ม.นเรศวร ลงพื้นที่ Coaching ผู้ประกอบการฯ

Nu SciPark พร้อมที่ปรึกษาและผู้เชี่ยวชาญ ลงพื้นที่ Coaching ผู้ประกอบการของ บริษัท โกโก้ไทย โปรดักส์ จำกัด ณ โรงงานโกโก้ไทย โปรดักส์ ตำบลกุดนกเปล้า อำเภอเมือง จังหวัดสระบุรี

วันที่ 14-15 สิงหาคม 2566 งานบ่มเพาะเทคโนโลยีและนวัตกรรม อุทยานวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร นำทีมที่ปรึกษาและผู้เชี่ยวชาญของโครงการ แผนงานพัฒนากระบวนการวิจัยของผู้ประกอบการ (Industrial Research and Development Capability Building – IRD Cap Building) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

กิจกรรมที่ 1 แก้ไขปัญหาที่พบเจอ โดย รศ.ดร.มณฑนา วีระวัฒนากร (ที่ปรึกษาโครงการ) ภาควิชาอุตสาหกรรมเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนเรศวร

กิจกรรมที่ 2 Technology Forcasting โดย ผศ.ดร.รัตนา การุญบุญญานันท์ (ผู้เชี่ยวชาญ) ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

แผนงานนี้ส่งเสริมให้มีการนำองค์ความรู้ ประสบการณ์และความเชี่ยวชาญด้านการวิจัยจากมหาวิทยาลัยและอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค มาใช้ยกระดับการวิจัยและพัฒนาของภาคอุตสาหกรรม เพื่อให้ผู้ประกอบการมีความพร้อมและความสามารถในการจัดตั้งหรือพัฒนาปรับปรุงหน่วยวิจัยและพัฒนา (R&D Unit) ในสถานประกอบการ ตลอดจนพัฒนาให้ผู้ประกอบการในท้องถิ่นสามารถนำภูมิปัญญามาผสมผสานกับเทคโนโลยีนวัตกรรมสมัยใหม่ อันเป็นการกระตุ้นการลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาในอนาคตต่อไป

ที่มา: อุทยานวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร

ม.นเรศวร โชว์งานวิจัยในงานเกษตรนเรศวรเอ็กซ์โป 2023

เมื่อวันที่ 3-9 กรกฎาคม 2566 คณะวิศวกรรมศาสตร์ เข้าร่วมจัดกิจกรรมและนิทรรศการ งานเกษตรนเรศวรเอ็กซ์โป 2023 (Naresuan Agriculture Innovation Expo2023) ภายใต้หัวข้อ “บูรณาการนวัตกรรมเกษตรยั่งยืน” (Sustainable Integrated Innovation Agriculture) ณ อาคารศูนย์แสดงนิทรรศการและการจัดประชุมนานาชาติสมเด็จพระนเรศวรมหาราช มหาวิทยาลัยนเรศวร

ที่มา: คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

ม.นเรศวร คว้ารางวัลนานาชาติ หนุนนวัตกรรมยั่งยืน ตอกย้ำบทบาทด้านการวิจัยสู่เวทีโลก

มหาวิทยาลัยนเรศวร (ม.นเรศวร) ยืนหยัดในการสนับสนุนการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยเฉพาะเป้าหมาย SDG 9 ที่มุ่งเน้นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การส่งเสริมนวัตกรรม และการพัฒนาอุตสาหกรรมที่ยั่งยืน ล่าสุด ม.นเรศวร ได้สร้างชื่อเสียงระดับโลกผ่านความสำเร็จของนักวิจัยที่คว้ารางวัลจากเวที The 16th International Invention and Innovation Show (INTARG 2023) ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 24-25 พฤษภาคม 2566 ณ เมืองคาโตไวซ์ ประเทศโปแลนด์

