โอกาสสำหรับผู้ประกอบการที่ต้องการพัฒนาหรือต่อยอดธุรกิจ

โครงการบ่มเพาะธุรกิจวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ปี 2566 โครงการที่สนับสนุนและพัฒนาธุรกิจ สร้างผู้ประกอบการใหม่ฐานธุรกิจเทคโนโลยีอย่างเป็นระบบและครบวงจร ตั้งแต่ขั้นตอนการสร้างความตระหนักและสร้างวัฒนธรรมการเป็นผู้ประกอบการ สรรหาและคัดเลือกผู้ประกอบการที่มีศักยภาพเข้าสู่กระบวนการบ่มเพาะฯ ให้สามารถจัดตั้งและมีศักยภาพในการดำเนินธุรกิจให้ประสบความสำเร็จได้อย่างก้าวกระโดด

🌟Highlight
🎯 การอบรมเพิ่มทักษะทางธุรกิจ (Business Skill Training)
🎯 รับการให้คำปรึกษาปัญหาธุรกิจ
🎯 พัฒนาและออกแบบผลิตภัณฑ์
🎯 แนะนำการวางเป้าหมายทางธุรกิจจากผู้เชี่ยวชาญ
🎯 โอกาสรับทุนสนับสนุนเพื่อการพัฒนาธุรกิจ
🎯 พร้อมรับสิทธิ์การเข้าใช้บริการต่าง ๆ ของ NU SciPark

✅ ฟรี!!
🔎 ธุรกิจที่เรากำลังมองหา
🔺 สุขภาพและการแพทย์
🔺 อาหารและการแปรรูป
🔺 ICT / Software / Digital Content
🔺 หัตถกรรมและของประดับตกแต่ง

📌 ด่วน!! สนใจสมัครเข้าร่วมโครงการได้แล้วตั้งแต่วันนี้ – 31 มีนาคม 2566 คลิก 👉🏼https://forms.gle/Ttj5ScyDYHrLPsDa9

ที่มา: อุทยานวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร

อาจเป็นรูปภาพของ ข้อความ

NU SciPark ลงพื้นที่ถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน Tech Transfer to Community ส่งเสริมการรับงานไปทำที่บ้าน

วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2566 เจ้าหน้าที่อุทยานวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวรลงพื้นที่ติดตามผลการดำเนินงานโครงการ “การผลิตภัณฑ์ขิงเพื่อการค้า เส้นทางนวัตกรรมเทคโนโลยีเพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจและการตลาดสร้างสรรค์” โดยมี ผศ.ดร.ภคพร วัฒนดำรงค์ สังกัดคณะบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์ และการสื่อสาร มหาวิทยาลัยนรศวร เป็นหัวหน้าโครงการ ทั้งนี้ได้รับความร่วมมือจากสำนักงานจัดหางานจังหวัดเพชรบูรณ์

จัดกิจกรรม “การอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง เส้นทางนวัตกรรมเทคโนโลยีเพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจสร้างสรรค์” ณ วิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านทฤษฎีใหม่ การลงพื้นที่ติดตามผลการดำเนินงานโครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน Tech Transfer to Community เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีกระบวนการผลิต และการแปรรูปขิงและมะขามให้กับสมาชิกในชุมชน และเป็นการส่งเสริมการรับงานไปทำที่บ้าน โดยดำเนินงานภายใต้แผนงานการส่งเสริมการนำนวัตกรรมไปใช้ประโยซน์ในพื้นที่เพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน (Area based Innovation for Community)(โครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน Tech Transfer to Community) ประจำปี 2565

ที่มา: อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

NU SciPark ต้อนรับ ผู้เข้าอบรม SECRA (Strengthening University-Enterprise Collaboration for Resilient Communities in Asia)

วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 16.45 – 17.30 น. รองศาสตราจารย์ ดร.ศรินทร์ทิพย์ แทนธานี อธิการบดีมหาวิทยาลัยนเรศวร ดร.พิสุทธิ์ อภิชยกุล รองอธิการบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์และการถ่ายทอดเทคโนโลยี และผู้บริหารคณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร ซึ่งเป็นเจ้าภาพจัดงาน SECRA (Strengthening University-Enterprise Collaboration for Resilient Communities in Asia) ได้นำผู้เข้าอบรมต่างประเทศ จำนวน 50 ท่าน ได้แก่ ประเทศศรีลังกา ฟิลิปปินส์ อังกฤษ สวีเดน และเอสโตเนีย เข้าศึกษาดูงานอุทยานวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร อาคารมหาธรรมราชาโดยมี ดร.สราวุธ สัตยากวี ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์และการถ่ายทอดเทคโนโลยี ให้การต้อนรับและบรรยายเกี่ยวกับการทำงานและการให้บริการต่าง ๆ ของอุทยานวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร ทั้งนี้ได้นำผู้เข้าอบรมเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการวิจัยเครื่องมือแพทย์ โรงงานต้นแบบสารสกัดและผลิตภัณฑ์สมุนไพร เเละบริษัท ดาริน แล็บบอราทอรี่ส์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทที่ประกอบธุรกิจประเภทการผลิตให้บริการด้านการวิจัยพัฒนา ผลิตและจำหน่าย เครื่องสำอาง อาหารเสริม บริษัทยังได้เข้าร่วมเข้าร่วมพัฒนาธุรกิจภายใต้โครงการดำเนินงาน อุทยานวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร ตั้งแต่ปี 2562

ที่มา: อุทยานวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร

ม.นเรศวร จัดการอบรมหลักสูตร Entrepreneurship Spirit Bootcamp สุดเข้มข้น

เตรียมตัวดี มีชัยไปกว่าครึ่ง!! หน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจในสถาบันอุดมศึกษาเครือข่ายภาคเหนือตอนล่าง นำโดย NU SciPark จัดการอบรมหลักสูตร Entrepreneurship Spirit Bootcamp สุดเข้มข้น ปูพื้นฐานด้านธุรกิจให้กับผู้เข้าร่วมโครงการหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจในสถาบันอุดมศึกษา ในวันที่ 3-5 กุมภาพันธ์ 2566 ณ The Zense Boutique Hotel Phitsanulok

วิทยากรในหลักสูตร
– ดร.จารุวรรณ แดงบุบผา คณะบริหารธุรกิจฯ มหาวิทยาลัยนเรศวร
– อาจารย์อนุวัต เชื้อเย็น iGTC : มหาวิทยาลัยแม่โจ้
– ดร.ปรเมษฐ์ ชุ่มยิ้ม สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
– ดร.ปัญญวัณ ลำเพาพงศ์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

โครงการหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจในสถาบันอุดมศึกษา (UBI) มุ่งเน้นการทำหน้าที่บ่มเพาะธุรกิจ เสริมสร้างศักยภาพผู้ประกอบการให้เข้มแข็ง ทั้งด้าน Business Plan & Technology Development of Product จากสภาพแวดล้อมทางวิชาการในสถาบันอุดมศึกษา ยกระดับเป็นบริษัทเต็มรูปแบบในอนาคต
ที่มา: อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

ขอเชิญเข้าร่วมอบรมการขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์สมุนไพร สำหรับนักวิจัยและผู้ประกอบการ

วันที่ 26 – 27 มกราคม 2566 รูปแบบ Onsite: ห้องประชุมมหามนตรี อาคารอุทยานองค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราชมหาวิทยาลัยนเรศวร (KNECC) Online: Facebook Live เพจ DRI Naresuan University

