Archives April 2023

เยี่ยมชมการดำเนินงานและร่วมกิจกรรมฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเล

วันที่ 21 เมษายน 2566 คณะอาจารย์และนักศึกษาชั้นปีที่ 3 คณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนเรศวร จำนวน 52 คนได้เข้าเยี่ยมชมการดำเนินงานและร่วมกิจกรรมฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลด้วยการปล่อยลูกปูม้าระยะแรกฟักลงสู่ทะเลและการขยายพันธุ์ปะการังอ่อนหนังดอกเห็ด ณ ศูนย์เรียนรู้ธนาคารสัตว์ทะเลเกาะสีชังโดยชุมชนเพื่อชุมชนยั่งยืน ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี “ทะเลไทย หัวใจของชาติ”

สนับสนุน : สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) “คืนปูม้าสู่ทะเลไทย” ตามมติคณะรัฐมนตรี
ดำเนินงาน : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร จัดเวทีการนำเสนอโครงการย่อยออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น ประจำปี 2566

วันที่ 21 เมษายน 2566 อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร จัดเวทีการนำเสนอโครงการย่อยออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น ประจำปี 2566 เพื่อให้นิสิตได้นำเสนอแผนการดำเนินงาน การพัฒนาศักยภาพของกลุ่มชุมชน ให้สามารถเข้าสู่ตลาดเพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน อันนำไปสู่การสร้างความมั่นคงของรากฐานสังคมจากพื้นฐานความเข้าใจของคนรุ่นใหม่ ณ ห้อง EN617 ชั้น 6 อาคารเรียนรวม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

ได้รับเกียรติจาก คุณณัฐวุฒิ ธรรมตานนท์ รองผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาธุรกิจผู้ประกอบการรายย่อยและองค์กรชุมชน, คุณศราวุธ วัดเวียงคำ ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาธุรกิจผู้ประกอบการรายย่อยและองค์กรชุมชน, คุณดำหลิ ตันเหยี่ยน ผู้ช่วยผู้อำนวยการธนาคารออมสินภาค 7 หน่วยพัฒนาสังคมและชุมชน และดร.ปัญญวัณ ลำเพาพงศ์ รองหัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล มหาวิทยาลัยนเรศวร ร่วมรับฟังและเป็นกรรมการพิจารณาการนำเสนอ ให้คำแนะนำและข้อเสนอแนะให้แก่นิสิตในครั้งนี้

โดยมีทีมนักศึกษาเข้าร่วมนำเสนอ จำนวน 5 ทีม ได้แก่
1. กำปั้นยายเชียง วิสาหกิจชุมชนปลูกและแปรรูปสมุนไพรทับยายเชียง (โฮมสเตย์/ท่องเที่ยวชุมชน)
2. พายใจไปล่องแก่งซอง กลุ่มแม่บ้านน้ำตกแก่งซอง (โฮมสเตย์/ท่องเที่ยวชุมชน)
3. PolSci Connect กลุ่มชุมชนท่องเที่ยวบ่อเกลือพันปี (โฮมสเตย์/ท่องเที่ยวชุมชน)
4. NU Sweethearts วิสาหกิจชุมชนแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรบ้านท่าชัย (ผลิตภัณฑ์กล้วยกวนหวาน)
5. SD ยุวพัฒน์ @NU กลุ่มซากุระญี่ปุ่นบ้านร่องกล้า (ผลิตภัณฑ์กิมจิ)

ที่มา: อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

“ECO WOOD” วัสดุทดแทนธรรมชาติ เพื่อทดแทนการใช้ไม้จริง ที่ช่วยลดปริมาณการตัดไม้ ลดปริมาณขยะพลาสติก”

วันที่ 20 เมษายน 2566 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศรารัตน์ มหาศรานนท์ หัวหน้าภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร พร้อมด้วยผู้ช่วยวิจัย ได้จัดแถลงข่าวกับสื่อมวลชน ในผลงาน “ECO WOOD” วัสดุทดแทนธรรมชาติ เพื่อทดแทนการใช้ไม้จริง ที่ช่วยลดปริมาณการตัดไม้ ลดปริมาณขยะพลาสติก และลดพลังงานในการผลิต ซึ่งเป็นการสนับสนุนแนวคิด “Circular Economy” เป็นวัสดุที่ผลิตจากพลาสติกรีไซเคิล ผสมกากกาแฟและเปลือกไข่ซึ่งเป็นการเอาวัถตุดิบใช้แล้ว หมุนเวียนเอากลับมาทำให้มีมูลค่า โดยจะใช้เทคโนโลยีการผสมด้วยเครื่องหลอมอัดรีดเกลียว หนอนคู่เพื่อเตรียมเป็นคอมพาวด์ จากนั้นใช้กระบวนขึ้นรูปด้วยเทคนิคการอัดเข้าแม่พิมพ์ ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่จะสามารถขยายขนาดการผลิตในระดับอุตสาหกรรมได้