ผลงานและรางวัลที่ได้รับ

  1. เหรียญทอง (Gold Medal) และรางวัลพิเศษจาก WIIPA
    • ผลงานวิจัย: HERBAL CREAM FOR ANTI-INFLAMMATORY AND SWELLING REDUCTION AFTER FACIAL LASER TREATMENT
    • ทีมวิจัยนำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.เภสัชกร เนติ วระนุช ร่วมกับ ศาสตราจารย์ ดร.กรกนก อิงคนินันท์ และ ดร.อิทธิพล ศิริเดชากร คณะเภสัชศาสตร์ ม.นเรศวร ผลงานนี้เน้นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ครีมสมุนไพรที่ช่วยลดการอักเสบและบวมหลังการทำเลเซอร์หน้า
  2. เหรียญทองแดง (Bronze Medal)
    • ผลงานวิจัย: (Musa AA (Kluai Khai) Fruit Pulp Plus Hemp Seed Oil Chewable Tablets for Skin Photoaging Prevention)
    • ทีมวิจัยนำโดย ศาสตราจารย์ ดร.จารุภา วิโยชน์ พร้อมด้วยนายฉัตรณรงค์ พุฒทอง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.คงอภิสิทธ์ ทองพูนสมจิตถ์ นายอัครพงษ์ เครือจันทร์ และนายฟรังซัวส์ กรังโมต์เต ผลงานนี้มุ่งเน้นการพัฒนาเม็ดเคี้ยวที่ผสมผสานกล้วยไข่และน้ำมันเมล็ดกัญชงเพื่อป้องกันปัญหาผิวจากการถูกทำลายโดยแสงแดด

ความสำเร็จของนักวิจัย ม.นเรศวรในเวทีระดับโลกสะท้อนถึงความมุ่งมั่นในการพัฒนางานวิจัยที่สร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสังคม ตอบโจทย์ทั้งด้านวิทยาศาสตร์และอุตสาหกรรม อีกทั้งยังเป็นการเสริมสร้างชื่อเสียงของประเทศไทยในเวทีนานาชาติ พร้อมขับเคลื่อนการพัฒนานวัตกรรมที่ยั่งยืนตามเป้าหมาย SDG 9

มหาวิทยาลัยนเรศวรยังคงมุ่งมั่นในการสนับสนุนนักวิจัยและงานวิจัยที่สามารถตอบสนองต่อความท้าทายระดับโลก พร้อมเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน

ถ่ายทอดผลงานวิจัย มหาวิทยาลัยนเรศวร เพื่อปรับสูตรธุรกิจรับเทรนด์สุขภาพ

เคซีจี คอร์ปอเรชั่น” หรือที่คนไทยมักรู้จักในฐานะผู้ผลิตอิมพีเรียลบัตเตอร์คุกกี้ คุกกี้กล่องแดงขนมยอดฮิตในช่วง
ปีใหม่ รวมถึงผู้ผลิตเนย-ชีส แบรนด์อลาวรี่เป็นหนึ่งในผู้ประกอบการเก่าแก่อายุมากกว่า 6 ทศวรรษ ที่ลุกขึ้นมาปรับตัวรับมือกับความเปลี่ยนแปลงของยุคสมัยไม่ว่าจะเป็นเทรนด์สุขภาพ และสภาพเศรษฐกิจ ต้นทุน ค่าพลังงาน – วัตถุดิบที่พุ่งสูง โดยผลิตภัณฑ์แดรี่จะเป็นกลุ่มที่มีความเปลี่ยนแปลงเด่นชัดและเยอะที่สุด

เนื่องจากเป็นสินค้าที่สร้างรายได้ถึง 60% ของรายได้รวม อีกทั้งมีความคล่องตัวในการปรับสูตรต่างๆ จากการมีโรงงานเป็นของตัวเอง รวมถึงบริษัทยังจับมือพันธมิตร เช่น สถานศึกษามาช่วยพัฒนาสูตร โดยล่าสุดอยู่ระหว่างร่วมมือกับมหาวิทยาลัยนเรศวร

