดำเนินงานและสนับสนุนการพัฒนาวิจัยของ กทปส. ในปีนี้ยังคงเดินหน้าตามแผนปฏิบัติการกองทุนระยะ ๔ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๓-๒๕๖๖) มุ่งมั่นดำเนินการเพื่อประโยชน์สาธารณะ เพื่อให้ประชาชนได้รับบริการด้านกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมอย่างทั่วถึงครอบคลุม มุ่งส่งเสริม ผลงาน “นวัตกรรม/งานวิจัย” การพัฒนาบุคลากร การคุ้มครองผู้บริโภค และมุ่งสนับสนุนการใช้ประโยชน์จากคลื่นความถี่ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ผ่านกลไกการจัดสรรเงินกองทุน โดยที่ผ่านมา กทปส. ได้ดำเนินการจัดสรรเงินกองทุน ในรูปแบบต่างๆ ดังนี้

ทุนประเภทที่ 1 ทุนเปิดกว้าง (Open Grant) ที่เปิดโอกาสให้ผู้สนใจดำเนินโครงการตามวัตถุประสงค์ของกองทุน สามารถยื่นขอรับการส่งเสริมและสนับสนุน โดยจะมีการเปิดให้ทุนอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง โดยปกติจะเปิดรับคำขอเป็นเวลา 3 เดือน ในช่วงเดือน มค.-มีค. ของทุกปี

ทุนประเภทที่ 2 เป็นทุนที่คณะกรรมการบริหารกองทุนประกาศกำหนด คาดว่าในต้นปี 2566 มีแผนที่จะประกาศขอบเขตของงาน (Terms of reference : TOR) ให้ผู้สนใจได้ยื่นข้อเสนอโครงการประมาณกว่า 30 โครงการ และมีแนวโน้มขยายกรอบวงเงินสำหรับทุนต่อเนื่องเพื่อต่อยอดงานวิจัยที่มีแนวโน้มจะพัฒนาได้ในเชิงพาณิชย์

ทุนประเภทที่ 3 เป็นทุนตามนโยบายของ กสทช. กำหนดที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของกองทุน เช่น การจัดให้มีบริการโทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่วถึงและบริการเพื่อสังคม (Universal Service Obligation หรือ USO)

ทุนประเภทที่ 4 ทุนสนับสนุนการดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์

สำหรับ BTFP SHOWCASE BY NBTC ที่จัดขึ้นในวันที่ 21 พฤศจิกายน 2565 เป็นการจัดแสดงผลงานที่ได้รับทุน จาก กทปส. สู่สาธารณะ และเผยแพร่ผลงานรวมถึงการทำงานของ กทปส. ให้แก่ประชาชน โดยภายในงานได้คัดเลือกผลงานส่วนหนึ่งที่ได้รับการสนับสนุนทุนจาก กทปส. มาจัดแสดงในงานกว่า 17 โครงการ

221122 nbtc2

ผลงานตัวอย่างโครงการที่พร้อมต่อยอดโครงการเพื่อขยายผลโครงการ ทั้งเชิงพาณิชย์ และเชิงประโยชน์สาธารณะ จำนวน 7 โครงการ ได้แก่
1. โครงการศูนย์บริการถ่ายทอดการสื่อสารแห่งประเทศไทย (TTRS) หน่วยงาน : มูลนิธิสากลเพื่อคนพิการและสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
2. โครงการพัฒนาโปรแกรมปัญญาประดิษฐ์ในการวินิจฉัยภาพทางรังสี หน่วยงาน : ภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
3. โครงการพัฒนาและขยายผลระบบรับแจ้งและบริหารจัดการปัญหาเมืองด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศสู่ระดับการปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงาน : ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC)
4. โครงการโปรแกรมประยุกต์เพื่อใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลและค้นหาตำแหน่งของวัตถุในอวกาศ หน่วยงาน : ศูนย์ปฏิบัติการทางอวกาศกองทัพอากาศ กองทัพอากาศ
5. โครงการระบบสอดส่องคุณภาพพื้นผิวจราจรโดย Machine Learning ด้วยข้อมูลจาก Sensor ในยานพาหนะผ่านโครงข่าย IoT หน่วยงาน : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
6. โครงการศึกษาแนวทางการใช้คลื่นความถี่สำหรับระบบสื่อสารรวมทั้งการสร้างแบบจำลองและระบุตำแหน่งในถ้ำ หน่วยงาน : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
7. โครงการพัฒนาองค์ความรู้สื่อมวลชนด้านกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ หน่วยงาน : มูลนิธิพัฒนาสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย

