สภานิสิต ม.นเรศวร ประกาศและแสดงจุดยืน “ไม่สนับสนุนกิจกรรม ระบบโซตัส”

สภานิสิตขอประกาศและแสดงจุดยืน “ไม่สนับสนุนกิจกรรม ระบบโซตัส” ยกเลิกกิจกรรมห้องเชียร์มติตั้งแต่ปีการศึกษา2564 เป็นต้นไป และไม่สนับสนุนกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับระบบโซตัส(SOTUS) ทั้งกิจกรรมที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนของมวลนิสิตในรูปแบบต่างๆ

อ้างตาม : มติจากการประชุมร่วมกันระหว่างสภานิสิต องค์การนิสิต และสโมสรนิสิตคณะ/วิทยาลัย และเสนอเข้าเพื่อทราบในที่ประชุมคณะกรรมการกิจการนิสิต ครั้งที่ 1/2564

โดยก่อนหน้านี้มีหน่วยงาน/องค์กรทางการศึกษาทยอยประกาศ ยกเลิกโซตัส รวมทั้งกิจกรรมที่เข้าข่ายการละเมิดสิทธิมนุษยชน อย่างต่อเนื่อง โดยก่อนหน้าที่มีองค์การบริหาร องค์การนิสิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน (อบ.ก.), องค์การนักศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น, องค์การนิสิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (มมส) ที่ประกาศออกมาแล้ว

และล่าสุด เมื่อวันที่ 12 มิถุนายนที่ผ่านมา สภานิสิต มหาวิทยาลัยนเรศวร (มน.) เป็นหน่วยงานล่าสุดที่ออกมาระบุว่า สภานิสิตขอประกาศและแสดงจุดยืน ยกเลิกกิจกรรมห้องเชียร์ มติตั้งแต่ปีการศึกษา 2564 เป็นต้นไป และไม่สนับสนุนกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับระบบโซตัส (SOTUS) ทั้งกิจกรรมที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนของมวลนิสิตในรูปแบบต่างๆ

ที่มา: Matichon Online

การแต่งกายชุดนิสิตตามเพศสภาพคือการแสดงออกถึงเสรีภาพและความเสมอภาคขั้นพื้นฐาน

“การแต่งกายชุดนิสิตตามเพศสภาพคือการแสดงออกถึงเสรีภาพ
และความเสมอภาคขั้นพื้นฐานที่เราควรเคารพและเห็นคุณค่า
ของความหลากหลายที่สวยงาม ”

อาจารย์ต๊อก

ดร.จรัสดาว คงเมือง
รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนานิสิต ศิษย์เก่าและศิลปวัฒนธรรม

ม.นเรศวร หนุนความหลากหลายทาง “ทางม้าลายสายรุ้ง”

วันที่ 9 มิถุนายน 2565 เดือนที่ถูกเลือกให้เป็นเดือนแห่งการเฉลิมฉลองเพื่อความเท่าเทียมของกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ ซึ่งถูกเรียกกันว่า “Pride Month” ทำให้ทางมหาวิทยาลัยนเรศวร (มน.) ที่ จ.พิษณุโลก จัดกิจกรรมทาสีทางม้าลายสายรุ้ง (Rainbow Crossing) จะอยู่บริเวณหน้าอาคารขวัญเมือง ซึ่งเป็นหอพักนิสิต

รศ.ดร.ศรินทร์ทิพย์ แทนธานี รักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยนเรศวรรศ.ดร.ศรินทร์ทิพย์ แทนธานี รักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยนเรศวร

รศ.ดร.ศรินทร์ทิพย์ แทนธานี รักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยนเรศวร เผยว่า ปัจจุบันนี้โลกยอมรับความแตกต่างและให้ความเท่าเทียม ไม่ว่าเราจะเป็นคนในกลุ่มไหน ถ้ามาอยู่ใน มน. เราเท่าเทียมกันทุกอย่างไม่ว่า คณาจารย์ หรือนิสิต จะเป็นคนในกลุ่มไหนก็ตาม จะไม่ได้มีความแตกต่างกันแต่อย่างใดในรั้วของมหาวิทยาลัยนเรศวร