ที่มา: อุทยานวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร

อาจเป็นรูปภาพของ 1 คน และ ข้อความ

ม.นเรศวร จัดกิจกรรม Food Maker Space Workshop @NU

ระหว่างวันที่ 14 – 15 มกราคม 2566 Food Innopolis เมืองนวัตกรรมอาหาร (Food Innopolis: FI) ร่วมกับ มหาวิทยาลัยนเรศวร ได้จัดกิจกรรม Food Maker Space Workshop @NU : “The Science Behind Bakery” ณ อาคารนวัตกรรมเทคโนโลยีการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรและอาหาร มหาวิทยาลัยนเรศวร โดยได้รับเกียรติจาก ดร.พิสุทธิ์ อภิชยกุล รองอธิการบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์และการถ่ายทอดเทคโนโลยีและรักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร เป็นประธานกล่าวเปิดกิจกรรมดังกล่าว เเละได้รับเกียรติจาก ผศ.ดร.วรสิทธิ์ โทจำปา คณบดีคณะเกษตรทรัพยากรธรรมชาติเเละสิ่งเเวดล้อมกล่าวถึงที่มาวัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรม ทั้งนี้ดร.เจษฎา วิชาพร รองคณบดีฝ่ายบริการวิชาการและสื่อสารองค์กร คณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร่วมเปิดงานให้การต้อนรับผู้เข้าร่วมกิจกรรมเเละคุณสุธีรา อาจเจริญ ผู้จัดการฝ่ายพัฒนาธุรกิจเมืองนวัตกรรมอาหาร

ในฐานะหน่วยงานเครือข่ายเมืองนวัตกรรมอาหาร (FI@NU) และวิทยากรผู้เชี่ยวชาญด้านเบเกอรี่ระดับประเทศ รศ.ดร.นภัสรพี เหลือสกุล คณบดี คณะอุตสาหกรรมอาหาร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (FI@KMITL) จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการแบบเข้มข้นฉลอง Food Maker Space Platform ที่พร้อมให้ผู้ประกอบการ และผู้ที่สนใจเข้ามาใช้บริการเครื่องมือ อุปกรณ์ ต่างๆ

กิจกรรม workshop ครั้งนี้เน้นการถ่ายทอดความรู้พื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์เบเกอรี่ให้แก่ผู้ประกอบการในพื้นที่จ.พิษณุโลก และพื้นที่ใกล้เคียง ได้มีความเข้าใจ และมีความรู้เกี่ยวกับในการเลือกใช้ ingredients ประเภทต่างๆ เช่น แป้ง น้ำตาล ไขมัน วัตถุเจือปนอาหาร ที่เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์เบเกอรี่ประเภทต่างๆ และสามารถนำไปใช้ในการพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ของตนเองได้อย่างเหมาะสม นอกจากนี้ยังมุ่งเน้นการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ระหว่างผู้เชี่ยวชาญด้านเบเกอรี่ระหว่างหน่วยงานเครือข่าย Food Innopolis อีกด้วย โดยมีอาจารย์ ผู้เชี่ยวชาญ และนักวิชาการ จากม.นเรศวร เข้าร่วมกิจกรรมกว่าสิบท่าน เพื่อนำองค์ความรู้ และประสบการณ์ไปใช้ในการถ่ายทอด และฝึกอบรมผู้ประกอบการในพื้นที่ต่อไปในอนาคต

ที่มา: อุทยานวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร

ม.นเรศวร จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตรการส่งเสริมการประยุกต์ใช้อากาศยานไร้คนขับสำหรับภาคอุตสาหกรรม รุ่นที่ 3 (Onsite)

NuSciPark จัดกิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตรการส่งเสริมการประยุกต์ใช้อากาศยานไร้คนขับสำหรับภาคอุตสาหกรรม รุ่นที่ 3 (Onsite) ภายใต้โครงการพัฒนาความสามารถทางเทคโนโลยีของบุคลากรภาคอุตสาหกรรม (Brain Power Skill Up) ในวันที่ 9 – 13 มกราคม 2566

🔰 โดยได้รับเกียรติจาก ดร.พิสุทธิ์ อภิชยกุล รองอธิการบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์และการถ่ายทอดเทคโนโลยี และรักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร เป็นประธานกล่าวเปิดกิจกรรมดังกล่าว

ที่มา: อุทยานวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร

ม.นเรศวร จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตรการส่งเสริมการประยุกต์ใช้อากาศยานไร้คนขับสำหรับภาคอุตสาหกรรม รุ่นที่ 3

อุทยานวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร จัดกิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตรการส่งเสริมการประยุกต์ใช้อากาศยานไร้คนขับสำหรับภาคอุตสาหกรรม รุ่นที่ 3 หลักสูตรระยะยาว ที่มีเนื้อหาอัดแน่นกว่า 40 ชั่วโมง ภายใต้การดำเนินงานโครงการพัฒนาความสามารถทางเทคโนโลยีของบุคลากรภาคอุตสาหกรรม (Brain Power Skill Up) ในวันที่ 9 – 13 มกราคม 2566