221122 nbtc3

ผลงาน 10 โครงการคัดสรร จาก กทปส. สร้างผลลัพธ์ที่ก่อให้เกิดผลประโยชน์ต่อภาคเศรษฐกิจ สังคม และประชาชนในวงกว้าง ได้แก่
1. โครงการจัดทำแนวทางพัฒนาระบบต้นแบบเพื่อสนับสนุนงานป้องกันและปราบปรามมิจฉาชีพออนไลน์ที่ไม่สามารถระบุตัวตน หน่วยงาน : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
2. โครงการแอปพลิเคชันเพื่อสร้างเกษตรฟาร์มใหญ่บริหารจัดการข้อมูลผลิตผลและการตลาดสำหรับเครือข่ายเกษตรกรหน่วยงาน : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
3. โครงการ Stop Fake, Spread Facts หน่วยงาน : สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์
4. โครงการส่งเสริมความเข้มแข็งของเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ หน่วยงาน :สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารสาสตร์ (NIDA)
5. โครงการการวิจัยและพัฒนาระบบเรดาร์เพื่อการตรวจจับโดรนเพื่อป้องกันการบินโดรนที่ไม่ได้รับอนุญาต หน่วยงาน : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
6. โครงการพัฒนาสื่อการเรียนการสอนการเลี้ยงดู เด็กเชิงบวกออนไลน์สำหรับผู้ปกครองเพื่อพัฒนาเด็กไทยให้ต็มศักยภาพและป้องกันผลของสื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านจอต่อเด็กและวัยรุ่น หน่วยงาน : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
7. โครงการเปาเปาผจญภัยในโลกนิทาน หน่วยงาน : บริษัท เอลิควอร์ กรุ๊ป จำกัด
8. โครงการพัฒนาองค์ความรู้เสริมสร้างทักษะการเล่าเรื่อง และกลยุทธ์เนื้อหาข้ามสื่อ (Transmedia Storytelling and Content Strategy Workshop and Knowledge Lab) หน่วยงาน : สถาบันจัดการปัญญาภิวัฒน์
9. โครงการบริการการแพทย์โดยใช้ระบบแพทย์ทางไกล (Telemedicine) และเทคโนโลยี Blockchain ในกลุ่มโรคที่เกิดจากการทำงาน และเกี่ยวเนื่องจากการทำงาน หน่วยงาน : มหาวิทยาลัยนเรศวร
10. โครงการพัฒนาศักยภาพทางด้านปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) ผ่านเครือข่ายสารสนเทศสำหรับอุตสาหกรรมไทย หน่วยงาน : มหาวิทยาลัยมหิดล

221122 nbtc4

ที่ผ่านมา กทปส. มีผู้ขอรับทุนสนับสนุนเป็นสถาบันการศึกษาทั้งของรัฐและเอกชน คิดเป็นสัดส่วนสูงที่สุด รองลงมาจะเป็นผู้ขอรับทุนสนับสนุนที่เป็นหน่วยงานของรัฐ ผู้ประกอบกิจการในอุตสาหกรรมกระจายเสียง โทรทัศน์ โทรคมนาคม และสมาคม มูลนิธิ โดยเฉลี่ยใกล้เคียงกัน ทั้งนี้ในแผนดำเนินงานในปี 2566 กทปส. จะทำการปรับปรุงประกาศและหลักเกณฑ์การให้ทุนเพื่อเพิ่มโอกาสให้ทุกภาคส่วนของสังคมสามารถการยื่นขอรับทุนให้กว้างมากขึ้น โดยขอเชิญทุกท่านติดตามรายละเอียดการขอรับทุนได้ตามช่องทางประชาสัมพันธ์ของ กทปส.

“กทปส. ยังคงเดินหน้าส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาด้านกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม ของประเทศ ผ่านเงินกองทุนวิจัยและพัฒนา เพื่อสร้างประโยชน์สาธารณะ ดังเจตนารมณ์ตามชื่อกองทุนเพื่อสาธารณะอย่างแท้จริงต่อไป” นางสาว ชนัณภัสร์ กล่าวทิ้งท้าย

ผู้สนใจยื่นขอรับการจัดสรรเงินจาก กทปส. สามารถติดตามรายละเอียดการยื่นขอรับทุนผ่านช่องทางออนไลน์ได้ที่ เฟซบุ๊กแฟนเพจ www.facebook.com/BTFPNEWS และที่เว็บไซต์ https://btfp.nbtc.go.th

221122 nbtc5
221122 nbtc6

ที่มา: สำนักข่าวอิศรา

Sustainability

NARESUAN UNIVERSITY

Solverwp- WordPress Theme and Plugin