Archives August 2023

รายการ รักไม่รู้โรย เรื่องการเก็บรักษานมแม่

มหาวิทยาลัยนเรศวรได้มุ่งมั่นในการสนับสนุนการพัฒนาที่ยั่งยืนตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) โดยเฉพาะในด้านความเท่าเทียมทางเพศ (SDG 5) ผ่านการส่งเสริมบทบาทของสตรีและการดูแลสุขภาพที่มีคุณภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ซึ่งถือเป็นหนึ่งในประเด็นสำคัญในการส่งเสริมความเสมอภาคและการให้โอกาสในการดูแลสุขภาพของเด็กและแม่ทุกคน

หนึ่งในกิจกรรมที่มหาวิทยาลัยนเรศวรได้ดำเนินการเพื่อเสริมสร้างความรู้และสร้างความเข้าใจในเรื่องนี้ คือรายการ “รักไม่รู้โรย เรื่องการเก็บรักษานมแม่” ซึ่งดำเนินรายการโดยอาจารย์นิตยา ศรีบัวรมย์ อาจารย์ประจำคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร รายการดังกล่าวได้มีการพูดคุยและให้ความรู้เกี่ยวกับวิธีการเก็บรักษานมแม่อย่างถูกวิธี ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการส่งเสริมสุขภาพของทารกและช่วยเพิ่มโอกาสให้เด็กได้รับสารอาหารที่ดีที่สุดจากนมแม่

รายการนี้มีการพูดถึงเทคนิคและแนวทางในการเก็บรักษานมแม่ที่ถูกสุขลักษณะเพื่อให้คงคุณค่าทางโภชนาการและคุณภาพของนมแม่ในระยะยาว อีกทั้งยังส่งเสริมให้สตรีและแม่ในชุมชนได้ตระหนักถึงความสำคัญของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ซึ่งมีประโยชน์ต่อสุขภาพทั้งแม่และเด็ก โดยเน้นการสร้างความเข้าใจในเรื่องการเสริมสร้างสุขภาพที่ดีผ่านการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างมีประสิทธิภาพ

นอกจากการให้ความรู้เกี่ยวกับการเก็บรักษานมแม่แล้ว รายการนี้ยังสร้างพื้นที่สำหรับการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ของผู้เชี่ยวชาญในด้านการพยาบาลและสุขภาพ ซึ่งช่วยกระตุ้นให้สตรีและแม่ในชุมชนตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลตนเองและการให้ความสำคัญกับบทบาทของตนในการสร้างความยั่งยืนให้กับการเลี้ยงดูและการพัฒนาสุขภาพของเด็ก

กิจกรรมดังกล่าวมีส่วนสำคัญในการเสริมสร้างความเข้าใจในเรื่องความเสมอภาคทางเพศและการเสริมพลังให้กับสตรี ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินงานด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG 5) ของมหาวิทยาลัยนเรศวร นอกจากนี้ยังเป็นตัวอย่างที่ดีของการนำความรู้ในด้านการพยาบาลและสุขภาพมาปรับใช้ในชีวิตประจำวัน เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตและความยั่งยืนในสังคมอย่างแท้จริง

ที่มา: สถานีวิทยุกระจายเสียงมหาวิทยาลัยนเรศวร NUradio Naresuan

https://youtu.be/iGwzo_0qo3I

ม.นเรศวร จับมือเครือข่ายเร่งบ่มเพาะพัฒนาผู้ประกอบการ เพิ่มขีดความสามารถเทคโนโลยีและนวัตกรรมสู่สากล

วันศุกร์ที่ 11 สิงหาคม 2566 อุทยานวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมลักษณ์ วรรณฤมล กีเยลาโรว่า รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร ร่วมเป็นเกียรติในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ระหว่างสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กับเครือข่ายร่วมพัฒนาผู้ประกอบการ (TED Fellow) ปีนี้ รวมจำนวน 7 หน่วยงาน หวังเร่งบ่มเพาะ ยกระดับ พร้อมให้คำปรึกษาแก่ผู้ประกอบการที่ต้องการเงินทุนวิจัยพัฒนาต่อยอดสู่เชิงพาณิชย์ ณ อิมแพ็ค เมืองทองธานี

