กองกิจการนิสิต มหาวิทยาลัยนเรศวร ร่วมรณรงค์ “วันงดสูบบุหรี่”

กองกิจการนิสิต มหาวิทยาลัยนเรศวร ร่วมรณรงค์วันงดสูบบุหรี่ 31 พฤษภาคม เพื่อสร้างความตระหนักเกี่ยวกับผลกระทบและอันตรายที่เกิดจากบุหรี่และยาสูบ รวมไปถึงควันบุหรี่มือสอง และสามเข้าสู่ร่างกาย ภายใต้คำขวัญวันงดสูบบุหรี่โลก 2564 “เลิกสูบ ลดเสี่ยง คุณทำได้” และนอกจากนั้น ยังร่วมรณรงค์เครือข่ายมหาวิทยาลัยปลอดเหล้าจังหวัดพิษณุโลก เพื่อประชาสัมพันธ์และสร้างความเข้าใจภายใต้โครงการประชาคมลดปัญหาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และปัจจัยเสี่ยง หยุดดื่ม หยุดเสี่ยง เลี่ยงโควิด

ที่มา: กองกิจการนิสิต มหาวิยาลัยนเรศวร

รองอธิการบดี มน. ตรวจเยี่ยมการทำความสะอาด การปิดโรงพยาบาลสนามมหาวิทยาลัยนเรศวร NU Hospitel

เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2564 ศาสตราจารย์ ดร.จิรวัฒน์ พิระสันต์ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยนเรศวร พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ พญ.รสสุคนธ์ คชรัตน์ รองคณบดีฝ่ายการแพทย์ นพ.พิเชษฐ์ วัฒนไพโรจน์รัตน์ รองผู้อำนวยการฝ่ายบริหาร พว.ธงวิไล กันทะสอน รองหัวหน้าฝ่ายการพยาบาลด้านบริหาร พว.อมรรัตน์ สมมิตร รองหัวหน้าฝ่ายการพยาบาลด้านบริการผู้ป่วยใน โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร และ นางศิริวรรณ กมลพัฒนะ ผู้อำนวยการกองกิจการนิสิต ร่วมตรวจเยี่ยมการเช็ดทำความสะอาด บริเวณโถงทางเดินของหอพัก ห้องพักและบริเวณที่มีการสัมผัสบ่อยๆ เช่น สวิตซ์ไฟ ลูกบิดประตู โต๊ะ เก้าอี้ รีโมท ฯลฯ รวมถึงห้องน้ำ ห้องอาบน้ำ ด้วยน้ำยา 0.5% Virkon (Sodium Hypochlorite) พร้อมทั้งมีการอบห้องพักด้วยเครื่องอบโอโซน เป็นเวลา 30 นาทีต่อห้อง ณ โรงพยาบาลสนาม หอพักนิสิต อาคาร 15 มหาวิทยาลัยนเรศวร เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการรับนิสิตที่จะเข้ามาพักอาศัยในปีการศึกษา 2564 ต่อไป

ที่มา: กองกิจการนิสิต มหาวิยาลัยนเรศวร

มอบหน้ากากอนามัยทางการแพทย์ พัดลมตั้งโต๊ะ และน้ำดื่ม ให้บุคลากรทางการแพทย์และผู้ติดเชื้อโควิด-19 ณ โรงพยาบาลสนามมหาวิทยาลัยนเรศวร

วันที่ 21 เมษายน 2564 ส่งมอบหน้ากากอนามัยทางการแพทย์ 1 ลัง จำนวน 2,000 ชิ้น พัดลมตั้งโต๊ะ ขนาด 20 นิ้ว จำนวน 2 ตัว และน้ำดื่ม ขนาด 800 ml จำนวน 4,140 ขวด ให้บุคลากรทางการแพทย์และผู้ติดเชื้อโควิด-19 ณ โรงพยาบาลสนามมหาวิทยาลัยนเรศวร นำโดยกลุ่มผู้นำนิสิตมหาวิทยาลัยนเรศวร ร่วมกับนิสิต บุคลากร ศิษย์เก่า มหาวิทยาลัยนเรศวรและบุคคลทั่วไป ได้สมทบทุน จำนวนเงิน 18,019 บาท