ที่มา: กองการถ่ายทอดเทคโนโลยีและบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญา มหาวิทยาลัยนเรศวร

ม.นเรศวร ขยายพันธุ์ทุเรียนด้วยเทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ หนุนเกษตรกรสร้างรายได้

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดย ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ได้มอบหมายให้กลุ่มสารนิเทศและประชาสัมพันธ์ นำสื่อมวลชนเยี่ยมชมโครงการวิจัยของ “รศ.ดร.พีระศักดิ์ ฉายประสาท” และคณะ แห่งคณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนเรศวร ที่ได้ดำเนินงานวิจัยซึ่งได้รับการสนับสนุนโดย วช. ภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) ในการศึกษาการขยายพันธุ์ทุเรียนในสภาพปลอดเชื้อด้วยเทคนิคการเพาะ เลี้ยงเนื้อเยื่อ เพื่อให้ได้ทุเรียนที่มีลักษณะตรงตามสายพันธุ์ 100% สามารถให้ผลผลิตที่มีคุณภาพตามต้นแม่พันธุ์ ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการขยายพันธุ์ทุเรียนในอนาคต และได้คุณภาพด้านรสชาติที่ตรงตามความต้องการผู้บริโภค

รศ.ดร.พีระศักดิ์ ฉายประสาท แห่งคณะเกษตรศาสตร์ฯ มหาวิทยาลัยนเรศวร หัวหน้าโครงการฯ กล่าวว่า คณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนเรศวร ได้รับการสนับสนุนทุนจาก วช. ในการศึกษาวิจัยการขยายพันธุ์ทุเรียนในสภาพปลอดเชื้อด้วยเทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) เพื่อการอนุรักษ์พันธุกรรมทุเรียนหลงลับแล หลินลับแล และพื้นเมืองคุณภาพดีในเขตภาคเหนือตอนล่าง เริ่มจากการคัดเลือกสายพันธุ์ทุเรียนที่มีอัตลักษณ์ในแต่ละพื้นที่ พันธุ์ทุเรียนที่มีศักยภาพทางเศรษฐกิจในอนาคต รวมถึงพันธุ์การค้าที่มีชื่อเสียง โดยทุเรียนที่ทำการทดลองมี 3 สายพันธุ์ ได้แก่ หลงลับแล หลินลับแล และพันธุ์พื้นเมือง และคุณลักษณะทางการเกษตรที่ดีและเป็นที่ต้องการของผู้บริโภค เพื่อนำมาขยายพันธุ์ด้วยเทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช ทำให้สามารถเพิ่มปริมาณได้อย่างทวีคูณ ซึ่งจะส่งผลให้ทุเรียนมีคุณภาพดีสม่ำเสมอ เกษตรผู้ปลูกและผู้ประกอบการได้รับผลตอบแทนเพิ่มขึ้นอีกด้วย

สำหรับประโยชน์ที่เกษตรกรหรือผู้ประกอบการจะได้รับในการขยายพันธุ์ทุเรียนด้วยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ได้แก่ 1. ได้ทุเรียนที่มีลักษณะตรงตามสายพันธุ์ 100% ที่ให้ผลผลิตที่มีคุณภาพตามต้นแม่พันธุ์ เช่น ลักษณะของเนื้อ รสชาติ คงอัตลักษณ์ทุเรียนชนิดนั้น ๆ เป็นต้น 2. สามารถตอบสนองความต้องการของเกษตรกรที่มีความต้องการเพาะปลูกทุเรียนที่มีปริมาณมากในท้องตลาดได้ 3. ส่งเสริมภาคธุรกิจทุเรียนของที่มีอัตลักษณ์ในแต่ละพื้นที่ ให้มีการเติบโตมากขึ้นกว่าเดิม และ 4. สามารถสร้างผลิตผลของทุเรียนได้ตรงตามสายพันธุ์และได้คุณภาพด้านรสชาติที่ตรงตามความต้องการผู้บริโภค