ทั้งนี้ ในปี พ.ศ. 2566 ทางกองทุนฯ ได้จัดตั้งเครือข่ายร่วมพัฒนาผู้ประกอบการ (TED Fellow) เพิ่มเติมเฉพาะภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ รวมจำนวน 7 หน่วยงาน ได้แก่
1. คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยขอนแก่น (KKBS)
2. ศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี(UdonUBI)
3. ศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา (NRRU UBI)
4. คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม (Eng NPU)
5. สำนักการจัดการนวัตกรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย (RUTS IMTT)
6. สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี(RDI SRU)
7. สถาบันวิจัยและนวัตกรรมอาหาร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์(FIRIn PSU)

เพื่อเพิ่มกำลังในการคัดสรร บ่มเพาะ เร่งยกระดับพัฒนาผู้ประกอบการไทย พร้อมให้คำปรึกษาแก่ผู้ประกอบการที่ต้องการเงินทุน นำไปต่อยอดธุรกิจเชิงพาณิชย์ต่อไป จากเดิมได้ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ไปแล้ว 52 หน่วยงาน และได้ดำเนินกิจกรรมร่วมกับกองทุนฯ ซึ่งประกอบด้วยหน่วยงานจากทั้งภาครัฐและเอกชนที่กระจายอยู่ทั่วประเทศ เพื่อให้นิสิต นักศึกษา บัณฑิตจบใหม่ และผู้ประกอบการเทคโนโลยีและนวัตกรรมในทุกพื้นที่ได้เข้าถึงแหล่งทุนและสามารถใช้บริการเครือข่ายฯ ได้อย่างทั่วถึง โดยเน้นการบ่มเพาะและพัฒนาผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้น (Startup) ให้เป็นผู้ประกอบการที่มีศักยภาพ เป็นการตอบโจทย์ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน และเสริมสร้างเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างมีเสถียรภาพและยั่งยืนต่อไป

ที่มา: อุทยานวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร

หอสมุดขยายเวลาพื้นที่นั่งอ่าน อาคารเรียนรู้ชั้น 1 – 6

หอสมุดขยายเวลาพื้นที่นั่งอ่าน อาคารเรียนรู้ชั้น 1 – 6 (ยกเว้นชั้น 3) ถึงเที่ยงคืนน! เริ่ม 15 – 25 สิงหาคม 2566 ✨
จ – ศ : 08.30 – 00.30 น. และ ส – อา : 09.30 – 00.30 น.

เคาน์เตอร์บริการยืม – คืน ปิดให้บริการเวลา 20.20 น.
ห้องศึกษาค้นคว้ากลุ่ม ชั้น 3 ปิดให้บริการเวลา 20.20 น.

– พื้นที่นั่งอ่านตามอัธยาศัยชั้น 1 เปิดให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง ไม่เว้นวันหยุดราชการ สงวนสิทธิ์เฉพาะผู้มีบัตรและคิวอาร์โค้ดสแกนเข้าใช้งานเท่านั้น

ที่มา: สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยนเรศวร Naresuan University Library

ม.นเรศวร ลงพื้นที่ Coaching ผู้ประกอบการฯ

Nu SciPark พร้อมที่ปรึกษาและผู้เชี่ยวชาญ ลงพื้นที่ Coaching ผู้ประกอบการของ บริษัท โกโก้ไทย โปรดักส์ จำกัด ณ โรงงานโกโก้ไทย โปรดักส์ ตำบลกุดนกเปล้า อำเภอเมือง จังหวัดสระบุรี

วันที่ 14-15 สิงหาคม 2566 งานบ่มเพาะเทคโนโลยีและนวัตกรรม อุทยานวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร นำทีมที่ปรึกษาและผู้เชี่ยวชาญของโครงการ แผนงานพัฒนากระบวนการวิจัยของผู้ประกอบการ (Industrial Research and Development Capability Building – IRD Cap Building) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

กิจกรรมที่ 1 แก้ไขปัญหาที่พบเจอ โดย รศ.ดร.มณฑนา วีระวัฒนากร (ที่ปรึกษาโครงการ) ภาควิชาอุตสาหกรรมเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนเรศวร

กิจกรรมที่ 2 Technology Forcasting โดย ผศ.ดร.รัตนา การุญบุญญานันท์ (ผู้เชี่ยวชาญ) ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

