Archives May 2023

คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ขยายเวลารับสมัครอาจารย์ผู้สอนภาษาพม่า

คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ขยายเวลารับสมัครอาจารย์ผู้สอนภาษาพม่า สังกัดภาควิชาภาษาตะวันออก ครั้งที่ 2/2566 จำนวน 1 อัตรา จำนวน 1 อัตรา

รับสมัครตั้งแต่บัดนี้จนถึงวันที่ 23 มิถุนายน 2566 รับสมัครทางออนไลน์เท่านั้น
1. ดาวน์โหลดแบบฟอร์มใบสมัครเข้ารับการคัดเลือกเพื่อบรรจุเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย
>>> https://shorturl.asia/w5yiO

2. ยื่นใบสมัครพร้อมหลักฐานทางออนไลน์ ได้ที่ Google form
>>> https://forms.gle/vym16zKXgAiupG8W8

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 0 5596 2041
ที่มา: คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

ม.นเรศวร จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ “เศรษฐศาสตร์ ว่าด้วยการเป็นผู้ประกอบการทางธุรกิจ”

บัณฑิตวิทยาลัย ขอเชิญนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา คณาจารย์ บุคลากร และศิษย์เก่าผู้สนใจ ร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการ “เศรษฐศาสตร์ ว่าด้วยการเป็นผู้ประกอบการทางธุรกิจ” เพื่อสร้างความรู้และเข้าใจ ในการทำงานของระบบเศรษฐกิจภาคธุรกิจ โดยนำไปใช้ในการปรับเปลี่ยนราคา และปริมาณดุลยภาพ ในตลาด รวมถึงบทบาทของรัฐบาล ที่มีผลต่อผู้ประกอบการธุรกิจ *อบรมฟรี on-site ณ ห้องเรียน ชั้น 1 บัณฑิตวิทยาลัย

โดยได้รับเกียรติจาก ดร.ภัคจิรา นักบรรเลง อาจารย์ประจำภาควิชาเศรษฐศาสตร์ คณะบริหารธุรกิจเศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร ม.นเรศวร เป็นวิทยากรในวันศุกร์ที่ 19 พฤษภาคม 2566

ที่มา: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนเรศวร

Train the Trainer เตรียมความพร้อมสู่การเป็นที่ปรึกษา เสริมทักษะการถ่ายทอดองค์ความรู้และการให้คำแนะนำแก่ผู้ประกอบการ

IRD Cap Building อุทยานวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร เข้าร่วมกิจกรรม Train the Trainer (Consultant) ในวันที่ 18 – 19 พฤษภาคม 2566 ณ ห้องประชุมช้ัน 2 อาคาร D ห้อง D205 อาคารอํานวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ (จังหวัดเชียงใหม่)⛰️

อุทยานวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร เข้าร่วมกิจกรรมอบรม Train the Trainer (Consultant) ที่จัดให้กับที่ปรึกษา 2 ท่าน และเจ้าหน้าที่อุทยานวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมสู่การเป็นที่ปรึกษา เสริมทักษะการถ่ายทอดองค์ความรู้และการให้คำแนะนำแก่ผู้ประกอบการ

โดยมีหัวข้อการบรรยายต่าง ๆ พร้อมกิจกรรม Workshop จากผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีและการจัดการนวัตกรรมต่าง ๆ

  • หัวข้อบรรยาย Transcending Valley of Challenge with Reginal Science Park และ Innovation Thinking in Science-Tech Future โดยผศ.ดร.ธัญญานุภาพ อานันทนะ ผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค ภาคเหนือ ให้เกียรติแนะนำแผนงานการพัฒนากระบวนการวิจัยของผู้ประกอบการ (IRD Cap Building) และเป็นวิทยากรบรรยายพิเศษ
  • หัวข้อบรรยาย From Professional Consultant to Innovative Entrepreneur โดย ผศ.ดร.สมชาย จอมดวง
  • หัวข้อบรรยาย การวิเคราะห์แนวโน้มของธุรกิจ Business Trend (Analysis Module) โดย รศ.ดร.อภิชาต โสภาแดง ผู้อำนวยการโครงการฯ
  • การบรรยายหัวข้อ Central Platform: Coaching & Consulting โดย รศ.ดร.ศักดิ์เกษม ระมิงค์วงศ์ หัวหน้าโครงการฯ