ในโอกาสนี้ คณะนักวิจัยได้นำคณะสื่อมวลชนลงพื้นที่สวนประภาพรรณ ตำบลบ้านแยง อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก เพื่อเยี่ยมผลผลิตที่ได้จากโครงการฯ โดยมี คุณเนาวรัตน์ มะลิวรรณ เกษตรกรเจ้าของสวนฯ ให้การต้อนรับและให้ความรู้เกี่ยวกับทุเรียนแก่คณะสื่อมวลชนอีกด้วย

คุณเนาวรัตน์ มะลิวรรณ เจ้าของสวนประภาพรรณ เปิดเผยว่า ในนามของสวนประภาพรรณ ต้องขอขอบคุณทาง วช. และ รศ.ดร.พีระศักดิ์ ฉายประสาท แห่งมหาวิทยาลัยนเรศวร ที่ได้นำองค์ความรู้จากงานวิจัยมาถ่ายทอดให้กับเกษตรกร ถือว่าเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง ซึ่งงานวิจัยจาก ม.นเรศวร ได้มีส่วนช่วยให้การทำสวนทุเรียนประสบความสำเร็จ มีผลผลิตที่ดีขึ้น และสวนประภาพรรณจะเป็นต้นแบบให้กับสวนทุเรียนบริเวณใกล้เคียงได้มาศึกษาความสำเร็จจากการทำสวนทุเรียนตามแนวทางการวิจัยต่อไป

ที่มา: กองการวิจัยและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยนเรศวร

มหาวิทยาลัยนเรศวร คว้า 4 รางวัล จาก 2 ผลงาน. เวทีระดับนานาชาติ

มหาวิทยาลัยนเรศวร คว้า 4 รางวัล จาก 2 ผลงาน เวทีระดับนานาชาติ จากผลงานของ รองศาสตราจารย์ ดร. ขนิษฐา รุตรัตนมงคลคณะเกษตรศาสตร์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนเรศวร

  • รางวัล Bronze Medal Salon International Des Inventions Genève และ 2023 Prize of the Hong Kong Delegation
  • ผลงานวิจัย “I-Sec Technology: Automated Edible Insect Protein Process”
  • รางวัล Bronze Medal Salon International Des Inventions Genève และ Special Prize from Korean Invention Promotion Association (KIPA)
  • ผลงานวิจัย “Innovative Continuous short wave light in Continuous Flow system to enhance CBD & bioactive compound extraction from”

จากการประกวดประดิษฐกรรมและนวัตกรรมงาน “The 48th International Exhibition of Inventions Geneva”
ที่มา: กองการวิจัยและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยวิทยาลัยนเรศวร

ม.นเรศวร จัดการประชุมวิชาการระดับชาติ นเรศวรวิจัยและนวัตกรรม ครั้งที่ 19

มหาวิทยาลัยนเรศวรเป็นเวทีสำคัญในการเผยแพร่ผลงานวิจัยระดับชาติที่มุ่งเน้นการพัฒนาเชิงพาณิชย์และการนำผลวิจัยไปประยุกต์ใช้ในภาคการแพทย์และอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG 9) โดยมีการจัดการประชุมวิชาการระดับชาติ “นเรศวรวิจัยและนวัตกรรม ครั้งที่ 19” (Research and Innovation: Wisdom for Entrepreneurial Society & Internationalization) ในวันที่ 24-25 กรกฎาคม 2566 ที่ศูนย์แสดงนิทรรศการและการจัดประชุมสมเด็จพระนเรศวรมหาราช มหาวิทยาลัยนเรศวร

งานนี้เปิดโอกาสให้ทั้งอาจารย์ นักวิจัย นิสิต/นักศึกษา และผู้สนใจได้มีส่วนร่วมในการนำเสนอผลงานวิจัย โดยการนำเสนอผลงานจะมีทั้งรูปแบบการบรรยาย (Oral Presentation) และรูปแบบการนำเสนอแบบโปสเตอร์ (Poster Presentation) ใน 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