ที่มา: กองกิจการนิสิต มหาวิยาลัยนเรศวร

ม.นเรศวร ร่วมต้านโควิค-19

วันนี้ ( 13 เมษายน 2564) นายรุ่งรัตน์ พระนาค ผู้อำนวยการกองอาคารสถานที่พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ เปิดปฏิบัติการฉีดพ่นยาฆ่าเชื้อ สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า โควิด-19 COVID-19 ที่ หอพักบุคลากรและหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยนเรศวร เพื่อความปลอดภัยของนิสิตและบุคลากร

ที่มา: กองอาคารสถานที่ มหาวิทยาลัยนเรศวร

ม.นเรศวร โครงการ NU Music Talent 2021 “ร้อง เต้น เล่นดนตรี”

ชมรม TO BE NUMBER ONE มหาวิทยาลัยนเรศวร จัดโครงการ NU Music Talent 2021 “ร้อง เต้น เล่นดนตรี” โดยจัดประกวด 5 ประเภท ได้แก่ ขับร้องเพลงเดี่ยวไทยลูกทุ่ง, ขับร้องเพลงเดี่ยวเพลงไทยสากล, ขับร้องเพลงเดี่ยวสากล, Dance Contest และวงดนตรีโฟล์คซอง การประกวดแบ่งเป็น 2 รอบ รอบคัดเลือก จัดในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2564 ณ อาคารอเนกประสงค์ มหาวิทยาลัยนเรศวร และ รอบตัดสิน จัดในวันที่ 28 กุมภาพพันธ์ 2564 ณ โรงละคร อาคารเรียนรวมเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษาฯ มหาวิทยาลัยนเรศวร

ที่มา: กองกิจการนิสิต มหาวิยาลัยนเรศวร

ม.นเรศวร เปิดคลินิคการแพทย์แผนไทย Smart Care ภายในโครงการ Nu Smart City

ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.กาญจนา เงารังษี อธิการบดีมหาวิทยาลัยนเรศวร ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีศาสตราจารย์พิเศษ ดร.กาญจนา เงารังษี อธิการบดีมหาวิทยาลัยนเรศวร ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิดคลินิคการแพทย์แผนไทย Smart Care ภายในโครงการ Nu Smart City ณ วิทยาลัยพลังงานทดแทนฯ ภายในโครงการ Nu Smart City ณ วิทยาลัยพลังงานทดแทนฯ

ที่มา: วิทยาลัยพลังงานทดแทนและสมาร์ตกริดเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยนเรศวร

มหาวิทยาลัยนเรศวร จัดกิจกรรมพัฒนาเครือข่ายธุรกิจสุขภาพ ผลักดันท่องเที่ยวสุขภาพ แห่งแรกของไทย

เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2563 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ห้องประชุมโรงแรมพิษณุโลกยูไนเตส  อ.เมือง จ.พิษณุโลก ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.กาญจนา เงารังษี อธิการบดีมหาวิทยาลัยนเรศวร  เป็นประธานในการเปิดกิจกรรมพัฒนาเครือข่ายธุรกิจสุขภาพ ภายใต้โครงการสนับสนุนเครือข่าย SME ปี2563 โดยสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ร่วมกับมหาวิทยาลัยนเรศวร SDโดยมีผู้ประกอบการ ในพื้นที่ 4 จังหวัดภาคเหนือตอนล่างประกอบด้วย จ.พิษณุโลก เพชรบูรณ์ สุโขทัย และจ.ตาก มาร่วมใจการจัดทำแผนพัฒนาคลัสเตอร์ เพื่อเป็นยุทธศาสตร์ ในการวางแผนพัฒนา สนับสนุนคลัสเตอร์ SME และพัฒนาศักยภาพ Service Provider ผู้นำ และผู้ประสานเครือข่าย (CDA)
ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.กาญจนา เงารังษี อธิการบดีมหาวิทยาลัยนเรศวร  กล่าวว่า โครงการนี้ มหาวิทยาลัยนเรศวร ร่วมกับ ภาครัฐ ภาคเอกชน จัดขึ้นเพื่อเป็นกิจกรรมสอดคล้องแผนยุทธศาสตร์ชาติและยุทธศาสตร์จังหวัด โดยเฉพาะการดูแลสุขภาพประชาชน ซึ่ง มหาวิทยาลัยนเรศวร ดูแลประชากร 5 ล้านคน พื้นที่ 9 จังหวัดภาคเหนือตอนล่าง โดยเราต้องการขับเคลื่อน  เพื่อให้ประชาชน ชุมชน ภาคเหนือตอนล่างมีการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น ทั้งด้านสังคม สุขภาพ เศรษฐกิจชุมชนมีรายได้ ด้านการเมืองความเป็นหนึ่งเดียวของชุมชน  โดยมีกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ในการสนับสนุนโครงการนี้ 
ทั้งนี้ ได้รับเกียรติจาก อาจารย์ ยิ่งศักดิ์ จงเลิศเจษฎาวงศ์ คณบดีคณะศิลปศาสตร์ วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม และเป็นพ่อครัวและนักวิชาการชาวไทยที่มีชื่อเสียงจากการจัดรายการทางโทรทัศน์ และเป็นนักแสดง เรื่องที่มีชื่อเสียง มาเป็นที่ปรึกษาโครงการ และเป็นวิทยากรผู้อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับอาหารสุขภาพ ให้กับผู้ประกอบการ เป็นโครงการทำจริงจัง โครงการนี้จะทำอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ประชาชนเรียนรู้และตื่นตัวในการดูแลสุขภาพ นักท่องเที่ยว ดูแลผู้เจ็บป่วย ผู้ชรา เป็นโครงการโภชนาการดูแลสุขภาพประชาชน
ดร.มาร์ฎา ชยทัตโต อาจารย์ประจำคณะบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร มหาวิทยาลัยนเรศวร  กล่าวว่า พื้นที่ภาคเหนือตอนล่างเป็นพื้นที่ท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ม.นเรศวร จึงทำโครงการขึ้นมา เป็นโครงการหนึ่งเพื่อรวบรวม  ผู้ประกอบการที่อยู่ในเครือข่าย ที่พัก ร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว โรงแรม สปา ฟิตเน็ต เป็นหนึ่งเดียวกัน เพื่อให้มีโอกาสเสนอสินค้าของเขา โดยมีเอเจนซี่ท่องเที่ยว ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เข้ามาทดลองสัมผัสการท่องเที่ยวในพื้นที่จริง โดยเริ่มต้นเมื่อวาน เดินทางไปพื้นที่ จ.เพชรบูรณ์ ทำกิจกรรมร่วมกัน ทำโยคะตอนเช้า และทำอาหารคลีน อาหารเพื่อสุขภาพ กินอาหารออกแกรนด์นิกส์ นำเสนอสินค้า สาธิตการทำอาหารสุขภาพ ก๋วยเตี๋ยวน้ำพริกลงเรือ  และแยมมะม่วงส้มซ่า
โดย อ.ยิ่งศักดิ์ ที่ปรึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร  จากนั้นจะมีการออกกำลังการฟิตเน็ต  ที่ จ.พิษณุโลก ก่อนเดินทางไป จ.สุโขทัย และ อ.แม่สอด จ.ตาก  โดยเป้าหมายโครงการหลังจากนี้ จะเปิดทริปท่องเที่ยวนี้เป็นทริปครั้งแรก ก่อนจัดทริปท่องเที่ยวสุขภาพจริง ตามเส้นทางที่มหาวิทยาลัยนเรศวรจัดเตรียมไว้ ด้านอาจารย์ ยิ่งศักดิ์ จงเลิศเจษฎาวงศ์  กล่าวว่า รู้สึกปลื้มใจมากในการมาเป็นที่ปรึกษาโครงการนี้  ได้ทำอะไรให้คนจำนวนมากทางภาคเหนือ การออกมาท่องเที่ยวย่ามนี้ ช่วงการระบาดโควิด 19 สุขภาพใจ สุขภาพกายต้องแข็งแรง 
การทำอาหารในช่วงนี้ ความเป็นของดีของอาหารธรรมชาติทางภาคเหนือ  อาหารการกินในพื้นที่ภาคเหนือมีดีอยู่แล้ว  แต่ควรมีการปรับเปลี่ยน อยากให้ประชาชนภาคเหนือทำอาหารแบบNew Normal  อาหารไทยเดิมของไทย ต้องจัดการสังขยานา อาหารไทยเชิงสุขภาพ ใครๆ ก็ทำขายได้ อย่างพืชผักที่นำมาใช้ ทั้งมะระขี้นก นำมาฟื้นฟูส่งเสริมการปลูกเพื่อเป็นวัตถุดิบสำคัญในการทำอาหาร นอกจากนี้ อยากเสนอให้ ม.นเรศวร ทำภัตตาคารอาหารต้นแบบของไทย มหาวิทยาลัยนเรศวรเราเป็นแหล่งความรู้กับประชาชน เป็นการยกระดับการพัฒนาท้องถิ่น พร้อมกันนี้ ผมได้นำมะม่วง ผลไม้ของ จ.พิษณุโลก มาทำแยมมะม่วง  โดยนำส้มซ่ามาใส่ในแยม เพราะให้รสและกลิ่นคล้ายส้มยูสุ ของญี่ปุ่น ที่ราคาแสนแพง  แต่เราไม่ใช้ส้มยูสุ เราจะใช้ส้มซ่า มาทำ โดยต่อไปคนชุมชน จ.พิษณุโลก จะได้ปลูกส้มซ่า 1,000-10,000 ไร่ เพื่อนำส้มซ่ามาทำผลผลิตอุตสาหกรรมอาหารในอนาคตด้วย