ที่มา: คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

หน่วยทันตกรรมพระราชทานฯ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ออกให้บริการทางทันตกรรมให้กับประชาชนทั่วไป จำนวน 237 ราย

วันที่ 19 เมษายน 2566 หน่วยทันตกรรมพระราชทานฯ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ออกให้บริการทางทันตกรรมให้กับประชาชนทั่วไป จำนวน 237 ราย

โดยแบ่งเป็น อุดฟัน 44 ราย ขูดหินปูน 102 ราย และ ถอนฟัน 91 ราย

ณ องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านดง อำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก

ที่มา: คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

ม.นเรศวร จัดอบรมเชิงปฏิบัติการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์เบื้องต้น

มหาวิทยาลัยนเรศวร โดยกองการวิจัยและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยนเรศวร ขอเชิญชวนสถาบันเครือข่ายมหาวิทยาลัยนเรศวร เข้าร่วมโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์เบื้องต้น (Basic Human Subject Protection Course) ในวันที่ 15 พฤษภาคม 2566 เวลา 08.30-16.30 น. ผ่านโปรแกรม ZOOM โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ให้กับสถาบันเครือข่ายมหาวิทยาลัยนเรศวร โดยกำหนดผู้เข้าร่วมจำนวน 7 คนต่อสถาบันเครือข่าย (ทั้งนี้ให้สิทธิสำหรับคณะกรรมการและผู้ประสานงานที่เกี่ยวข้อง)

สามารถลงทะเบียนได้ตั้งแต่ วันนี้ – 5 พฤษภาคม 2566 และประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้าร่วมภายในวันที่ 10 พฤษภาคม 2566ผ่านระบบออนไลน์ ผ่านโปรแกรม Microsoft Teams

ลงะเบียนได้ที่ https://forms.gle/crE8eEdTyWC9nzpv7
ที่มา: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนเรศวร

เตรียมความพร้อมการจัด “งานเกษตรนเรศวรเอ็กซ์โป 2023” มหกรรมงานเกษตรภาคเหนือตอนล่าง ครั้งที่ 18

วันที่ 7 เมษายน 2566 นายภูสิต สมจิตต์ ผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก เป็นประธานการประชุมหารือเตรียมความพร้อมการจัด “งานเกษตรนเรศวรเอ็กซ์โป 2023” มหกรรมงานเกษตรภาคเหนือตอนล่าง ครั้งที่ 18 ซึ่งกำหนดจัดงานระหว่างวันที่ 3-9 กรกฎาคม 2566 ณ ศูนย์แสดงนิทรรศการและจัดการประชุมนานาชาติสมเด็จพระนเรศวรมหาราช มหาวิทยาลัยนเรศวร

ในการนี้ โดยมี ผศ.ดร.วรสิทธิ์ โทจำปา คณบดีคณะเกษตรศาสตร์ฯ รศ.ดร.ธนัชสัณห์ พูนไพบูลย์พิพัฒน์ รองคณบดีฝ่ายวิชาการและประกันคุณภาพ ดร.เจษฎา วิชาพร รองคณบดีฝ่ายบริการวิชาการและสื่อสารองค์กร ดร.อนุพงศ์ วงค์ตามี รองคณบดีฝ่ายโครงสร้างพื้นฐานและระบบนิเวศ คุณอ้อย ประยูรคำ หัวหน้าสำนักงานเลขานุการ พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการต่างๆ ของจังหวัดพิษณุโลก เข้าร่วมประชุมหารือดังกล่าว ณ ห้องประชุมผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก ศาลากลางจังหวัดพิษณุโลก