การจัดงานครั้งนี้ไม่เพียงแต่ช่วยเผยแพร่ผลงานวิจัย แต่ยังเป็นการต่อยอดการวิจัยสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการในภาคอุตสาหกรรมและการแพทย์ เพื่อสร้างความเชื่อมโยงระหว่างการศึกษาและการใช้งานจริงที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการของสังคมและเศรษฐกิจได้อย่างยั่งยืน

เปิดรับผลงานตั้งแต่บัดนี้จนถึง 31 พฤษภาคม 2566 โดยสามารถลงทะเบียนและดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ผ่านเว็บไซต์มหาวิทยาลัยนเรศวร

อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร จัดเวทีการนำเสนอโครงการย่อยออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น ประจำปี 2566

วันที่ 21 เมษายน 2566 อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร จัดเวทีการนำเสนอโครงการย่อยออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น ประจำปี 2566 เพื่อให้นิสิตได้นำเสนอแผนการดำเนินงาน การพัฒนาศักยภาพของกลุ่มชุมชน ให้สามารถเข้าสู่ตลาดเพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน อันนำไปสู่การสร้างความมั่นคงของรากฐานสังคมจากพื้นฐานความเข้าใจของคนรุ่นใหม่ ณ ห้อง EN617 ชั้น 6 อาคารเรียนรวม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

ได้รับเกียรติจาก คุณณัฐวุฒิ ธรรมตานนท์ รองผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาธุรกิจผู้ประกอบการรายย่อยและองค์กรชุมชน, คุณศราวุธ วัดเวียงคำ ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาธุรกิจผู้ประกอบการรายย่อยและองค์กรชุมชน, คุณดำหลิ ตันเหยี่ยน ผู้ช่วยผู้อำนวยการธนาคารออมสินภาค 7 หน่วยพัฒนาสังคมและชุมชน และดร.ปัญญวัณ ลำเพาพงศ์ รองหัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล มหาวิทยาลัยนเรศวร ร่วมรับฟังและเป็นกรรมการพิจารณาการนำเสนอ ให้คำแนะนำและข้อเสนอแนะให้แก่นิสิตในครั้งนี้

โดยมีทีมนักศึกษาเข้าร่วมนำเสนอ จำนวน 5 ทีม ได้แก่
1. กำปั้นยายเชียง วิสาหกิจชุมชนปลูกและแปรรูปสมุนไพรทับยายเชียง (โฮมสเตย์/ท่องเที่ยวชุมชน)
2. พายใจไปล่องแก่งซอง กลุ่มแม่บ้านน้ำตกแก่งซอง (โฮมสเตย์/ท่องเที่ยวชุมชน)
3. PolSci Connect กลุ่มชุมชนท่องเที่ยวบ่อเกลือพันปี (โฮมสเตย์/ท่องเที่ยวชุมชน)
4. NU Sweethearts วิสาหกิจชุมชนแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรบ้านท่าชัย (ผลิตภัณฑ์กล้วยกวนหวาน)
5. SD ยุวพัฒน์ @NU กลุ่มซากุระญี่ปุ่นบ้านร่องกล้า (ผลิตภัณฑ์กิมจิ)

ที่มา: อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

ม.นเรศวร ร่วมผนึกกำลังพัฒนาแผนเศรษฐกิจภูมิภาค ต่อยอดความร่วมมือภาคเอกชน สู่อนาคตที่ยั่งยืน พ.ศ. 2566-2570

ในวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2566 อุทยานวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร (NU SciPark) นำทีมโดย ดร.สราวุธ สัตยากวี รักษาการในตำแหน่งรองผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ พร้อมด้วยคณะกรรมการร่วมภาคเอกชนจาก 3 สถาบัน (กกร.) กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง ได้จัดการประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน สถาบัน (กกร.) กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง ครั้งที่ 1/2566 เพื่อร่วมกันระดมความคิดเห็นและวางแนวทางในการพัฒนาเศรษฐกิจภาคเอกชนในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง ในช่วงปีงบประมาณ พ.ศ. 2566-2570

