ขอเชิญชวน อาจารย์ นิสิตมหาวิทยาลัยนเรศวร ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการพลิกโฉมผลิตภัณฑ์กลุ่มชุมชน

ขอเชิญชวน อาจารย์ นิสิตมหาวิทยาลัยนเรศวร ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการพลิกโฉมผลิตภัณฑ์กลุ่มชุมชน โดยการนำวิทยาการกระบวนการทำงานสมัยใหม่ ไปยกระดับขีดความสามารถกลุ่มองค์กรชุมชนที่รวมตัวกันสร้างผลิตภัณฑ์หรือบริการ ให้มีศักยภาพ มีมูลค่าเพิ่ม แข่งขันในตลาดได้

NU SciPark เปิดรับสมัครผู้สนใจ ร่วมโครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น ประจำปี 2567
คุณสมบัติของทีมนิสิต
– ทีมนิสิต จำนวน 5-10 คน/ทีม
– มีนิสิตต่างสาขาวิชา ต่างคณะภายในทีม
– มีอาจารย์ที่ปรึกษาอย่างน้อย 1 ท่าน/ทีม
– นิสิตจะต้องเป็นลูกค้าประเภทใดประเภทหนึ่งของธนาคารออมสิน

คุณสมบัติของกลุ่มชุมชน
– กลุ่มชุมชน ได้แก่ กลุ่มวิสาหกิจชุมชน, กลุ่มผู้ประกอบการ OTOP, กลุ่มโฮมสเตย์, กลุ่มท่องเที่ยวชุมชน และกลุ่มอาชีพในชุมชน โดยจะต้องมีการรวมกลุ่มกันจากสมาชิกในชุมชน เพื่อผลิตสินค้า/บริการ เพื่อให้เกิดการสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับชุมชน
– เป็นกลุ่มชุมชนที่มีความพร้อม ความต้องการที่จะยกระดับคุณภาพผลิตภัณฑ์/บริการ ซึ่งอยู่ในพื้นที่ของธนาคารออมสินภาค 7 ทั้งหมด 5 จังหวัดดังนี้ อุตรดิตถ์, พิษณุโลก, ตาก, สุโขทัย, กำแพงเพชร
– การทำงานจะต้องมีส่วนร่วม ระหว่างชุมชน สถาบันอุดมศึกษา ธนาคารออมสิน และหน่วยงานพันธมิตรในพื้นที่
– ชุมชนจะต้องเป็นลูกค้าประเภทใดประเภทหนึ่งของธนาคารออมสิน

ผลิตภัณฑ์และบริการแบ่งเป็น 6 ประเภท
– กินดี (อาหาร, เครื่องดื่ม)
– อยู่ดี (ที่พัก, Homestay, ท่องเที่ยวชุมชน)
– สวยดี (เครื่องประดับ, ของที่ระลึก, ของตกแต่งบ้าน, เสื้อผ้า, เครื่องแต่งกาย)
– ใช้ดี (ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากสมุนไพร, เครื่องประทินผิว, ผลิตภัณฑ์สปา, สิ่งของเครื่องใช้)
– รักษ์ดี (การอนุรักษ์ขนบธรรมเนียม ประเพณี สิ่งแวดล้อม หรือภูมิปัญญา ให้คงอยู่สืบไป)
– คิดดี (สินค้า/บริการ เชิงนวัตกรรม)

สมัครได้ตั้งแต่บัดนี้ถึง 22 ธันวาคม 2566 สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Facebook: NU SciPark โทรศัพท์: 08 7522 2896 (โม)

โครงการปฐมนิเทศฝึกงานวิชาชีพ สำหรับนิสิตหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

วันจันทร์ที่ 13 พฤศจิกายน 2566 รองศาสตราจารย์ ดร.นิทรา กิจธีระวุฒิวงษ์ คณบดีคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร เป็นประธานในการกล่าวเปิดและกล่าวให้โอวาท ในโครงการปฐมนิเทศฝึกงานวิชาชีพ สำหรับนิสิตหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ชั้นปีที่ 4 รวมถึงให้ข้อแนะนำถึงแนวทางข้อปฏิบัติ การวางตัว และการฝึกปฏิบัติงานร่วมกับผู้อื่น แก่นิสิตก่อนการออกฝึกปฏิบัติงาน ทั้งในสถานประกอบการของทั้งภาครัฐ และเอกชน