🌟 วิทยากรประจำหลักสูตร
▪️ ดร.อนุชิต สุขเจริญพงษ์ – กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่
▫️ ผศ.ดร.สุรเดช ตัญตรัยรัตน์ – มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
▪️ ดร.ชัยยุทธิ์ เจริญผล – จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
▫️ นายชิงชัย หุมห้อง – บริษัท แมพพิเดีย จำกัด
▪️ ผศ.ดร.ดวงเดือน อัศวสุธีรกุล – มหาวิทยาลัยนเรศวร
▫️ ดร.พลปรีชา ชิดบุรี – มหาวิทยาลัยนเรศวร

ที่มา: อุทยานวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร

วิทยาลัยนานาชาติ ม.นเรศวร ร่วมจัดกิจกรรมแนะแนวการศึกษาต่อและอาชีพ

วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยนเรศวร นำโดย ดร.ภิสันติ์ ตินะคัต และ Mr. Andris Adhitra อาจารย์ประจำสาขา Event, Hotel and Tourism Management, อาจารย์ศรัณย์พร เกิดเกาะ อาจารย์ประจำสาขา International Business Management พร้อมด้วยบุคลากรวิทยาลัยนานาชาติ ร่วมจัดกิจกรรมแนะแนวการศึกษาต่อและอาชีพ ประจำปีการศึกษา 2566 ในวันที่ 11 พฤศจิกายน 2565 ณ โรงเรียนเฉลิมขวัญสตรี จังหวัดพิษณุโลก โดยมีนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เข้าร่วมกว่า 500 คน

ที่มา: วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยนเรศวร

ม.นเรศวร เปิดเวทีประชุมนานาชาติระเบียงเศรษฐกิจ หลวงพระบาง-อินโดจีน-เมาะลำไย ครั้งที่ 5

เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2566, มหาวิทยาลัยนเรศวรภายใต้การนำของ รองศาสตราจารย์ ดร.วัฒนา พัดเกตุ รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ ได้เปิดการประชุมระดับนานาชาติ ระเบียงเศรษฐกิจหลวงพระบาง อินโดจีน และเมาะลำไย ครั้งที่ 5 (The 5th LIMEC Academic International Conference) ซึ่งจัดขึ้นโดย คณะโลจิสติกส์และดิจิทัลซัพพลายเชน เพื่อเสริมสร้างการพัฒนาเศรษฐกิจ การค้า และการลงทุนในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจหลวงพระบาง อินโดจีน และเมาะลำไย การประชุมครั้งนี้ถือเป็นเวทีสำคัญในการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์จากนักวิจัย คณาจารย์ นักศึกษา และผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายสาขา ที่มารวมตัวกันเพื่อผลักดันการพัฒนาเศรษฐกิจในภูมิภาคตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ซึ่งมีความสำคัญต่อการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs)

การประชุมครั้งนี้จัดขึ้นภายใต้หัวข้อ “เทคโนโลยีดิจิทัลด้านโลจิสติกส์สำหรับฐานชีวิตใหม่” (Logistics for New Normal with Digital Technology) ซึ่งสะท้อนถึงการเปลี่ยนแปลงในเศรษฐกิจและสังคมที่เกิดขึ้นหลังการระบาดของโรค COVID-19 โดยการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพในการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน การปรับตัวอย่างรวดเร็วของภาคธุรกิจในภูมิภาคและในระดับโลกหลังวิกฤตได้ผลักดันให้ เทคโนโลยีดิจิทัล กลายเป็นเครื่องมือสำคัญที่มีบทบาทในการเชื่อมโยงการทำธุรกิจ การค้า และการลงทุน ซึ่งสามารถช่วยพัฒนาเศรษฐกิจให้เติบโตและยั่งยืน