ที่มา: phitsanulokhotnews

นักวิจัย ม.นเรศวร แนะตรวจสารพันธุกรรม COVID-19 ในน้ำเสียของสิ่งปฏิกูล

ผศ. ดร. ธนพล เพ็ญรัตน์ หัวหน้าโครงการวิจัยการใช้โฟมที่ปรับเสถียรด้วยอนุภาคแม่เหล็กนาโนร่วมกับการเหนี่ยวนำความร้อนทางแม่เหล็กไฟฟ้าในการเร่งการฟื้นฟูพื้นที่ปนเปื้อนสารอินทรีย์ระเหยด้วยวิธีสกัดไอดิน จากมหาวิทยาลัยนเรศวร ภายใต้การสนับสนุนทุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) เปิดเผยว่า ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาสถิติการติดเชื้อ COVID-19 รายใหม่ของไทยในแต่ละวันค่อนข้างคงที่ ขณะที่หลายจังหวัดรวมถึงพิษณุโลกไม่พบการติดเชื้อรายใหม่มาหลายวัน คำถามคือเมื่อใดจะเปิดเมืองได้อีกครั้ง บทความในนิวยอร์กไทม์ส ระบุว่าสหรัฐอเมริกาต้องตรวจการติดเชื้อให้มากกว่าปัจจุบันอีกวันละ ๓ เท่า จึงจะกลับมาเปิดเมืองได้อีกครั้ง โดยปัจจุบันสหรัฐอเมริกามีอัตราการตรวจที่ ๑๐,๘๖๓ ต่อประชาการ ๑ ล้านคน ส่วนของประเทศไทยอยู่ที่ ๑,๔๔๐ การตรวจต่อประชากร ๑ ล้านคน ต่ำกว่าสหรัฐอเมริกาประมาณ ๗.๕ เท่า