การประชุมครั้งนี้จัดขึ้น ณ โรงแรมแกรนด์วิษณุ จังหวัดนครสวรรค์ โดยอุทยานวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวรได้รับมอบหมายให้ดำเนินการวิเคราะห์และจัดทำ “แผนพัฒนาเศรษฐกิจภาคเอกชนระดับภูมิภาค พ.ศ. 2566 – 2570 ระยะที่ 2” ซึ่งเป็นแผนยุทธศาสตร์สำคัญในการส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืนในภูมิภาค พร้อมทั้งเชื่อมโยงภารกิจของภาคเอกชนให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาต่าง ๆ ในพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพ โดยการมุ่งเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจในระดับภูมิภาคให้มีความยั่งยืนในระยะยาว

แผนพัฒนาเศรษฐกิจภาคเอกชนในภูมิภาคภาคเหนือตอนล่างนี้เป็นการเน้นการใช้ศักยภาพของทุกภาคส่วน โดยเฉพาะภาคเอกชนในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในพื้นที่ให้เติบโตอย่างยั่งยืน การพัฒนาเศรษฐกิจที่ยั่งยืนนี้มีเป้าหมายในการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในภูมิภาค ลดช่องว่างทางเศรษฐกิจและส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นสำหรับชุมชนท้องถิ่น การใช้ศักยภาพของภาคเอกชนในการสร้างการเติบโตในระยะยาวจะช่วยลดอัตราความยากจนและเพิ่มโอกาสในการสร้างรายได้ในภูมิภาค ซึ่งสอดคล้องกับ SDG 1: การขจัดความยากจน โดยการเสริมสร้างเศรษฐกิจที่มั่นคงและยั่งยืน

การวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจในระดับภูมิภาคจึงไม่ได้มุ่งเน้นเพียงแค่การส่งเสริมการลงทุนเท่านั้น แต่ยังเป็นการสร้างโอกาสการจ้างงาน การเสริมสร้างอาชีพ และการพัฒนาทักษะของประชาชนในพื้นที่ เพื่อให้ประชาชนสามารถมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ทั้งในด้านการศึกษา การพัฒนาอาชีพ และการเข้าถึงโอกาสทางเศรษฐกิจที่เท่าเทียม

การประชุมครั้งนี้มีการเน้นย้ำถึงความสำคัญของการสนับสนุนการลงทุนใน เทคโนโลยี และ นวัตกรรม เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของภูมิภาค การพัฒนานวัตกรรมในภาคธุรกิจท้องถิ่น โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมที่มีความต้องการในท้องถิ่น เช่น การเกษตรกรรม การผลิตสินค้า OTOP และการท่องเที่ยว จะช่วยเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจและสร้างความมั่นคงทางรายได้ให้กับชุมชน

การสนับสนุนเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและสามารถใช้ทรัพยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพ จะช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและทำให้การผลิตสินค้าหรือบริการมีความยั่งยืน โดยเฉพาะการใช้เทคโนโลยีการเกษตรที่ยั่งยืน หรือการพัฒนาอุตสาหกรรมที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ซึ่งถือเป็นการสนับสนุน SDG 9: อุตสาหกรรม นวัตกรรม และโครงสร้างพื้นฐาน โดยการเสริมสร้างโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมในภูมิภาคจะเป็นการสร้างฐานทางเศรษฐกิจที่มั่นคงในระยะยาว

อุทยานวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร (NU SciPark) ได้รับการสนับสนุนจากทีมที่ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญจากหลายคณะของมหาวิทยาลัยนเรศวร ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการวิเคราะห์ข้อมูลและวางแนวทางการพัฒนาแผนเศรษฐกิจที่เชื่อมโยงกับการพัฒนาทักษะในระดับท้องถิ่น โดยการนำองค์ความรู้ทางวิชาการและเทคโนโลยีจากมหาวิทยาลัยมาสนับสนุนการพัฒนาชุมชน ซึ่งไม่เพียงแต่เป็นการเสริมสร้างเศรษฐกิจ แต่ยังเสริมสร้าง SDG 4: การศึกษาที่มีคุณภาพ ด้วยการพัฒนาทักษะของบุคลากรในพื้นที่ให้มีความสามารถในการแข่งขันในตลาดแรงงานได้มากขึ้น และช่วยเสริมสร้างโอกาสในการเติบโตในอาชีพต่าง ๆ

การเสริมทักษะการเรียนรู้ในด้านต่าง ๆ เช่น การตลาด การใช้เทคโนโลยี และการบริหารจัดการธุรกิจ จะช่วยให้ประชาชนในท้องถิ่นสามารถเข้าถึงการพัฒนาและโอกาสทางเศรษฐกิจได้อย่างมีคุณภาพและยั่งยืน

แผนพัฒนาเศรษฐกิจนี้ยังมุ่งเน้นการสร้าง การทำงานที่ดีและการเติบโตทางเศรษฐกิจ (SDG 8) โดยการเสริมสร้างโอกาสในการสร้างงานในพื้นที่ รวมถึงการสนับสนุนธุรกิจในท้องถิ่นให้เติบโตและสามารถแข่งขันได้ในระดับภูมิภาคและระดับประเทศ การส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพสูงในภูมิภาค เช่น การท่องเที่ยว การเกษตรกรรม การผลิตสินค้าอุตสาหกรรมขนาดเล็กและขนาดกลาง จะช่วยเพิ่มการจ้างงานและส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะยาว

การสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจที่ดีให้กับประชาชนในภูมิภาคภาคเหนือตอนล่างนี้ จะช่วยให้ประชาชนสามารถมีรายได้ที่มั่นคงและยั่งยืน โดยเฉพาะในกลุ่มภาคเกษตรกรและผู้ประกอบการธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลาง ซึ่งจะช่วยลดความยากจนและเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นในภูมิภาค

การประชุมและการจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจนี้ยังเป็นการส่งเสริม SDG 17: การสร้างพันธมิตรเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยการร่วมมือกันระหว่าง มหาวิทยาลัยนเรศวร, ภาครัฐ, ภาคเอกชน, และ ชุมชนท้องถิ่น ซึ่งมีการบูรณาการความรู้และทรัพยากรจากทุกภาคส่วนเพื่อร่วมกันพัฒนาเศรษฐกิจในภูมิภาค การสร้างพันธมิตรที่แข็งแกร่งระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนจะช่วยให้การพัฒนาที่ยั่งยืนในภูมิภาคภาคเหนือตอนล่างสามารถดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน

ม.นเรศวร นำผลงานวิจัยร่วมจัดเเสดงนิทรรศการในงาน บพข.สร้างสรรค์เศรษฐกิจไทยเชื่อมโลกด้วยวิจัยเเละนวัตกรรมที่ศูนย์ประชุมเเห่งชาติสิริกิติ์

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วันวิสาข์ ตรีบุพชาติสกุล และทีมงาน ได้นำผลงานวิจัย “หลอดเก็บเลือดอินโนเมด” ที่ผ่านการคัดเลือดจาก บพข. เข้าร่วมจัดเเสดงนิทรรศการในงาน บพข.สร้างสรรค์เศรษฐกิจไทยเชื่อมโลกด้วยวิจัยเเละนวัตกรรมที่ศูนย์ประชุมเเห่งชาติสิริกิติ์ เมื่อวันที่ 26-27 เมษายน 2566 ที่ผ่านมา

ที่มา: AHS NU Research Society

Sustainability

NARESUAN UNIVERSITY

Solverwp- WordPress Theme and Plugin