แผนงานนี้ส่งเสริมให้มีการนำองค์ความรู้ ประสบการณ์และความเชี่ยวชาญด้านการวิจัยจากมหาวิทยาลัยและอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค มาใช้ยกระดับการวิจัยและพัฒนาของภาคอุตสาหกรรม เพื่อให้ผู้ประกอบการมีความพร้อมและความสามารถในการจัดตั้งหรือพัฒนาปรับปรุงหน่วยวิจัยและพัฒนา (R&D Unit) ในสถานประกอบการ ตลอดจนพัฒนาให้ผู้ประกอบการในท้องถิ่นสามารถนำภูมิปัญญามาผสมผสานกับเทคโนโลยีนวัตกรรมสมัยใหม่ อันเป็นการกระตุ้นการลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาในอนาคตต่อไป

ที่มา: อุทยานวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร

ม.นเรศวร คำนึงความสำคัญของคนเดินเท้าในมหาวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยนเรศวรได้ทำการติดตั้งสัญญาณไฟจราจรสำหรับผู้ต้องการข้ามถนน บริเวณทางม้าลายหลายจุดภายในมหาวิทยาลัย ขอให้นิสิตและบุคลากรมหาวิทยาลัยนเรศวรทุกท่าน รวมถึงบุคคลทั่วไป ขับขี่ยานพาหนะ​ด้วยความระมัดระวังและสังเกตุสัญญาณ​ไฟจราจร

สำหรับผู้ที่ต้องการข้ามถนน ให้กดปุ่มที่เสาสัญญาณและรอจนกว่ารถทั้งสองฝั่งหยุดให้ แล้วค่อยทำการข้ามถนน ขอให้ทุกท่านปฏิบัติตามกฎจราจรอย่างเคร่งครัด หลีกเลี่ยงการขับขี่ที่ใช้ความเร็ว ขับขี่ด้วยความระมัดระวัง และมีน้ำใจให้กับผู้สัญจรทางเท้ากันด้วยนะครับ

ที่มา: คณะสังคมศาสตร์​ มหา​วิทยาลัย​นเรศวร

ขอเชิญผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรม วันความปลอดภัยมหาวิทยาลัยนเรศวร

ขอเชิญผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรม วันความปลอดภัยมหาวิทยาลัยนเรศวร NU Safety Day ประจำปี 2566 “การสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยในการทำงาน” ในระหว่างวันที่ 29-30 สิงหาคม 2566 ตั้งแต่เวลา 08.30 น. เป็นต้นไป ณ หอประชุมมหาราช ศูนย์แสดงนิทรรศการและการจัดประชุมสมเด็จพระนเรศวรมหาราช มหาวิทยาลัยนเรศวร

พบกับกิจกรรมส่งเสริมความรู้ การบรรยายพิเศษ การเสวนา บูธกิจกรรมและนิทรรศการผลงานด้านความปลอดภัย รวมทั้งกิจกรรมร่วมสนุกชิงรางวัล เพื่อส่งเสริมให้มีส่วนร่วมในการดำเนินงานด้านความปลอดภัยที่นำไปสู่การปฏิบัติตนที่ถูกต้องตามหลักการและมาตรฐานความปลอดภัยที่เกี่ยวข้อง

สามารถส่งผลงานเข้าร่วมประกวด
– การประกวดภาพถ่าย
– การประกวดอินโฟกราฟิกส์
– การประกวด VDO

ผู้สนใจสามารถลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรมได้ที่ https://forms.office.com/r/x2dusgkg5w
ศึกษาเกณฑ์การประกวดเพิ่มเติมที่ https://www.mis.research.nu.ac.th/safetyday/index.php
สำหรับผู้ลงทะเบียนล่วงหน้าจำนวน 200 ท่านเเรกจะได้รับคูปองอาหารว่าง และอาหารกลางวัน

ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่: กองการวิจัยและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยนเรศวร นายยงยุทธ บ่อแก้ว เบอร์โทรศัพท์ 0 5596 8715 E-mail : SOHEC-NU@sdgs_admin

สัมมนานักวิชาการระดับชาติด้านอารยธรรมศึกษา ครั้งที่ 3

ภายใต้หัวข้อเรื่อง “ทุนทางวัฒนธรรมสร้างเศรษฐกิจไทยอย่างยั่งยืน” (RE-DEFINE CREATIVE ECONOMY THROUGH TEXTILE AND FASHION)

ในวันศุกร์ที่ 1 กันยายน 2566 ตั้งแต่เวลา 08.30 – 12.00 น. (รูปแบบ Online โปรแกรม Zoom Meeting) สัมมนาในหัวข้อ “ทุนทางวัฒนธรรมส่งเสริมเศรษฐกิจไทยอย่างยั่งยืน”