ที่มา: อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

ถ่ายทอดผลงานวิจัย มหาวิทยาลัยนเรศวร เพื่อปรับสูตรธุรกิจรับเทรนด์สุขภาพ

เคซีจี คอร์ปอเรชั่น” หรือที่คนไทยมักรู้จักในฐานะผู้ผลิตอิมพีเรียลบัตเตอร์คุกกี้ คุกกี้กล่องแดงขนมยอดฮิตในช่วง
ปีใหม่ รวมถึงผู้ผลิตเนย-ชีส แบรนด์อลาวรี่เป็นหนึ่งในผู้ประกอบการเก่าแก่อายุมากกว่า 6 ทศวรรษ ที่ลุกขึ้นมาปรับตัวรับมือกับความเปลี่ยนแปลงของยุคสมัยไม่ว่าจะเป็นเทรนด์สุขภาพ และสภาพเศรษฐกิจ ต้นทุน ค่าพลังงาน – วัตถุดิบที่พุ่งสูง โดยผลิตภัณฑ์แดรี่จะเป็นกลุ่มที่มีความเปลี่ยนแปลงเด่นชัดและเยอะที่สุด

เนื่องจากเป็นสินค้าที่สร้างรายได้ถึง 60% ของรายได้รวม อีกทั้งมีความคล่องตัวในการปรับสูตรต่างๆ จากการมีโรงงานเป็นของตัวเอง รวมถึงบริษัทยังจับมือพันธมิตร เช่น สถานศึกษามาช่วยพัฒนาสูตร โดยล่าสุดอยู่ระหว่างร่วมมือกับมหาวิทยาลัยนเรศวร

ที่มา: กองการถ่ายทอดเทคโนโลยีและบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญา มหาวิทยาลัยนเรศวร

แบบสอบถาม “ศักยภาพและความพร้อมของหน่วยงานราชการในการดำเนินงานด้านระบบโครงข่ายไฟฟ้าขนาดเล็กแบบมีการใช้พลังงานสุทธิเป็นศูนย์”

ขอความอนุเคราะห์หน่วยงานราชการ กรอกแบบสอบถาม “ศักยภาพและความพร้อมของหน่วยงานราชการในการดำเนินงานด้านระบบโครงข่ายไฟฟ้าขนาดเล็กแบบมีการใช้พลังงานสุทธิเป็นศูนย์” ภายใต้โครงการศึกษาและออกแบบระบบโครงข่ายไฟฟ้าขนาดเล็กแบบมีการใช้พลังงานสุทธิเป็นศูนย์ในพื้นที่ส่วนราชการ

– โดยสามารถแสกนคิวอาร์โค้ดในรูป หรือคลิกลิ้ง https://forms.office.com/r/NXCz2rWeAn
ที่มา: วิทยาลัยพลังงานทดแทนและสมาร์ตกริดเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยนเรศวร

ม.นเรศวร ส่งเสริมผู้ประกอบการภูมิภาคสู่ตลาดโลก สร้างรายได้ให้ประเทศ

วันที่ 15-16 พฤษภาคม 2566 อุทยานวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร ได้นำผู้ประกอบการเข้าร่วมกิจกรรมการแข่งขันนำเสนอแผนธุรกิจ ระดับภูมิภาค ภายใต้แผนงาน “การส่งเสริมผู้ประกอบการภูมิภาคสู่ตลาดโลก” (Regional to Global Platform : R2G) ประจำปี 2566 ณ NSP Exhibition Hall อาคารอำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ (จังหวัดเชียงใหม่)

โดยมีบริษัทที่เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 6 บริษัท คือ
1. Jengreensnack Co., Ltd.
2. Areeherb Co.,Ltd.
3. Darin laboratories Co., Ltd.
4. Nara Tamarind Co., Ltd.
5. DIN YEN LIMITED PARTNERSHIP
6. Syama Creator Co., Ltd.

