Archives September 2023

กิจกรรมทันตะอาสาสานฝัน: ถุงยาพา smile

คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ขอชื่นชมสโมสรนิสิตคณะทันตแพทยศาสตร์ ที่ได้จัดกิจกรรมทันตะอาสาสานฝัน: ถุงยาพา smile ในวันที่ 18-22 กันยายน 2566 โดยที่นิสิตทันตแพทย์ ทุกชั้นปี ตั้งใจใช้ทักษะฝีมือในการวาดและระบายสีถุงผ้า เพื่อมอบให้ผู้ป่วยที่มารับการรักษาในโรงพยาบาลทันตกรรม คณะทันตแพทยศาสตร์ ซึ่งถุงผ้าที่ผู้รับจะได้นั้นมีหนึ่งเดียวในโลกจากฝีมือและจินตนาการความสร้างสรรค์ของนิสิตทันตแพทย์ ถือเป็นการทำงานจิตอาสา และช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ลดมลพิษจากขยะถุงพลาสติกด้วยการใช้กระเป๋าผ้ารักษ์โลก

เมืองนวัตกรรมอาหารส่วนขยาย มหาวิทยาลัยนเรศวร ขอเชิญชวนเข้าร่วมกิจกรรมกับ Food Innopolis สวทช.

NU SciPark โดยเมืองนวัตกรรมอาหารส่วนขยาย มหาวิทยาลัยนเรศวร (Food Innopolis@NU) ขอเชิญชวนเข้าร่วมกิจกรรมกับ Food Innopolis สวทช.

PADTHAI Social Enterprise รุ่นที่ 3 เปิดรับสมัครแล้ว!! เมืองนวัตกรรมอาหาร (Food Innopolis)
>> สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดย FI Accelerator ร่วมกับ เมืองนวัตกรรมอาหารส่วนขยายมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี เปิดรับสมัครผู้ประกอบการกิจการเพื่อสังคมด้านนวัตกรรม เกษตรอาหาร ที่ต้องการยกระดับกิจการ เพิ่มขีดความสามารถในการดำเนินธุรกิจ และสร้างโอกาสในการขยายตลาดทั้งใน และต่างประเทศ

[สิ่งที่ท่านจะได้รับ]
> การอบรมและเวิร์คช็อปอย่างเข้มข้นจากผู้เชี่ยวชาญ เพื่อพัฒนากิจการเพื่อสังคมด้านนวัตกรรมเกษตรอาหาร กว่า 10 ท่าน
> การถอดบทเรียนการพัฒนา ผู้ประกอบการกิจการเพื่อสังคม
> โอกาสเข้าถึงแหล่งสนับสนุน ด้านทุน ตลาด และการนำเสนอแผนธุรกิจทั้งในและต่างประเทศ
> การสนับสนุนผู้ประกอบการ กิจการเพื่อสังคม ด้านนวัตกรรมเกษตรอาหาร ด้วยบริการ แบบครบวงจร โดย One Stop Service จาก Food Innopolis และหน่วยงานเครือข่าย
> เข้าเป็นผู้ประกอบการ ในเครือข่ายของ Food Innopolis และโอกาสในการเข้าร่วมโครงการอื่น ๆของ FI Accelerator

[สมัครเลย หากท่านมีคุณสมบัติดังนี้]
> ผู้ประกอบการธุรกิจเกษตรอาหารที่มีวิธีการดำเนินธุรกิจ ในรูปแบบ Social Enterprise
> ผู้ประกอบการธุรกิจเกษตรอาหารที่กำลังปรับรูปแบบธุรกิจ ให้มีกลไกของ Social Enterprise
> ผู้ที่อยู่ในระบบนิเวศของการพัฒนาธุรกิจเกษตรอาหาร ในรูปแบบ Social Enterprise เช่น ภาคการศึกษา หน่วยงานวิจัยพัฒนา หน่วยงานให้ทุน เป็นต้น

[กำหนดการโครงการ]
> เปิดรับสมัครและสัมภาษณ์ เพื่อเข้าร่วมโครงการ ตั้งแต่วันนี้ – 15 ตุลาคม 2566
> ประกาศผลผู้ที่ผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการ : 15 ตุลาคม 2566
> ชำระค่าลงทะเบียน สำหรับผู้ที่ผ่านการคัดเลือก : 16 – 22 ตุลาคม 2566
> ศึกษาดูงานกิจการเพื่อสังคม : 6 – 7 พฤศจิกายน 2566
> อบรมเชิงปฏิบัติการ : 8 – 12 พฤศจิกายน 2566

สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมและสมัครเข้าร่วมโครงการตามลิงค์ > https://forms.gle/Stf7Z4GPKcg58DxR6
หรือ Facebook Page: Padthai by FoodInnopolis ติดต่อผู้ดูแลโครงการ 094 746 3822 (ศิญากาญจน์)

ที่มา: อุทยานวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร

โครงการประกวดสื่อออนไลน์ NU -SDGs “มหาวิทยาลัยกับการพัฒนาเป้าหมายที่ยั่งยืน”

มหาวิทยาลัยนเรศวร จัดโครงการประกวดสื่อออนไลน์ NU -SDGs “ชิงเงินรางวัลรวม 24,000 บาท” พร้อมกิจกรรมให้ความรู้ในด้านการพัฒนาเป้าหมายที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs)

>> เริ่มสมัครได้ตั้งแต่บัดนี้จนถึงวันที่ 4 กันยายน 2566
>> สอบถามรายระเอียดเพิ่มเติมได้ที่ งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยนเรศวร Tel. 0-5596-2333

NU-SDGs เพราะความยั่งยืนคือความสุขของชีวิต

รางวัลชนะเลิศ การประกวดผลิตสื่อออนไลน์ NU-SDGs ประเภทนิสิต

ชื่อผลงาน NU-SDGs เพราะความยั่งยืนคือความสุขของชีวิต

เรื่องย่อ เรื่องราวของนิสิตคนหนึ่ง ที่ได้ใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัยนเรศวร ได้พบเจอสิ่งต่าง ๆ มากมาย ไม่ว่าจะเรื่องราวสุขหรือทุกข์ แต่ทำให้นิสิตคนนี้ สามารถยิ้มออกมาได้ สิ่งเหล่านั้นจะคืออะไร มีความสำคัญอย่างไร ไปติดตามกันเลยกับ NU SDGs

พบกับช่วงให้ความรู้ SDGs หรือ เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน มีทั้งหมด 17 เป้าหมาย โดยองค์การสหประชาชาติ สามารถแบ่งออกเป็น 5 กลุ่มเป้าหมาย (5P) ดังนี้
1. กลุ่มเป้าหมายด้านสังคม (People) นำเสนอ NU Pride การยอมรับความหลากหลาย และการแต่งกายตามเพศสภาพ #nusdgs5

2. กลุ่มเป้าหมายด้านเศรษฐกิจ (Prosperity) นำเสนอ โครงการขนส่งมวลชน มหาวิทยาลัยนเรศวร (NU Transit) #nusdgs7

3. กลุ่มเป้าหมายด้านทรัพยากรธรรมชาติ (Planet) นำเสนอ โครงการปลูกรัก ปลูกเสลา (Your Home Always) #nusgds15

4. กลุ่มเป้าหมายด้านสันติภาพ (Peace) นำเสนอ ศูนย์ดูแลช่วยเหลือและเคียงข้างเพื่อนนิสิต มหาวิทยาลัยนเรศวร #nusdgs16

5. กลุ่มเป้าหมายหุ้นส่วนการพัฒนา (Partnership) นำเสนอ เพราะศิษย์เก่าคือทรัพยากรที่มีคุณค่าของมหาวิทยาลัยนเรศวร #nusdgs17

วิดีทัศน์นี้ จัดทำขึ้นเพื่อส่งเข้าประกวดในโครงการประกวดสื่อประชาสัมพันธ์ หัวข้อ การขับเคลื่อน SDGs ด้วยสื่อประชาสัมพันธ์ออนไลน์ งานประชาสัมพันธ์ กองกลาง มหาวิทยาลัยนเรศวร

Credit
Director : Ohm Chaipat Keatravee Panukon Rakklin
Video Grapher & Editor : Tanatorn Jeenpitak
Actor : อิสรานุวัฒน์ วินทะสมบัติ Cholthicha Thadsri Tanawat Wiriyadilok Raksina Sovannee Fs Chuenkamon Chayanin Onnom Namwhan Natthika Tang May
Speacial Thank : สภานิสิต มหาวิทยาลัยนเรศวร – Student Council of Naresuan University
Props : ศิษย์เก่า มหาวิทยาลัยนเรศวร