การประชุมครั้งนี้ได้เน้นการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการจัดการโลจิสติกส์ข้ามแดน โดยเฉพาะในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจที่มีการเคลื่อนไหวของสินค้าและบริการข้ามประเทศอย่างต่อเนื่อง ซึ่งการพัฒนา โลจิสติกส์ ได้กลายเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจของภูมิภาค การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลจึงช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการการขนส่งและการกระจายสินค้าระหว่างประเทศ ซึ่งส่งผลดีต่อ SDG 8 (การเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืนและการทำงานที่ดี) โดยสามารถสร้างงานและอาชีพใหม่ ๆ และเสริมสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจในภูมิภาค

นอกจากนี้ การประชุมครั้งนี้ยังสอดคล้องกับ SDG 1 (การขจัดความยากจน) โดยการส่งเสริมให้เกิดการลงทุนที่สร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจในพื้นที่ชนบทและเขตพื้นที่เศรษฐกิจต่างๆ ซึ่งช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน การพัฒนาภาคธุรกิจในพื้นที่เหล่านี้สามารถช่วยลดความยากจนและเสริมสร้างโอกาสทางการงานสำหรับประชาชนในท้องถิ่น

การประชุม LIMEC ครั้งที่ 5 ยังเป็นเวทีที่เปิดโอกาสให้นักวิจัย คณาจารย์ และนักศึกษาได้แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์จากผู้เชี่ยวชาญในหลายสาขา โดยเฉพาะในด้านโลจิสติกส์ ดิจิทัลซัพพลายเชน และการพัฒนาเศรษฐกิจภาคธุรกิจ การประชุมครั้งนี้สะท้อนถึงบทบาทของมหาวิทยาลัยในการสนับสนุน SDG 4 (การศึกษาเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต) เนื่องจากเป็นการสร้างโอกาสในการเรียนรู้และพัฒนาทักษะใหม่ ๆ ให้กับบุคลากรในภาคธุรกิจและนักศึกษา

การบรรยายพิเศษและการเสวนาครั้งนี้เน้นการใช้ ดิจิทัลทรานฟอเมชั่น ในการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจและการทำงานในโลกหลังการระบาด โดยเฉพาะในการ สร้างความยืดหยุ่นให้กับโซ่อุปทาน ในโลกหลังการระบาดของ COVID-19 ซึ่งสามารถช่วยสร้างความมั่นคงและยั่งยืนในระบบเศรษฐกิจและธุรกิจ การเสวนาเหล่านี้ทำให้ผู้เข้าร่วมได้รับแนวทางในการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่สามารถใช้ในการปรับตัวในสภาพเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและพลิกผัน

การประชุมครั้งนี้ยังเป็นการเปิดโอกาสให้คณะโลจิสติกส์และดิจิทัลซัพพลายเชนของมหาวิทยาลัยนเรศวรเผยแพร่งานวิจัยในระดับสากล โดยการเปิดตัว “1st International Journal & Conference of Logistics and Digital Supply Chain” ซึ่งเป็นวารสารวิชาการนานาชาติที่มุ่งเน้นการเผยแพร่ผลงานวิจัยในด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน การเปิดตัววารสารนี้ช่วยเพิ่มมาตรฐานทางวิชาการและสร้างโอกาสในการเผยแพร่งานวิจัยทางการศึกษาและวิทยาศาสตร์ในวงกว้าง ซึ่งเป็นการสนับสนุน SDG 4 โดยตรงในการส่งเสริมการศึกษาระดับสูงและการวิจัยที่มีคุณภาพ

มหาวิทยาลัยนเรศวรยังคงมุ่งมั่นที่จะเป็นศูนย์กลางของการศึกษาและการวิจัยที่สามารถสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในภูมิภาคและระดับโลก โดยการขับเคลื่อนความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และสถาบันการศึกษาเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจใน ระเบียงเศรษฐกิจหลวงพระบาง อินโดจีน และเมาะลำไย การประชุมครั้งนี้เป็นการส่งเสริมการเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจระหว่างสามประเทศหลักที่อยู่ในเขตระเบียงเศรษฐกิจนี้ และเป็นการสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มและสร้างรายได้ให้แก่ชุมชนในพื้นที่

Sustainability

NARESUAN UNIVERSITY

Solverwp- WordPress Theme and Plugin