วิทยากรโดย
1. คุณศรัณญ อยู่คงดี นักออกแบบแห่งปี 2564 สาขาการออกแบบเครื่องประดับ
2. คุณนครินทร์ ยาโน ศิลปินศิลปาธร สาขาศิลปะการออกแบบ 2565 เจ้าของแบรนด์ YANO
3. คุณณกรณ์ ตั้งหลัก ที่ปรึกษากรมหม่อนไหม และที่ปรึกษาหน่วยส่งเสริมหม่อนไหม จังหวัดมหาสารคาม

ดำเนินรายการโดย: รศ.ดร.ดนัย เรียบสกุล อาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ศิลปะและการออกแบบ มหาวิทยาลัยนเรศวร

>> ถ่ายทอดสดผ่าน Facebook Fan page กองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยนเรศวร ลงทะเบียน: https://bit.ly/3ODy4R3 ZOOM: https://bit.ly/47uiVtN

ที่มา: กองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยนเรศวร

ชมรมศิษย์เก่า มอบทุนการศึกษาให้แก่นิสิตมหาวิทยาลัยนเรศวร จำนวนทั้งสิ้น 28 ทุน

สมาคมนิสิตเก่ามหาวิทยาลัยนเรศวร และชมรมศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดสุโขทัย มอบทุนการศึกษาให้กับนิสิตมหาวิทยาลัยนเรศวร เป็นจำนวนเงิน 125,000 บาท จากการจัดกิจกรรมในรอบปีที่ผ่านมา

มหาวิทยาลัยนเรศวร ขอขอบคุณสมาคมนิสิตเก่ามหาวิทยาลัยนเรศวร นำโดยคุณจิตมากร รอบบรรเจิด นายกสมาคมนิสิตเก่ามหาวิทยาลัยนเรศวร พร้อมด้วยคณะกรรมการสมาคม ฯ และชมรมศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดสุโขทัย นำโดย ดร.ถวิล น้อยเขียว ประธานชมรมศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดสุโขทัย พร้อมด้วยคณะกรรมการ ฯ เข้ามอบทุนการศึกษาให้แก่นิสิตมหาวิทยาลัยนเรศวร จำนวนทั้งสิ้น 28 ทุน แบ่งเป็น

1. ทุนจากสมาคมนิสิตเก่ามหาวิทยาลัยนเรศวร จำนวน 23 ทุน ๆ ละ 5,000 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 115,000 บาท ซึ่งทุนดังกล่าวมาจากการจัดคอนเสิร์ตคาราบาวของสมาคมนิสิตเก่ามหาวิทยาลัยนเรศวร เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2565 โดยเปิดรับสมัครนิสิตที่ขาดแคลนทุนทรัพย์แต่เรียนดี จากทุกคณะ ทุกชั้นปี เพื่อเข้าสู่กระบวนการสัมภาษณ์และคัดเลือก จากสมาคมนิสิตเก่ามหาวิทยาลัยนเรศวร

2. ทุนชมรมศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดสุโขทัย จำนวน 5 ทุน ๆ ละ 2,000 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 10,000 บาท ซึ่งทุนดังกล่าวมาจากการจัดการแข่งขันวิ่ง NU ST RUN 2023 เมื่อวันอาทิตย์ที่ 29 มกราคม 2566 ณ อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย จังหวัดสุโขทัย โดยการคัดเลือกจากคณะกรรมการกลางสอบสัมภาษณ์นิสิตทุนการศึกษามหาวิทยาลัยนเรศวร ในระหว่าง 7 – 9 สิงหาคม 2566 ที่ผ่านมา

ทั้งนี้ ได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.ศรินทร์ทิพย์ แทนธานี รักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยนเรศวร เข้าร่วมเป็นประธานในพิธี พร้อมด้วย ดร.จรัสดาว คงเมือง รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนานิสิต ศิษย์เก่า และศิลปวัฒนธรรม ณ ห้องประชุมสุพรรณกัลยา 3 ชั้น 3 สำนักงานอธิการบดี

ขอเชิญชวนผู้มีจิตศรัทธาร่วมบริจาคเงินสมทบเข้ากองทุนการศึกษาเพื่อนิสิตมหาวิทยาลัยนเรศวร

**ผู้บริจาคขอหักลดหย่อนภาษีประจำปีได้ 2 เท่า**

สามารถดาวโหลดแบบฟอร์มการบริจาคได้ที่ bit.ly/3F2r0XC กองทุนการศึกษาเพื่อนิสิตมหาวิทยาลัยนเรศวร