ม.นเรศวร จับมือสร้างศักยภาพและความพร้อมในการจัดการศึกษาในหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต

วันอังคารที่ 26 กันยายน 2566 รศ.ดร.ศรินทร์ทิพย์ แทนธานี รักษาราชทารแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยนเรศวร และผศ.ดร.ปรีชา ศรีเรืองฤทธิ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) ณ ห้องนเรศวร 310 สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยนเรศวร

โดยบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างศักยภาพและความพร้อมในการจัดการศึกษาในหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต และสร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านวิชาการ งานบริการวิชาการ และงานวิจัย ระหว่างบุคลากรของทั้งสองสถาบัน

และมี อาจารย์ ดร.นิคม โยกัญญา รองอธิการฝ่ายบัณฑิตศึกษาและกิจการพิเศษ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชัยยา นรเดชานันท์ คณบดีคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์, ผศ.ดร.ยุวยงค์ จันทรวิจิตร คณบดีคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ร่วมลงนามเป็นพยานในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ พร้อมแขกผู้มีเกียรติทั้ง 2 คณะให้เกียรติเข้าร่วมเป็นสักขีพยานในการลงนามครั้งนี้ด้วย

ที่มา: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

“การให้จากชีวิตสู่ชีวิต”

วันที่ 20 กันยายน 2566 งานกิจการนิสิตและศิษย์เก่าสัมพันธ์ และสโมสรนิสิตคณะมนุษยศาสตร์ ร่วมกับ ภาคบริการโลหิตแห่งชาติที่ 9 พิษณุโลก สภากาชาดไทย จัดกิจกรรมรับบริจาคโลหิต ณ ลานอเนกประสงค์ อาคาร 1 คณะมนุษยศาสตร์ นำโดย ดร.ภูริตา เรืองจิรยศ รองคณบดีฝ่ายกิจการนิสิตและศิษย์เก่าสัมพันธ์ เพื่อเชิญชวนผู้มีจิตศรัทธาร่วมบริจาคโลหิตเพื่อส่งต่อความหวังโดยการใช้เลือดในร่างกายของเราที่ตั้งใจสละ เพื่อต่ออายุขัยชีวิตของเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน โดยมีคณาจารย์ บุคลากรและนิสิตร่วมบริจาคเลือดจำนวน 74 ราย และได้รับโลหิตบริจาค จำนวน 58 ยูนิต นับได้ว่าเป็นทานที่ต้องใช้ความตั้งมั่น และตั้งใจในระดับหนึ่ง เพราะคือ “การให้จากชีวิตสู่ชีวิต”

ที่มา: คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

ม.นเรศวร ให้ความรู้การลดการใช้พลังงานไฟฟ้าและการทำ Solar Rooftop

วันที่ 4 กันยายน 2566 รศ.ดร.นิพนธ์ เกตุจ้อย ผู้อำนวยการ SGtech รศ.ดร.ประพิธาริ์ ธนารักษ์ รองผู้อำนวยการฝ่ายบริหาร ผศ.ดร.ยอดธง เม่นสิน รองผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ และนายวิกานต์ วันสูงเนิน หัวหน้างานวิจัยและบริการวิชาการ ให้การต้อนรับและให้คำปรึกษาแก่ผู้บริหารและคณาจารย์ จาก รร.ผดุงราษฏร์ จ.พิษณุโลก เรื่องการลดการใช้พลังงานไฟฟ้าและการทำ Solar Rooftop

ที่มา: วิทยาลัยพลังงานทดแทนและสมาร์ตกริดเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยนเรศวร

นิสิตและศิษย์เก่าสัมพันธ์ ร่วมกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการช่วยฟื้นชีวิตขั้นพื้นฐาน (CPR)

วันที่ 3 กันยายน 2566 คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร โดยงานกิจการนิสิตและศิษย์เก่าสัมพันธ์ จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการช่วยฟื้นชีวิตขั้นพื้นฐาน (CPR) และการใช้เครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าชนิดอัตโนมัติ (AED) แก่นิสิตจำนวน 2 รุ่น รวมทั้งสิ้น 105 คนซึ่งได้รับความอนุเคราะห์จากทีมพยาบาลศูนย์ฉุกเฉินและอุบัติเหตุ โรงพยาบาลพิษณุเวช จังหวัดพิษณุโลก โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.นิทรา กิจธีระวุฒิวงษ์ คณบดีคณะสาธารณสุขศาสตร์ ให้เกียรติเป็นประธานในการเปิดโครงการฯ