อย่างไรก็ตาม ไทยยังมีอีกหนึ่งทางเลือกในการเปิดเมือง นั่นคือ การตรวจหาสารพันธุกรรมของไวรัสโคโรนาในน้ำโสโครกเพื่อคัดกรอง ซึ่งจะทำให้สามารถตรวจการติดเชื้อโดยไม่ต้องตรวจทุกคนในจังหวัด ด้วยการตรวจน้ำโสโครก หรือน้ำเสียของสิ่งปฏิกูลจากมนุษย์ ได้แก่ อุจจาระ ปัสสาวะ ในหนึ่งวันคนเราขับถ่ายอุจจาระเฉลี่ยประมาณ ๑๒๘ กรัมต่อคน และมีน้ำเสียจากสุขาที่รวมกิจกรรมชำระล้างการขับถ่ายอีกประมาณ ๒๕ – ๕๐ ลิตรต่อคนต่อวัน โดยผู้ติดเชื้อนั้นมีรายงานว่า มีสารพันธุกรรมของไวรัส COVID-19 สูงตั้งแต่ ๖๓๐,๐๐๐ copies ต่อมิลลิลิตรของอุจจาระถึง ๓๐,๐๐๐,๐๐๐ copies ต่อมิลลิลิตรของอุจจาระ ซึ่งงานวิจัยจากสหรัฐอเมริกาตรวจเจอได้ต่ำที่สุด คือ ๑๐ copies ต่อมิลลิลิตรของน้ำเสีย วิธีการตรวจใช้ RT-qPCR ปกติแบบที่ใช้ตรวจในคน ถ้าใช้ตัวเลข ๑๐ copies ต่อมิลลิลิตรเป็นค่าต่ำสุด และคำนวณจะพบว่า จ. พิษณุโลกซึ่งมีประชากรประมาณ ๘๖๖,๘๙๑ คน สามารถตรวจตัวอย่างน้ำโสโครกเพียง ๙๐ ตัวอย่าง สำหรับสมมติฐานว่าอุจจาระของผู้ติดเชื้อมีสารพันธุกรรมของไวรัสที่ ๓๐,๐๐๐,๐๐๐ copies ต่อมิลลิลิตร หรือ ๔,๒๖๗ ตัวอย่าง สำหรับสมมติฐานว่ามีสารพันธุกรรมของไวรัส ๖๓๐,๐๐๐ copies ต่อมิลลิลิตร ตัวอย่างน้ำโสโครกที่เป็นตัวแทนของทั้ง จ. พิษณุโลกยังน้อยกว่าการตรวจทุกคนในจังหวัด ประหยัดงบประมาณและเวลาอย่างมากมาย