โดยในการจัดโครงการฯ ครั้งนี้ ได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภาคภูมิ สุขเจริญ อาจารย์ประจำภาควิชาภาษาไทย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร เป็นวิทยากรบรรยาย ในหัวข้อ “การเตรียมความพร้อมสำหรับการฝึกงานวิชาชีพ” เพื่อเป็นการแนะนำให้นิสิตได้เตรียมความพร้อม ก่อนออกฝึกปฏิบัติงาน ได้เรียนรู้ถึงรูปแบบการทำงาน วัฒนธรรมองค์กร การติดต่อประสานงาน การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ พร้อมทั้งปรับตัวเมื่อต้องทำงานร่วมกับผู้อื่น ให้ได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้งานทางวิชาชีพจากผู้ปฏิบัติงานจริง เพื่อที่จะนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับมาปรับใช้ในการประกอบอาชีพ ต่อไปในอนาคต ณ ห้อง PH 305 ชั้น 3 อาคารเรียนรวมคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

ที่มา: คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

เส้นทางสู่นวัตวณิชย์ (Research to Market : R2M) ครั้งที่ 11

NU SciPark คัดแล้ว 3 ทีมสุดต๊าซ ตัวแทนมหาวิทยาลัยนเรศวร ร่วมกิจกรรม R2M Boot Camp ระดับภูมิภาค (ภาคเหนือ) เตรียมความพร้อมก่อนเข้าสู่รอบคัดเลือกตัวแทนระดับภูมิภาคต่อไป 🌈

วันที่ 8-10 พฤศจิกายน 2566 อุทยานวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร นำ 3 ทีม ผู้ชนะจากการแข่งขันโครงการ “เส้นทางสู่นวัตวณิชย์ (Research to Market : R2M) ครั้งที่ 11” ระดับมหาวิทยาลัย ประกอบด้วย
– รางวัลชนะเลิศ ผลงาน “PAWER UP อาหารสุขภาพจากโปรตีนไข่ขาวสำหรับสุนัข” จากคณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม
– รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 ผลงาน “เซ็ตผลิตภัณฑ์แอนติแอคเน่จากสารสกัดไมยราบ” จากคณะเภสัชศาสตร์
– รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 ผลงาน “Hemp Plast” จากคณะบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์ และการสื่อสาร

เข้าร่วมกิจกรรม R2M Boot Camp ระดับภูมิภาค (ภาคเหนือ) ครั้งที่ 11 เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับทีมนักศึกษาจากสถาบันการศึกษาในเครือข่ายอุทยาวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ จำนวน 7 แห่ง รวม 21 ทีม ก่อนเข้าร่วมการแข่งขันในระดับภูมิภาค (ภาคเหนือ) เร็วๆนี้

ที่มา: อุทยานวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร

เปิดโลกการเรียนรู้ทักษะที่จำเป็นสำหรับตลาดแรงงานดิจิทัล

เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2566 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ได้จัดโครงการ Beyond Coding – Intensive Onsite Training ขึ้นในระหว่างวันที่ 5-11 พฤศจิกายน 2566 เพื่อมุ่งเน้นให้นิสิตที่ได้รับคัดเลือก จำนวน 60 คน ในเขต 17 จังหวัดภาคเหนือ ได้เรียนรู้ทักษะที่จำเป็นสำหรับตลาดแรงงานดิจิทัล ได้นำทักษะพื้นฐานมาสร้างนวัตกรรมดิจิทัล และมีโอกาสไปฝึกงานในบริษัทและองค์กรชั้นนำของประเทศ อีกทั้งยังมีโอกาสได้รับทุนการศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา โดยได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.สัมฤทธิ์ โม้พวง คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ เป็นประธานในการกล่าวเปิดโครงการดังกล่าว

ซึ่งการจัดโครงการ Beyond Coding – Intensive Onsite Training ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคน และทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม (บพค.) และมีหน่วยงานทั้งภาครัฐ และภาคเอกชนที่เข้ามามีส่วนสนับสนุน โดยมี ศาสตราจารย์ ดร.ระเบียน วังคีรี เป็นหัวหน้าโครงการ

ที่มา: คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

แนะหลักสูตรระยะสั้น : การเป็นผู้ประกอบการร้านกาแฟอย่างมืออาชีพ

คณะบริหารธุรกิจฯ มหาวิทยาลัยนเรศวร จัดหลักสูตรระยะสั้น : การเป็นผู้ประกอบการร้านกาแฟอย่างมืออาชีพ

💥พร้อมกิจกรรมสุดพิเศษ💥

– ฝึกปฏิบัติการทำกาแฟกับมืออาชีพ
– เข้าใจรูปแบบของธุรกิจร้านกาแฟ
– เทคนิคการเปิดร้านกาแฟอย่างมืออาชีพ
– การออกแบบร้านกาแฟเพื่อสร้างความดึงดูด
– การวางตำแหน่งแบรนด์และกลยุทธ์ทางการตลาด
– พร้อมทริป พิเศษ “เขาค้อ”