โดยได้รับเกียรติจาก ดร.ภวิกา มงคลกิจทวีผล ผู้จัดการโครงการ อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวต้อนรับ แก่คณะกรรมการ และผู้ประกอบการจำนวน 40 ทีม โดยภายในงานจะเป็นการแข่งขันนำเสนอแผนธุรกิจ เพื่อคัดเลือกผู้ประกอบการภูมิภาคจำนวน 8 ทีม เข้าร่วมโครงการฯ พร้อมส่งเสริม ยกระดับศักยภาพด้านการตลาดเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้วยเครือข่ายความร่วมมือของอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาคต่อไป

ที่มา: อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

ลดปริมาณขยะจากท้องทะเล สู่นวัตกรรมเสื้อเกราะกันกระสุน “Upcycle Army Vest”

มหาวิทยาลัยนเรศวร พัฒนานวัตกรรมเสื้อเกราะกันกระสุน “Upcycle Army Vest” ตอบโจทย์ผู้ประกอบการด้านการจัดการขยะ จังหวัดกระบี่ จากขยะพลาสติกเหลือใช้และขยะจากท้องทะเล ภายใต้โครงการวิจัย “การมีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์นวัตกรรมสังคมจากขยะพลาสติกในชุมชนภาคเหนือตอนล่าง ประเทศไทย” โดยสำนักงานการวิจัยแห่งชาติสนับสนุนทุนวิจัยแก่ รองศาสตราจารย์ ดร.พนิดา จงสุขสมสกุล อาจารย์ประจำภาควิชานิเทศศาสตร์ คณะบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร มหาวิทยาลัยนเรศวร หัวหน้าโครงการ และคณะผู้ร่วมวิจัยได้แก่ รองศาสตราจารย์ ดร นิรัช สุดสังข์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปิยนันท์ บุญพยัคฆ์ และดร.ศิริกาญจน์ ขันสัมฤทธิ์ ภาควิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ และ ดร.วรชาติ กิจเรณู คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

ที่มา: งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

นวัตกรรมเสื้อเกราะกันกระสุน “Upcycle Army Vest” จากขยะพลาสติกเหลือใช้

นวัตกรรมเสื้อเกราะกันกระสุน “Upcycle Army Vest” จากขยะพลาสติกเหลือใช้และขยะจากท้องทะเล ภายใต้โครงการวิจัย “การมีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์นวัตกรรมสังคมจากขยะพลาสติกในชุมชนภาคเหนือตอนล่าง ประเทศไทย” โดยสำนักงานการวิจัยแห่งชาติสนับสนุนทุนวิจัยแก่ รองศาสตราจารย์ ดร.พนิดา จงสุขสมสกุล อาจารย์ประจำภาควิชานิเทศศาสตร์ คณะบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร มหาวิทยาลัยนเรศวร หัวหน้าโครงการ และคณะผู้ร่วมวิจัยได้แก่ รองศาสตราจารย์ ดร นิรัช สุดสังข์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปิยนันท์ บุญพยัคฆ์ และดร.ศิริกาญจน์ ขันสัมฤทธิ์ ภาควิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ และ ดร.วรชาติ กิจเรณู คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

ที่มา: งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

ม.นเรศวร บูรณาการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมด้านความยั่งยืนให้กับนิสิต

วันที่ 10 พฤษภาคม 2556 ดร.จรัสดาว คงเมือง รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนานิสิต ศิษย์เก่า และศิลปวัฒนธรรม พร้อมด้วย รศ.ดร.อรรถกร ทองทา ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิชาการ และนางจิระประภา ศรีปัตตา ผู้อำนวยการกองพัฒนาคุณภาพการศึกษา ร่วมประชุมหารือแนวทางการจัดกิจกรรมด้านความยั่งยืน เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจและสร้างการมีส่วนร่วมด้านความยั่งยืนให้กับนิสิต โดยมีตัวแทนจาก 3 หน่วยงานร่วมประชุม คือ งานประชาสัมพันธ์ กองกลาง, กองกิจการนิสิต และกองพัฒนาคุณภาพการศึกษา โดยร่วมประชุม ณ ห้อง Main Conference อาคารบริการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยนเรศวร

โดยกิจกรรมด้านการส่งเสริมและสร้างการมีส่วนร่วมด้านความยั่งยืนให้กับนิสิต จะเป็นการสอดแทรกกิจกรรมโดยเน้นการสร้างการรับรู้ การสร้างความตระหนัก ด้านการเป็นพลเมืองโลก มีจิตสำนึกความรับผิดชอบและการมรส่วนร่วม ซึ่งจะมีการจัดการอบรมให้ความรู้ การประกวดการมีส่วนร่วมอนุรักษ์ การนำขยะมาสร้างมูลค่าผ่านกิจกรรมการประกวดชุดแฟนซี การสร้างมูลค่าจากสินค้าที่ทำมาจากขยะรีไซเคิล รวมถึงการจัดการประกวดสื่อด้านความยั่งยืน และการจัดนิทรรศการด้านขยะ เป็นต้น