นักวิจัยระบุว่า สามารถใช้เทคนิคการเก็บตัวอย่างน้ำแบบผสมรวมในการเก็บตัวอย่างน้ำเสียที่เป็นตัวแทนของคน ๑,๐๐๐ คนได้ เช่น ถ้ามีคอนโด ๒๐๐ ห้อง มีคนอยู่ ๔๐๐ คน ให้เก็บตัวอย่างน้ำโสโครกรวมของคอนโดนั้น ๆ มาผสมกับคอนโดอื่นในบริเวณข้างเคียง ไล่ตรวจไปทีละโซนทีละพื้นที่ หรือหากมีจุดที่มีน้ำเสียรวมของตำบลหนึ่งไหลมารวมกันก็เก็บตรงจุดนั้นเป็นตัวแทนของตำบลนั้นได้ หากตรวจแล้วพบก็สืบหากันต่อไปโดยอาจจะต้องแยกตรวจน้ำเสียรายตึก รายคอนโด หรือโซนของหมู่บ้าน จะทำให้เข้าถึงตัวผู้ติดเชื้อได้ไวขึ้น ถึงขั้นนี้การดูประวัติการเดินทาง กิจกรรม และอาการทางสุขภาพร่วมด้วยน่าจะทำให้เข้าถึงผู้ติดเชื้อได้เร็วขึ้น โดยที่ผู้ตรวจใส่ชุด PPE ก็เพียงพอแล้ว งานเก็บน้ำเสียจึงเป็นงานที่นักวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม วิศวกรสิ่งแวดล้อม หรือสิ่งแวดล้อมภาค สิ่งแวดล้อมจังหวัด แม้แต่สถานีอนามัยก็สามารถทำได้ หากได้รับการอบรมพื้นฐานมา ไม่จำเป็นต้องใช้บุคลากรทางการแพทย์ ด้วยเหตุนี้จังหวัดที่มีการล็อกดาวน์จนไม่มีผู้ติดเชื้อเพิ่มมาระยะหนึ่งแล้ว การตรวจหาสารพันธุกรรมของไวรัสในน้ำโสโครกอาจช่วยให้เปิดเมืองได้เร็วขึ้น ทั้งยังช่วยให้เราเฝ้าระวังการกลับมาของไวรัสด้วยหลักการและตรรกะแนวคิดเดียวกัน การตรวจน้ำเสียในโรงพยาบาลหรือโรงแรมที่มีขาจรจากต่างจังหวัดเข้ามาพักหลังเปิดเมือง ทำให้เราเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยงได้ ในทำนองเดียวกันการตรวจน้ำโสโครกจากห้องน้ำในสนามบิน หรือแม้แต่จากห้องน้ำของเครื่องบินเองก็จะช่วยเฝ้าระวังได้อีกทางหนึ่ง นอกเหนือจากการวัดอุณหภูมิแบบปัจจุบัน

มหาวิทยาลัยนเรศวร พัฒนาระบบการแพทย์ระยะไกล เชื่อมโยง รพ.กับผู้ป่วย เข้าถึงการรักษาเท่าเทียม