ที่มา: คณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ม.นเรศวร

ม.นเรศวร ร่วมประชุมกลุ่มสมาชิกฐานทรัพยากรท้องถิ่น

ศูนย์ประสานงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ มหาวิทยาลัยนเรศวร (อพ.สธ. – มน.) ได้จัดประชุมกลุ่มสมาชิกฐานทรัพยากรท้องถิ่น หลักสูตรการบริหารและการจัดการงานที่ 1 งานที่ 2 และงานที่ 3 ครั้งที่ 1/2566 ระหว่างวันที่ 5-6 เมษายน พ.ศ. 2566 ณ ห้องประชุมมหามนตรี ศูนย์แสดงนิทรรศการจัดประชุมสมเด็จพระนเรศวรมหาราชให้กับสมาชิกงานฐานทรัพยากรท้องถิ่น โดยมีผู้เข้าร่วมการฝึกอบรมฯ จำนวน 18 หน่วยงาน 40 คน

ที่มา: กองส่งเสริมการบริการวิชาการ ม.นเรศวร

ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในการพัฒนาระบบการดูแล ช่วยเหลือเด็กเยาวชนด้อยโอกาส เพื่อความเสมอภาคทางการศึกษาและสังคม

ผศ.ดร. ธนะธร พ่อค้า (ผู้ช่วยคณบดีด้านนวัตกรรมการเรียนรู้ คณะวิทยาศาสตร์) ดร.ณัฐพล คุ้มใหญ่โต ,ผศ.ดร.วินัย วงษ์ไทย และทีมนักวิจัย คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร เข้าร่วมพิธีลงนาม บันทึกข้อตกลงความร่วมมือในการพัฒนาระบบการดูแล ช่วยเหลือเด็กเยาวชนด้อยโอกาส เพื่อความเสมอภาคทางการศึกษาและสังคม โดยมี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล โดยมีระบบย่อยคือ ระบบแจ้งเหตุฉุกเฉินทางสังคม Emergency Social Services หรือ ESS Help Me ที่จะเปิดใช้งานทั่วประเทศ ในวันที่ 5 เมษายน 2566

โดย กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เตรียมจัดพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจความร่วมมือในการพัฒนาระบบแจ้งเหตุ ESS ร่วมกับ
– สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
– สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
– กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
– กองทุนเสมอภาคทางการศึกษา

โดยในวันอังคารที่ 14 มีนาคม 2566 ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล นายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รมว.พม.) ได้นำเสนอระบบดังกล่าวต่อ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ทั้งนี้ ระบบแจ้งเหตุ ESS จะเริ่มเปิดใช้ ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2566 เป็นต้นไป และเปิดตัวอย่างเป็นทางการในวันที่ 5 เมษายน 2566 ณ อาคารรัฐประศาสนภักดี (อาคาร B) ศูนย์ราชการฯ แจ้งวัฒนะ กทม. ภายในงานวันผู้สูงอายุแห่งชาติ และวันแห่งครอบครัว ประจำปี 2566

ที่มา: คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

ศึกษาดูงานบริเวณชุมชนประแส โครงการศึกษาดูงานด้านวิทยาศาสตร์การประมง

ศึกษาดูงานบริเวณชุมชนประแส
-ฟาร์มเลี้ยงกุ้งเอกชน
-พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาพืชและสัตว์ทะเล ระยอง
-เยี่ยมชมวิถีชุมชนปากน้ำประแส
-ศึกษาดูงานระบบนิเวศป่าชายเลนทุ่งโปรงทอง

ขอขอบคุณทุกสถานที่ ที่ให้ทางสาขาวิชาวิทยาศาสตร์การประมง เข้าไปศึกษาดูงาน และดูแลเป็นอย่างดี (ชาวบ้านที่นี่น่ารัก อัธยาศัยดี) โครงการศึกษาดูงานด้านวิทยาศาสตร์การประมง วันที่ 5-7 เมษายน 2566

ที่มา: วิทยาศาสตร์การประมง มหาวิทยาลัยนเรศวร

ศึกษาดูงานสถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำระยองศึกษาดูงาน

วันที่ 5-7 เมษายน 2566 หลักสูตรวิทยาศาสตร์การประมง มหาวิทยาลัยนเรศวร จัดโครงการศึกษาดูงานด้านวิทยาศาสตร์การประมง ณ สถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำระยอง เพื่อให้นิสิตเกิดความรู้ความเข้าใจในการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล และมีความรู้ความสามารถด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ทั้งสัตว์น้ำจืด สัตว์น้ำเค็ม สัตว์น้ำเศรษฐกิจต่างๆ

ที่มา: วิทยาศาสตร์การประมง มหาวิทยาลัยนเรศวร

Sustainability

NARESUAN UNIVERSITY

Solverwp- WordPress Theme and Plugin