ม.นเรศวร สนับสนุนการเสริมสร้างนิสิตผ่านการเรียนรู้นอกห้องเรียนด้านอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล

มหาวิทยาลัยนเรศวรยังคงยืนหยัดในการสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG 14) ด้วยการเปิดโอกาสให้นิสิตในสาขาวิทยาศาสตร์การประมง คณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ได้เรียนรู้นอกห้องเรียนเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลในสถานที่จริง เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2566 คณะอาจารย์และนิสิตชั้นปีที่ 3 จำนวน 52 คน ได้เดินทางไปยังศูนย์เรียนรู้ธนาคารสัตว์ทะเลเกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี

กิจกรรมในครั้งนี้มีเป้าหมายเพื่อสร้างประสบการณ์ตรงด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ โดยนิสิตได้ร่วมปล่อยลูกปูม้าระยะแรกฟักลงสู่ทะเล ซึ่งช่วยเพิ่มประชากรปูม้าในระบบนิเวศ และเรียนรู้กระบวนการขยายพันธุ์ปะการังอ่อนชนิดหนังดอกเห็ด ซึ่งมีความสำคัญต่อการเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำและฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพ

โครงการนี้ดำเนินการภายใต้แนวคิด “ชุมชนเพื่อชุมชนยั่งยืน” ของศูนย์เรียนรู้ธนาคารสัตว์ทะเลเกาะสีชัง ซึ่งอยู่ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ

กิจกรรมดังกล่าวสะท้อนถึงความตั้งใจของมหาวิทยาลัยนเรศวรในการบ่มเพาะนักวิชาการรุ่นใหม่ที่ตระหนักถึงความสำคัญของระบบนิเวศทางทะเล พร้อมเป็นแรงขับเคลื่อนในการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ทรัพยากรทางทะเลอย่างสมดุลและยั่งยืนในอนาคต

“ทะเลไทย หัวใจของชาติ” คือพลังขับเคลื่อนเพื่อสร้างสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืนต่อไป

สนับสนุน : สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) “คืนปูม้าสู่ทะเลไทย” ตามมติคณะรัฐมนตรี
ดำเนินงาน : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ศึกษาดูงานบริเวณชุมชนประแส โครงการศึกษาดูงานด้านวิทยาศาสตร์การประมง

ศึกษาดูงานบริเวณชุมชนประแส
-ฟาร์มเลี้ยงกุ้งเอกชน
-พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาพืชและสัตว์ทะเล ระยอง
-เยี่ยมชมวิถีชุมชนปากน้ำประแส
-ศึกษาดูงานระบบนิเวศป่าชายเลนทุ่งโปรงทอง

ขอขอบคุณทุกสถานที่ ที่ให้ทางสาขาวิชาวิทยาศาสตร์การประมง เข้าไปศึกษาดูงาน และดูแลเป็นอย่างดี (ชาวบ้านที่นี่น่ารัก อัธยาศัยดี) โครงการศึกษาดูงานด้านวิทยาศาสตร์การประมง วันที่ 5-7 เมษายน 2566

ที่มา: วิทยาศาสตร์การประมง มหาวิทยาลัยนเรศวร

ศึกษาดูงานสถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำระยองศึกษาดูงาน

วันที่ 5-7 เมษายน 2566 หลักสูตรวิทยาศาสตร์การประมง มหาวิทยาลัยนเรศวร จัดโครงการศึกษาดูงานด้านวิทยาศาสตร์การประมง ณ สถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำระยอง เพื่อให้นิสิตเกิดความรู้ความเข้าใจในการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล และมีความรู้ความสามารถด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ทั้งสัตว์น้ำจืด สัตว์น้ำเค็ม สัตว์น้ำเศรษฐกิจต่างๆ

ที่มา: วิทยาศาสตร์การประมง มหาวิทยาลัยนเรศวร

ออกพื้นที่จัดกิจกรรมนิทรรศการแนะแนวการศึกษาต่อและอาชีพ ให้ความรู้เกี่ยวกับสัตว์น้ำ และปูทะเล

ระหว่างวันที่ 13-15 พฤศจิกายน 2565 หลักสูตรวิทยาศาสตร์การประมง คณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนเรศวร ได้ร่วมกิจกรรมนิทรรศการแนะแนวการศึกษาต่อและอาชีพ ค่ายเปิดประตูสู่รั้วมหาวิทยาลัยนเรศวร ครั้งที่ 10 ณ โรงเรียนสระหลวงพิทยาคม จ.พิจิตร

ที่มา: วิทยาศาสตร์การประมง มหาวิทยาลัยนเรศวร

ถ่ายทอดความรู้การขยายพันธุ์ “ปลิงกาหมาด” เพื่อการอนุรักษ์

นิสิตมหาวิทยาลัยนเรศวร หลักสูตรวิทยาศาสตร์การประมง ถ่ายทอดความรู้ “การขยายพันธุ์กาหมาดเพื่อการอนุรักษ์” จากประสบการณ์ฝึกงาน ณ ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงทะเลสตูล จังหวัดสตูล เผยแพร่ในรูปแบบสื่อทางช่องทาง YouTube

โดยหลักสูตรวิทยาศาสตร์การประมง เน้นในการผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ทั้งสัตว์น้ำจืด สัตว์น้ำเค็ม สัตว์น้ำเศรษฐกิจต่างๆ รวมถึงการส่งเสริมให้นิสิตได้ทำการวิจัยเพื่อเป็นการสร้างเสริมประสบการณ์เกิด องค์ความรู้ใหม่ๆ และสามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ที่ได้รับ เผยแพร่ให้เกษตรกรและผู้ประกอบอาชีพด้านการประมงนำไปใช้ประโยชน์ต่อไปได้ เป็นการต่อยอดจากการศึกษา ด้วยการบูรณาการณ์จากการฝึกงานกับหน่วยงานของภาครัฐและเอกชน เพื่อให้นิสิตได้ประสบการณ์ จากภายนอก และเป็นแนวทางการประกอบอาชีพให้นิสิตตามที่ตนถนัด หรือสนใจได้ในอนาคต


ที่มา: วิทยาศาสตร์การประมง มหาวิทยาลัยนเรศวร

ทช.ร่วม ม.นเรศวร เผยแพร่ผลศึกษาโครงการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง

วันที่ 22 ธันวาคม 2558 กรม ทช. โดย สำนักงานบริหาร ทช. ที่ 6 (ภูเก็ต) และศูนย์สารสนเทศ ร่วมกับมหาวิทยาลัยนเรศวร จัดประชุมวิชาการเผยแพร่ผลการศึกษาตามโครงการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง พื้นที่อุทยานฯสิรินาถ อ.ถลาง จ.ภูเก็ต โดยผลการศึกษาเกิดจากการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์บางจุดและการเปลี่ยนแปลงฉับพลันจากสึนามิ แนวทางการแก้ไขคือเน้นการเติมทรายในพื้นที่ มีรองผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน ผู้เข้าร่วมงาน 150 คน

ที่มา: กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง

Sustainability

NARESUAN UNIVERSITY

Solverwp- WordPress Theme and Plugin