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่มหาวิทยาลัยนเรศวร จ.พิษณุโลก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พีรธร บุณยรัตพันธุ์ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยนเรศวร พร้อมด้วยนายนิพนธ์ จงวิชิต ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระสายเสียงโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ (กทปส.) นายแพทย์ปิยะ ศิริลักษณ์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดพิษณุโลก และคณะผู้บริหาร ได้ร่วมกันนำเสนอโครงการพัฒนาต้นแบบของเทคโนโลยีที่ช่วยในการพัฒนาคุณภาพการให้บริการทางการแพทย์ฉุกเฉินทางไกลในชนบท
โดยผ่านเครือข่ายดิจิทัลความเร็วสูง (ระยะที่  2) หวังเชื่อมโยงเครือข่ายโรงพยาบาล ศูนย์แพทย์ในจังหวัดพิษณุโลกแบบครบวงจร เพื่อยกระดับการรักษาและลดความเหลื่อมล้ำการเข้าถึงทางการแพทย์ในประเทศไทย นายนิพนธ์ จงวิชิต รักษาการผู้จัดการกองทุนวิจัยและพัฒนาฯ กล่าวว่า จากปัญหาระบบทางการแพทย์ของประเทศไทยมีความขาดแคลนแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่ชนบทพื้นที่ห่างไกล เนื่องด้วยจำนวนแพทย์ที่ไม่เพียงพอ และส่วนใหญ่อยู่ในโรงพยาบาลส่วนกลาง และโรงพยาบาลขนาดใหญ่ในเขตเมือง ส่งผลให้แพทย์ไม่มีเพียงพอและรับรองกับจำนวนผู้ป่วยในเขตพื้นที่ห่างไกล
ดังนั้น กทปส. เล็งเห็นถึงความสำคัญและปัจจัยดังกล่าวจึงเป็นที่มาของการมอบทุน เพื่อทำโครงการพัฒนาคุณภาพการให้บริการทางการแพทย์ฉุกเฉินทางไกลในชนบทโดยผ่านเครือข่ายดิจิทัลความเร็วสูง เพื่อลดช่องว่างทางการแพทย์ที่เกิดขึ้น โดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัดความเร็วสูง ศักยภาพของเทคโนโลยีไร้สายสร้างจุดแข็ง ในการเชื่อมโยงโครงข่ายระบบแพทย์ทางไกลและให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญสามารถเข้าถึงผู้ป่วยได้ทุกพื้นที่ทุกเวลาแบบ Real Time สำหรับโครงการพัฒนาคุณภาพการให้บริการทางการแพทย์ฉุกเฉินทางไกลในชนบท โดยผ่านเครือข่ายดิจิทัลความเร็วสูงโดย
ทางมหาวิทยาลัยนเรศวรได้รับทุนสนับสนุน จาก กทปส. มีลักษณะคล้าย Tele Health รูปแบบครบวงจร มีแพทย์เป็นที่ปรึกษาให้กับผู้ป่วยและพยาบาลผ่าน Application เชื่อมต่อสำหรับแพทย์ โครงการดังกล่าวได้รับทุนครั้งแรกเมื่อปี 2557 ทำเป็นโครงการต้นแบบทดลองทั้งสิ้น 4-5 โรงพยาบาลในพื้นที่ ทั้งนี้ในการพัฒนาระบบแพทย์ทางไกลให้สามารถ เชื่อมโยง รับส่งข้อมูลรวมทั้งการเข้าถึงฐานข้อมูลผู้ป่วย ได้อย่างรวดเร็วซึ่งเทคโนโลยีดิจิทัลความเร็วสูงจะเชื่อมต่อภาพ จากการรักษาให้กับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในการตรวจรักษาผ่านระบบเชื่อมโยงด้านการโทรคมนาคมเข้าสู่โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลในพื้นที่ หรือทำการเชื่อมต่อกับสมาร์ทโฟนของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญปลายทาง ทำให้ลดปัญหาการขาดแคลนแพทย์ทุกพื้นที่ในประเทศ และเกิดความเท่าเทียม ในการเข้าถึงรักษาลดปัญหาการเสียชีวิตของประชาชน