โครงการนี้มุ่งเน้นเพื่อให้นิสิตที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้ ความเข้าใจ และมีทักษะในการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน(Basic Life Support) ด้วยวิธีการที่ถูกต้องเพื่อเสริมสร้างความมั่นใจในการช่วยเหลือเมื่อประสบเหตุในสถานการณ์จริง อันจะเป็นพื้นฐานสำคัญในการทำงานด้านความปลอดภัย และการทำงานด้านสุขภาพของประชาชน และยังเป็นการเสริมสร้างอัตลักษณ์ของนิสิตในการมีความรู้และทักษะติดตัวเพื่อเป็นบัณฑิตที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมต่อไป (Accountability) ณ ห้องปฏิบัติการสาขาวิชาอนามัยชุมชน คณะสาธารณสุขศาสตร์

ที่มา: คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

ม.นเรศวร ร่วมจัดทำแผนที่นำทางเทคโนโลยี สำหรับธุรกิจ BCG

NU SciPark จับมือ NSRU ระดมสมองทำ Roadmap พัฒนาธุรกิจ BCG ในพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ 🌾🎋

วันที่ 14 กันยายน 2566 ดร.พิสุทธิ์ อภิชยกุล รองอธิการบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์และการถ่ายทอดเทคโนโลยี ม.นเรศวร พร้อมด้วยอุทยานวิทยาศาสตร์ ม.นเรศวร นำทีมโดย ผศ.ดร.สมลักษณ์ วรรณฤมล กีเยลาโรว่า ผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ ม.นเรศวร และรศ.ดร.รังสรรค์ เจริญสุข รองผู้อำนวยการฯ พร้อมด้วย รศ.ดร.ธนัชสัณห์ พูนไพบูลย์พิพัฒน์ ผู้ประสานงานเครือข่ายนักวิชาการรัฐกับเอกชนภาคเหนือล่าง ร่วมจัดทำแผนที่นำทางเทคโนโลยี สำหรับธุรกิจ BCG ในพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ ระหว่าง มหาวิทยาลัยนเรศวร และ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์ เพื่อเสริมสร้างการแลกเปลี่ยนเรียนรู้มหาวิทยาลัยเครือข่ายก่อตั้งและมหาวิทยาลัยเครือข่ายใหม่ ภายใต้โครงการบริหารจัดการและพัฒนาเครือข่ายอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค ภาคเหนือ ในรูปแบบกิจกรรมเสริมสร้างขีดความสามารถและเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างเครือข่ายก่อตั้ง (บัดเดอร์) อุทยานวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร และเครือข่ายใหม่ (บัดดี้) มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์ ให้ดำเนินงานอุทยานวิทยาศาสตร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพและเสริมสร้างความเข้มแข็งให้มหาวิทยาลัยบัดดี้

โอกาสนี้ได้รับเกียรติจาก นายจุมพฏ วรรณฉัตรสิริ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครสวรรค์ ด้านเศรษฐกิจ สำนักงานจังหวัดนครสวรรค์ เป็นประธานกล่าวเปิดงาน และ ผศ.ดร.สมบูรณ์ นิยม ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมงาน นอกจากนี้ยังได้รับเกียรติจาก ดร.สราวุธ สัตยากวี รองผู้อำนวยการสำนักกลยุทธ์และพัฒนากองทุน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) เป็นวิทยากรร่างแผนที่นำทางเทคโนโลยี สำหรับธุรกิจ BCG ในพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ โดยมีผู้แทนจากทางภาครัฐ ภาคเอกชน ร่วมระดมความคิดเห็นแผนที่นำทางฯ ณ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์

ที่มา: อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

ม.นเรศวร ร่วมอบรมแบบเข้มข้นในกิจกรรม BCG INNOVATIVE BUSINESS INCUBATION : “Network Development Project for Globalization”