งานบริการสวัสดิการนิสิต กองกิจการนิสิต มหาวิทยาลัยนเรศวร ได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบดูแลการจัดสรรทุนการศึกษาให้แก่นิสิตที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ เพื่อช่วยเหลือ บรรเทาความเดือดร้อน ให้สามารถใช้ชีวิต ในมหาวิทยาลัยได้อย่างมีความสุขและสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร รวมถึงการจัดหาแหล่งทุนการศึกษาให้กับนิสิต ควบคุมการเบิกจ่ายเงินทุนการศึกษา พร้อมทั้งให้คำปรึกษาด้านทุนการศึกษาแก่นิสิต และติดตามประเมินผลการศึกษานิสิตที่ได้รับทุนการศึกษาอย่างต่อเนื่อง

ติดต่อเพื่อบริจาคทุนการศึกษาได้ที่
กองกิจการนิสิต สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยนเรศวร 99 หมู่9 ตำบลท่าโพธิ์ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก 65000 งานบริการสวัสดิการนิสิต โทร. 0-5596-1216, 1211 งานศิษย์เก่าสัมพันธ์ โทร. 0-5596-1225

ที่มา: งานศิษย์เก่าสัมพันธ์ กองกิจการนิสิต มหาวิทยาลัยนเรศวร

ม.นเรศวร จัดโครงการทำสัญญากู้ยืม กยศ. ปี 2566 เสริมโอกาสการศึกษาที่เท่าเทียม

ในวันที่ 13 – 14 สิงหาคม 2566 กองบริการการศึกษาได้จัดโครงการจัดทำสัญญากู้ยืมเงินจากกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ปีการศึกษา 2566 ณ ห้อง 43 และ 63 ชั้น 3 อาคารปราบไตรจักร 1 มหาวิทยาลัยนเรศวร เพื่อให้การสนับสนุนทางการเงินแก่ผู้ที่ต้องการการศึกษาแต่ขาดแคลนทุนทรัพย์ จำนวนกว่า 3,000 คน

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่นิสิตในการลงทะเบียนและทำสัญญากู้ยืมเงินจากกองทุน กยศ. โดยโครงการนี้มุ่งหวังให้ทุกคนไม่ว่าจะมาจากพื้นฐานทางเศรษฐกิจใด สามารถเข้าถึงโอกาสทางการศึกษาได้อย่างเท่าเทียม โดยเฉพาะนิสิตที่มีความจำเป็นต้องใช้เงินทุนในการเรียนต่อระดับอุดมศึกษา

การจัดโครงการนี้ไม่เพียงแต่ช่วยลดอุปสรรคด้านการเงินในการศึกษาของนิสิต แต่ยังช่วยส่งเสริมการเข้าถึงโอกาสทางการศึกษาสำหรับทุกคนอย่างเท่าเทียม ซึ่งสอดคล้องกับ SDG 4 ที่มุ่งหวังให้ทุกคนสามารถเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ และยังสอดคล้องกับ SDG 1 ที่มุ่งลดความยากจนและความไม่เท่าเทียมกันในสังคม

การดำเนินงานในโครงการนี้แสดงถึงความมุ่งมั่นของมหาวิทยาลัยนเรศวรในการส่งเสริมการศึกษาที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ โดยไม่คำนึงถึงสถานะทางการเงิน เป็นการสร้างโอกาสให้กับนิสิตในการศึกษาต่อเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต และเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่ตลาดงานที่มีคุณภาพในอนาคต

มหาวิทยาลัยนเรศวรยังคงมุ่งมั่นในการสนับสนุนโอกาสทางการศึกษาที่เท่าเทียมและการพัฒนาอย่างยั่งยืนในทุกด้าน โดยการดำเนินงานตามเป้าหมาย SDG 1 และ SDG 4 เพื่อเสริมสร้างโอกาสทางการศึกษาสำหรับนิสิตและพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดียิ่งขึ้นในอนาคต

ม.นเรศวร จัดอบรมส่งเสริมทักษะประกอบอาชีพอิสระ สนับสนุนด้านการศึกษา การทำงานที่ดี และความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2566, กองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยนเรศวร จัดกิจกรรม ส่งเสริมทักษะอาชีพอิสระ ภายใต้โครงการ ส่งเสริมทักษะอาชีพ โดยมุ่งหวังให้นิสิตได้เรียนรู้ทักษะและวิธีการประกอบอาชีพอิสระที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในอนาคตได้อย่างยั่งยืน กิจกรรมนี้จัดขึ้น ณ ศูนย์สุขภาวะนิสิต กองกิจการนิสิต อาคารขวัญเมือง โดยได้รับการสนับสนุนจาก นางนิพัทธ์ เกษาพร ผู้อำนวยการกองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม และมีการจัดอบรมให้ความรู้จากวิทยากรผู้เชี่ยวชาญในแต่ละด้าน รวมถึง นางสาววรรณชลี กุลศรีไชย, นายวชิรพงษ์ วงศ์ประสิทธิ์, และ นางสาวเยาวทัศน์ อรรถาชิต.