ที่มา: กองพัฒนาคุณภาพการศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร

ม.นเรศวร จัดเวทีผู้บริหารพบประชาคม เพื่อร่วมขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยอย่างยั่งยืน

      เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2566 คณาจารย์และบุคลากรมหาวิทยาลัยนเรศวรร่วมงาน “เวทีผู้บริหารพบประชาคมมหาวิทยาลัยนเรศวรประจำปี 2566 (ครั้งที่ 2)” โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.ศรินทร์ทิพย์ แทนธานี รักษาราชการแทนอธิการบดี พร้อมทีมบริหารมหาวิทยาลัย รายงานผลการดำเนินงานการบริหารมหาวิทยาลัย ในวาระครบ 1 ปี แก่ประชาคมมหาวิทยาลัยนเรศวร และทิศทางการพัฒนามหาวิทยาลัยในแต่ละพันธกิจ อาทิ ความคืบหน้าการเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ การพัฒนาพื้นที่บึงระมาณ เพื่อที่จะสร้างเมืองนวัตกรรมปศุสัตว์และอาหารสัตว์แห่งอนาคต นอกจากนั้นยังมีโครงการยกระดับตำรับยาแผนไทยสู่มาตรฐานสากล ซึ่งเป็นโครงการที่มหาวิทยาลัยได้ร่วมมือกับภาคเอกชน เพื่อสร้างโรงงานต้นแบบในอนาคต

      ด้านการขับเคลื่อน Business Unit เตรียมการปรับรูปโฉมหน่วยงานที่สามารถหารายได้ ได้แก่ คลินิคอาศรมเสลา คณะสาธารณสุขศาสตร์ ธาราบําบัด คณะสหเวชศาสตร์ ศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัย คณะพยาบาลศาสตร์ และโรงพยาบาลทันตกรรม คณะทันตแพทยศาสตร์ เป็นต้น

      ผลการดำเนินงานดังกล่าวจะส่งผลให้บุคลากรเกิดความเข้าใจในการปฏิบัติงานไปในทิศทางเดียวกัน โดยมุ่งเน้นการพัฒนาบุคลากรทั้งสายวิชาการและสายสนับสนุนวิชาการให้มีศักยภาพที่เข้มแข็งเป็นทีมทำงานที่มีประสิทธิภาพ ก้าวสู่การเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศ เพื่อจะมีบทบาทอย่างยิ่งในการเป็นผู้นำต่อการเปลี่ยนแปลง และสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสังคม รวมทั้งการหารายได้เพิ่มเพื่อการพึ่งพาตนเองของมหาวิทยาลัย ซึ่งประชาคมต้องมีเป้าหมายเดียวกัน และได้รับถ่ายทอดนโยบายและทิศทางการบริหารงานสู่ การปฏิบัติ เกิดการบริหารงานแบบมีส่วนร่วมเพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัยนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชน เพื่อให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัยเพื่อสังคมของผู้ประกอบการ (University for Entrepreneurial Society)

      โดยมีผู้เข้าร่วมงานกว่า 400 คน ณ ห้องประชุมมหาราช อาคารอุทยานองค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ชั้น 2 มหาวิทยาลัยนเรศวร และผู้เข้าร่วมงานผ่านทาง Microsoft Teams กว่า 1,800 คน

 ทั้งนี้ คำถามที่ประชาคมถามมาภายในงานผู้บริหารพบประชาคม ทางทีมผู้บริหารจะตอบทุกคำถามทาง www.nu.ac.th เร็วๆนี้

** รับชมกิจกรรมเวทีผู้บริหารพบประชาคม ประจำปี 2566 ครั้งที่ 2 ย้อนหลังได้ที่ https://bit.ly/42NtEfx
** รับชมภาพบรรยากาศภายในงานเพิ่มเติมได้ที่ https://www.facebook.com/nu.university
** Download ไฟล์เอกสารนำเสนอของผู้บริหาร https://bit.ly/42OWv3p

ที่มา: งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

Sustainability

NARESUAN UNIVERSITY

Solverwp- WordPress Theme and Plugin