โดยการนำเอาเทคโนโลยีด้านการโทรคมนาคมดิจิทัลความเร็วสูงมาพัฒนาร่วมกับระบบทางการแพทย์โดยเกิดการพัฒนาต่อยอดอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อประโยชน์ต่อวงการแพทย์ไทยและประชาชนในประเทศอีกด้วย ล่าสุดทางมหาวิทยาลัยนเรศวร ได้ยื่นขอทุนต่อเนื่องเพื่อขยายโครงการต่อไปในปี 2561 ในโครงการพัฒนาต้นแบบของเทคโนโลยี ที่ช่วยในการพัฒนาคุณภาพการให้บริการทางการแพทย์ฉุกเฉินทางไกลในชนบท โดยผ่านเครือข่ายดิจิทัล ความเร็วสูงระยะที่ 2 เพื่อจะเชื่อมโยงโรงพยาบาลทุกแห่งในจังหวัด เป็นสิ่งที่เห็นถึงความสำเร็จของโครงการและการดำเนินการที่เห็นภาพเป็นประโยชน์ ในการเชื่อมโยงระหว่างโรงพยาบาล สาธารณสุข ทั้งจังหวัด สถานีอนามัย และบุคลากร อย่างแพทย์ พยาบาลสู่การรักษาผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพ และคาดว่าในอีก 2 ปีจะมีการขยายเพิ่ม
ซึ่งหลังจากนี้ทางกระทรวงสาธารณสุข จะมารับช่วงต่อไปขยายผลในจังหวัดอื่นๆต่อไป ในอนาคตปี 2564 การขยายต่อยอดโครงการจะเป็นไปในส่วนของนโยบายของทางกระทรวง หากแผนการพัฒนาโครงการดังกล่าวสำเร็จ กทปส.เชื่อว่าจะช่วยในการรักษาโรคที่ไม่ได้รุนแรง ทำให้เกิดความรวดเร็วขึ้นอย่างมาก ทางด้าน ศ.ดรไพศาล มุณีสว่าง คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนเรศวร ในฐานะหัวหน้าโครงการวิจัย กล่าวว่า โครงการพัฒนาคุณภาพการบริการทางการแพทย์ฉุกเฉินทางไกลในชนบท โดยเครือข่ายโดยผ่านเครือข่ายดิจิตัลความเร็วสูง ถือว่าเป็นต้นแบบให้กับโรงพยาบาลในพื้นที่ชนบท พื้นที่ห่างไกลกับโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลใหญ่ ในพื้นที่เขตเมืองหรือกรุงเทพฯ
ปัจจุบันได้ทำการทดลองวางระบบและเชื่อมต่อการทำงานกับเข้ากับโรงพยาบาล ภายใต้การทำงานของมหาวิทยาลัยนเรศวร โรงพยาบาลในจังหวัดพิษณุโลก 8 แห่งโรงพยาบาลศูนย์อีก 2 แห่ง รวมแล้ว 10 โรงพยาบาล โดยได้ทำการศึกษาวิเคราะห์และนำโจทย์ด้านเทคโนโลยีเข้ามาผนวกใช้ ซึ่งจัดการปัญหาที่ได้ทำการศึกษาคือแพทย์ผู้เชี่ยวชาญไม่ได้อยู่กับที่ มีการเดินทางอยู่ตลอดเวลาผู้ป่วยไม่สามารถที่จะรอได้ต้องการการรักษาอย่างทันที ดังนั้นระบบแพทย์ทางไกลที่ดีตอบโจทย์คือระบบโทรศัพท์ทางไกล หรือเรียกว่า โมบายแอพพลิเคชั่น บนสมาร์ทโฟนที่สามารถให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเชื่อมต่อ สามารถให้คำปรึกษาได้ตลอดเวลา ขณะนี้มีโรงพยาบาลเข้าร่วมโครงการและเชื่อมกับระบบประมาณ 289 แห่งจากในระยะแรกมี 13 แห่งแบ่งเป็นโรงพยาบาลในจังหวัดพิษณุโลก 157 แห่งและโรงพยาบาลในจังหวัดสุโขทัย 132 แห่ง  
คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนเรศวร กล่าวเพิ่มเติมว่า ในส่วนของระบบการทำงานของโครงการได้พัฒนาและขยายผลโครงการระยะที่ 1 ถึงโครงการระยะที่ 2 ซึ่งเป็นการพัฒนา โดยผ่าน Application NUMED ซึ่งมีการพัฒนาฟังก์ชัน การเชื่อมต่อการ service บน Application โดยการจัดตารางเวรเพื่อให้การให้คำปรึกษาให้ฟังชั่นสามารถสนทนา (Chat) ที่ความสามารถส่งข้อมูลภาพและวีดีโอแบบกลุ่มได้ รวมถึงพัฒนาฟังก์ชั่นการค้นหาข้อมูลผู้ป่วยบน Application ด้วยการป้อนรหัส 13 หลักโดยได้พัฒนาระบบการศึกษาแบบแยกตามกลุ่มความเชี่ยวชาญของแพทย์ นอกจากนี้ในส่วนฟังก์ชันการสื่อสารระหว่างผู้ป่วยและผู้ให้คำปรึกษาโดยไม่ต้องเปิดเคส ระบบได้ทำการจัดเก็บ (BackUp Delta) และบริหารการจัดการข้อมูลจากระบบศูนย์ข้อมูลบนคลาวด์มายังเซิร์ฟเวอร์ประจำสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ให้สามารถใช้ข้อมูลได้สะดวกยิ่งขึ้น อีกทั้งยังได้พัฒนาโดยการสร้างระบบ web Admin สำหรับผู้ดูแลและจัดการใช้งานให้กับโรงพยาบาลต้นสังกัดเป็นผู้ดูแล เป็นต้น

ที่มา: phitsanulokhotnews

Sustainability

NARESUAN UNIVERSITY

Solverwp- WordPress Theme and Plugin