📌รับจำนวนจำกัด 20 ท่าน 📌 💥” ค่าลงทะเบียนเพียง 💸 3,900 บาท 💸💥

สมัครลงทะเบียนได้ที่ : https://shorturl.asia/5817U
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : 055 964 822 (งานวิจัยและบริการวิชาการ)

ที่มา: งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

รายการ Good Afternoon ช่วง “งานหาคน”

ช่วงงานหาคน ออกอากาศในรายการ Good Afternoon ทางสถานีวิทยุกระจายเสียงมหาวิทยาลัยนเรศวร วันที่ 9 ตุลาคม 2566 เวลา 14.00 – 16.00 น. ฟังออนไลน์ได้ที่ www.nuradio.nu.ac.th : https://fb.watch/nD3havV84f/

ดำเนินรายการโดย นางสาวพิมพ์ณพัทธ์ พ่วงกระทุ่ม
>> องค์กร บริษัท หน่วยงาน ห้างร้าน ต้องการคนทำงาน ส่งมาได้ที่ inbox เพจสถานีวิทยุแห่งนี้นะคะ หรือโทร 0 5596 1124

ที่มา: สถานีวิทยุกระจายเสียงมหาวิทยาลัยนเรศวร NUradio Naresuan

NU Scipark จัดอบรมให้ความรู้ด้านแผนธุรกิจฯ ภายใต้โครงการเส้นทางสู่นวัตวณิชย์ (R2M 2023)

ติวเข้ม~เข้ม 15 ทีมที่ผ่านการคัดเลือก ก่อนการประกวดแข่งขันและนำเสนอผลงานโครงการเส้นทางสู่นวัตวณิชย์ (R2M 2023) ครั้งที่ 11ระดับมหาวิทยาลัย 23 กันยายนนี้

วันที่ 17 กันยายน 2566 NU Scipark จัดอบรมให้ความรู้ด้านแผนธุรกิจ และการตลาด ภายใต้โครงการเส้นทางสู่นวัตวณิชย์ (R2M 2023) ครั้งที่ 11 เพื่อสร้างความเข้าใจด้าน Business Model Canvas (BMC) ร่วมถึงเทคนิคการนำเสนอผลงาน ณ หอประชุมมหาราช 2 อาคารศูนย์แสดงนิทรรศการและการจัดประชุมสมเด็จพระนเรศวรมหาราช (KNECC) มหาวิทยาลัยนเรศวร

ซึ่งได้รับเกียรติจากผู้เชี่ยวชาญด้านการวางแผนธุรกิจและการตลาด 2 ท่าน ให้เกียรติมาเป็นวิทยากรในครั้งนี้ ได้แก่- – ผศ.ดร.เรืออากาศเอกหญิงวชิรา พันธุ์ไพโรจน์ อาจารย์ประจำคณะบริหารธุรกิจฯ
– ดร.ปัญญวัณ ลำเพาพงศ์ อาจารย์ประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์ และรองผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร

ที่มา: ทยานวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร

ม.นเรศวร ยกระดับธุรกิจของสถานประกอบการ วิสาหกิจชุมชนกลุ่มผลิตภัณฑ์ตัดเย็บผ้า

กิจกรรมยกระดับธุรกิจของสถานประกอบการ วิสาหกิจชุมชนกลุ่มผลิตภัณฑ์ตัดเย็บผ้า ตําบลสนามคลี

วันที่ 16 กันยายน 2566 งานบ่มเพาะธุรกิจ อุทยานวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร นำทีมวิทยากรลงพื้นที่จัดกิจกรรมที่ 3 การทดสอบตลาด ถ่ายทอดความรู้และฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ “การตลาดเชิงสร้างสรรค์” ในหัวข้อ วางแผนกลยุทธ์ทางการตลาด และการจัดแสดงผลิตภัณฑ์เพื่อทดสอบตลาด ภายใต้แผนงานยกระดับธุรกิจภูมิภาค (Regional Entrepreneur Upgrade) ณ วิสาหกิจชุมชนกลุ่มผลิตภัณฑ์ตัดเย็บผ้า ตําบลสนามคลี อำเภอบางกระทุ่ม จังหวัดพิษณุโลก

วิทยากรโดย (1) ดร.สุภรวดี ตรงต่อธรรม คณะบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร ม.นเรศวร (2) นางสาววรรณชลี กุลศรีไชยหัวหน้างานศิลปวัฒนธรรม งานศิลปวัฒนธรรม กองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม

โครงการยกระดับความพร้อมของเทคโนโลยี และส่งเสริมระบบนิเวศสำหรับสร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ เพื่อตอบโจทย์การพัฒนานวัตกรรมของประเทศ และโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจท้องถิ่นในภูมิภาค ด้วยการสนับสนุนการเข้าถึงการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัย โครงสร้างพื้นฐาน ววน. และการให้บริการด้านเทคโนโลยี

ที่มา: อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

ม.นเรศวร ร่วมจัดทำแผนที่นำทางเทคโนโลยี สำหรับธุรกิจ BCG

NU SciPark จับมือ NSRU ระดมสมองทำ Roadmap พัฒนาธุรกิจ BCG ในพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ 🌾🎋

วันที่ 14 กันยายน 2566 ดร.พิสุทธิ์ อภิชยกุล รองอธิการบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์และการถ่ายทอดเทคโนโลยี ม.นเรศวร พร้อมด้วยอุทยานวิทยาศาสตร์ ม.นเรศวร นำทีมโดย ผศ.ดร.สมลักษณ์ วรรณฤมล กีเยลาโรว่า ผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ ม.นเรศวร และรศ.ดร.รังสรรค์ เจริญสุข รองผู้อำนวยการฯ พร้อมด้วย รศ.ดร.ธนัชสัณห์ พูนไพบูลย์พิพัฒน์ ผู้ประสานงานเครือข่ายนักวิชาการรัฐกับเอกชนภาคเหนือล่าง ร่วมจัดทำแผนที่นำทางเทคโนโลยี สำหรับธุรกิจ BCG ในพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ ระหว่าง มหาวิทยาลัยนเรศวร และ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์ เพื่อเสริมสร้างการแลกเปลี่ยนเรียนรู้มหาวิทยาลัยเครือข่ายก่อตั้งและมหาวิทยาลัยเครือข่ายใหม่ ภายใต้โครงการบริหารจัดการและพัฒนาเครือข่ายอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค ภาคเหนือ ในรูปแบบกิจกรรมเสริมสร้างขีดความสามารถและเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างเครือข่ายก่อตั้ง (บัดเดอร์) อุทยานวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร และเครือข่ายใหม่ (บัดดี้) มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์ ให้ดำเนินงานอุทยานวิทยาศาสตร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพและเสริมสร้างความเข้มแข็งให้มหาวิทยาลัยบัดดี้

โอกาสนี้ได้รับเกียรติจาก นายจุมพฏ วรรณฉัตรสิริ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครสวรรค์ ด้านเศรษฐกิจ สำนักงานจังหวัดนครสวรรค์ เป็นประธานกล่าวเปิดงาน และ ผศ.ดร.สมบูรณ์ นิยม ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมงาน นอกจากนี้ยังได้รับเกียรติจาก ดร.สราวุธ สัตยากวี รองผู้อำนวยการสำนักกลยุทธ์และพัฒนากองทุน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) เป็นวิทยากรร่างแผนที่นำทางเทคโนโลยี สำหรับธุรกิจ BCG ในพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ โดยมีผู้แทนจากทางภาครัฐ ภาคเอกชน ร่วมระดมความคิดเห็นแผนที่นำทางฯ ณ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์

ที่มา: อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

NU SciPark นำวิทยากรลงพื้นที่จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ พัฒนาผลิตภัณฑ์คุกกี้จากแป้งกล้วยน้ำว้า ตำบลวงฆ้อง อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก

วันที่ 14 กันยายน 2566 งานบ่มเพาะเทคโนโลยีและนวัตกรรม อุทยานวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร และวิทยากรโดย ผศ.ดร.ศศิวิมล จิตรากร ดร.สุกีวรรณ เดชโยธิน และนางสาวภิรนิตย์ ลบลม ภาควิชาอุตสาหกรรมเกษตร สังกัดคณะเกษตรศาสตร์ฯ มหาวิทยาลัยนเรศวร ลงพื้นที่จัดอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาผลิตภัณฑ์คุกกี้จากแป้งกล้วยน้ำว้า ณ วิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์วิถีพอเพียง 459 บ้านวงฆ้อง ตำบลวงฆ้อง อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก

โครงการภายใต้กิจกรรมส่งเสริมการนำ วทน. เพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตและเศรษฐกิจชุมชน ประจำปีงบประมาณ 2566 แพลตฟอร์มบริการให้คำปรึกษาและข้อมูลเทคโนโลยี (Technology Consulting Service : TCS) คลินิกเทคโนโลยี

สนใจสอบถามข้อมูลบริการของอุทยานวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวรเพิ่มเติมได้ที่ https://linktr.ee/sciparkcontent
ที่มา: อุทยานวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร

Sustainability

NARESUAN UNIVERSITY

Solverwp- WordPress Theme and Plugin