กิจกรรมนี้จัดขึ้นเพื่อ ส่งเสริมการศึกษาที่มีคุณภาพ (SDG 4) และ การส่งเสริมการมีงานทำที่ยั่งยืนและการเติบโตทางเศรษฐกิจ (SDG 8) ผ่านการเรียนรู้ทักษะต่าง ๆ ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันและการประกอบอาชีพในอนาคต โดยกิจกรรมหลักประกอบด้วยการสอน การทำพวงกุญแจปลา และ พวงกุญแจจากเศษผ้า, การทำกระเป๋าใส่เหรียญสตางค์ และ กระเป๋าใส่โทรศัพท์, รวมไปถึง การทำสายคล้องแมสจากผ้า.

กิจกรรมเหล่านี้ไม่ได้เพียงแต่ให้ทักษะในการทำงานฝีมือ แต่ยังช่วยเสริมสร้าง ทักษะทางอาชีพ ที่สามารถนำไปต่อยอดและสร้างธุรกิจส่วนตัวได้ในอนาคต นอกจากนี้ยังเป็นการส่งเสริมให้ นิสิตมีความคิดสร้างสรรค์ และสามารถคิดค้นนวัตกรรมในงานฝีมือเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มในด้านต่าง ๆ เช่น การสร้างผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมโดยการใช้ วัสดุเหลือใช้ เช่น ผ้าเก่ามาทำเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ ซึ่งสะท้อนถึงการใช้ทรัพยากรอย่าง มีประสิทธิภาพและยั่งยืน.

กิจกรรมนี้ช่วยเสริมสร้างทักษะการประกอบอาชีพที่สามารถพัฒนาเป็น ธุรกิจอิสระ ในอนาคตได้ เป็นการสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืน (SDG 8) การเรียนรู้การทำผลิตภัณฑ์ที่มีความต้องการในตลาด เช่น พวงกุญแจและกระเป๋าผ้า, และการสร้างสายคล้องแมสที่เป็นที่นิยมในช่วงการระบาดของโรค ซึ่งสามารถขายได้ในตลาดท้องถิ่นและขยายไปยังออนไลน์ ช่วยส่งเสริมการสร้าง งานที่ยั่งยืน และการเสริมสร้าง เศรษฐกิจชุมชน โดยเฉพาะในกลุ่มนิสิตที่สามารถนำทักษะที่เรียนรู้ไปพัฒนาเป็นแหล่งรายได้เสริมได้.

การสร้างความร่วมมือและเครือข่าย (SDG 17): การจัดกิจกรรมในครั้งนี้ยังเป็นการ สร้างเครือข่ายความร่วมมือ ระหว่าง กองกิจการนิสิต, คณาจารย์, และ นิสิต เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้และพัฒนาทักษะอาชีพอิสระ ตลอดจนการสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจในชุมชน มหาวิทยาลัยนเรศวรยังให้ความสำคัญในการเชื่อมโยงความรู้จาก สถาบันการศึกษา ไปยัง ชุมชนท้องถิ่น เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนและการสร้างความร่วมมือที่มีผลในระยะยาว.

การจัดกิจกรรมนี้สะท้อนให้เห็นถึงการส่งเสริมการศึกษาและพัฒนาทักษะที่มีคุณภาพผ่านการเรียนรู้จากการทำงานจริง อีกทั้งยังมีส่วนในการสร้าง เศรษฐกิจที่ยั่งยืน ผ่านการประกอบอาชีพอิสระจากการใช้วัสดุท้องถิ่นและสิ่งของที่ใช้แล้ว ซึ่งสามารถเป็นแนวทางในการสร้างธุรกิจที่มีความยั่งยืนทั้งในด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ.

ที่มา: กองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยนเรศวร

Sustainability

NARESUAN UNIVERSITY

Solverwp- WordPress Theme and Plugin