ทางม้าลายสายรุ้ง มหาวิทยาลัยนเรศวรทางม้าลายสายรุ้ง มหาวิทยาลัยนเรศวร

สำหรับมุมมองที่มีต่อ LGBTQ ไม่ได้คิดว่ามันต่าง ทุกคนเหมือนกัน ไม่ได้เห็นว่าเป็นเรื่องผิดปกติ หรือเป็นเรื่องแตกต่าง หรือถูกกีดกัน จะให้ความเคารพในสิทธิของทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน มหาวิทยาลัยนเรศวรเรายอมรับความแตกต่างของคนในทุกเพศ ยอมรับความต้องการของบุคคลทุกคน ถือว่าเท่าเทียมกันหมด

ในส่วนของการทำทางม้าลายสายรุ้งนี้จะเป็นเป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งที่สะท้อนให้เห็นว่า มน. มีจุดยืนชัดเจนในเรื่องของการยอมรับความเท่าเทียม โดยหลังจากนี้จะจัดกิจกรรมเปิดโอกาสให้นิสิต LGBTQ ได้มีเวทีในการแสดงออกต่อไปในช่วงเปิดเทอม การสร้างความเป็นพลโลก หรือ Global Citizenship ถือเป็นประเด็นที่ได้รับความสนใจอย่างกว้างขวางในระดับนานาชาติ

ทางม้าลายสายรุ้ง กิจกรรม Pride Month สนับสนุนความเท่าเทียมทางเพศทางม้าลายสายรุ้ง กิจกรรม Pride Month สนับสนุนความเท่าเทียมทางเพศ

เพราะปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในโลกเรานี้มีความเชื่อมโยงซึ่งกันและกัน และส่งผลต่อการใช้ชีวิตของมนุษย์ ในฐานะรองอธิการบดีฝ่ายพัฒนานิสิต ศิษย์เก่า และศิลปวัฒนธรรม ก็พยายามผลักดันผ่านกระบวนการต่าง ๆ ที่เป็นกิจกรรมเสริมหลักสูตร ซึ่งเราให้ความสำคัญเกี่ยวกับเป้าหมายของการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDG)

โดยพยายามผลักดันหรือสอดแทรกเข้าไปกับการใช้ชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัยแห่งนี้ ให้การเคารพและเห็นคุณค่าของความหลากหลายและความแตกต่าง ซึ่งความหลากหลายนี้เรามองในหลาย ๆ มิติ ความหลากหลายทางเพศ (LGBTQ) ก็เป็นหนึ่งในมิติที่ทางมหาวิทยาลัยให้ความสำคัญ

ทางม้าลายสายรุ้ง มน. หน้าหอพักนิสิตอาคารขวัญเมือง

ที่มา: springnews

ม.นเรศวร ไฟเขียวให้นิสิตแต่งเครื่องแบบตามเพศสภาพ นักวิชาการชี้ เป็นความก้าวหน้า

เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่ข้อบังคับมหาวิทยาลัยนเรศวร ว่าด้วยเครื่องแต่งกายของนิสิตขั้นปริญญาตรี โดยกำหนดเครื่องแต่งกายของนิสิตขั้นปริญญาตรีให้สอดคล้องกับสภาพการณ์ปัจจุบัน สามารถแต่งกายตาม ‘เพศสภาพ’ ได้ มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา นั่นคือตั้งแต่วันที่ 17 ธันวาคม 2561 เป็นต้นไป ลงนามโดย ศาสตราจารย์ นายแพทย์กระแส ชนะวงศ์ นายกสภามหาวิทยาลัย

ขณะที่ เคท ครั้งพิบูลย์ อาจารย์ประจำคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แสดงความคิดเห็นต่อกรณีนี้ว่า จากประกาศนี้นับได้ว่าเป็นความก้าวหน้าในการทำความเข้าใจเรื่องเพศสภาพของนิสิตที่มีการแสดงออกตัวตนทางเพศภาวะมากขึ้น และสิ่งนี้จะช่วยทำให้ส่งเสริมความเสมอภาคทางเพศ ซึ่งสอดคล้องกับ พ.ร.บ. ความเท่าเทียมทางเพศ และหลักสากลในเรื่องอัตลักษณ์ทางเพศ และเพศวิถีที่ทั่วโลกขับเคลื่อนเพื่อให้เกิดความเท่าเทียม

ที่มา: หนังสือพิมพ์ THE STANDARD

Sustainability

NARESUAN UNIVERSITY

Solverwp- WordPress Theme and Plugin