วันที่ 6 -11 กันยายน 2566 NU SciPark ม.นเรศวร นำทีม โดย ดร.ปัญญวัณ ลำเพาพงศ์ รองผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร พร้อมบุคลากร เข้าร่วมอบรมในโครงการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือการบ่มเพาะธุรกิจนวัตกรรม BCG สู่สากล BCG INNOVATIVE BUSINESS INCUBATION : “Network Development Project for Globalization” เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ด้านการบ่มเพาะธุรกิจนวัตกรรมเกษตร ภายใต้แนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจ BCG รวมถึงการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือด้านการบ่มเพาะธุรกิจเทคโนโลยี ระหว่างเครือข่ายอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาคของประเทศไทย กับมหาวิทยาลัยแห่งรัฐเบงเก็ต ประเทศฟิลิปปินส์ ณ ห้องประชุม 311 อาคาร 75ปี แม่โจ้ คณะสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จ.เชียงใหม่

ภายในงานจัดให้มีการบรรยายพิเศษในหัวข้อ “ภาพรวมการดำเนินงานอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาคและการบ่มเพาะธุรกิจเทคโนโลยีในประเทศไทย” เพื่อสร้างความรู้และความเข้าใจถึงความสำคัญของภารกิจอุทยานวิทยาศาสตร์ในการผลักดันการนำผลงานวิจัยไปต่อยอดสู่เชิงพาณิชย์ โดย ดร.ชาญวิทย์ ตรีเดช สำนักงานปลัด กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

การบรรยายพิเศษในหัวข้อ “BCG Model : From Local to Global” เพื่อแบ่งปันประสบการณ์และแนวทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นสู่สากลอย่างยั่งยืน โดย ผศ. ดร.เกษมศักดิ์ อุทัยชนะ รองผู้อำนวยการ อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

กิจกรรม “Icebreaking และ Network Community Sharing (สร้างเครือข่าย ขยายความร่วมมือ)” โดยมี อาจารย์ ดร.พนมพร เฉลิมวรรณ์ อาจารย์ประจำหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และนายวิรวัฒน์ ญาณวุฒิ อาจารย์พิเศษ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยแม่โจ้

บรรยายพิเศษในหัวข้อ “การพัฒนาธุรกิจเกษตรและอาหารจากชุมชนสู่ตลาดโลก” (From Local Farmer to Global Market) เพื่อแบ่งปันประสบการณ์การยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นสู่ระดับสากล รวมถึงการสร้างความร่วมมือกับเกษตรกรในชุมชนให้เกิดการขับเคลื่อนร่วมกับธุรกิจ โดย คุณณลี อายุ จือปา ผู้ก่อตั้งอาข่าอาม่า (AKHA AMA COFFEE)

บรรยายและอบรมเชิงปฏิบัติการในหัวข้อ “การวิเคราะห์และวิจัยทางการตลาด (Market Analysis and Market Research Workshop)” เพื่อใช้เครื่องมือในค้นหาความต้องการของคนส่วนใหญ่ในปัจจุบัน แล้วนำมาวิเคราะห์สู่การพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์สู่ตลาด โดย อาจารย์นนท์ ปิ่นเงิน รองคณบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษาและกิจการพิเศษ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยแม่โจ้

บรรยายและอบรมเชิงปฏิบัติการในหัวข้อ “การออกแบบและพัฒนาแผนธุรกิจสำหรับบริการด้านการบ่มเพาะธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรม” (Business Model Design for Technology and innovation Business Incubation) โดย คุณภัทราภรณ์ กันยะมี ผู้ก่อตั้งบริษัท เดอะลิตเติ้ล ออนเนี่ยน แฟคทอรี่ จำกัด

อบรมเชิงปฏิบัติการในหัวข้อ “การคัดกรองแนวความคิดในการออกแบบผลิตภัณฑ์หรือบริการแก่ลูกค้า” (Ideas Filtration) และหัวข้อ “เครื่องมือปรับปรุงกระบวนการให้บริการด้วย Service Blueprint” โดย ดร.ก่อศักดิ์ โตวรรธกวณิชย์ ผู้จัดการพัฒนานวัตกรรมและบ่มเพาะธุรกิจใหม่ บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคัล จำกัด (มหาชน)

ปิดท้ายด้วย กิจกรรมศึกษาดูงาน เรียนรู้การผลิต การบริหารจัดการธุรกิจแปรรูป ณ บริษัท ปริ๊นเซส ฟูดส์ จำกัด

ที่มา: อุทยานวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร

Sustainability

NARESUAN UNIVERSITY

Solverwp- WordPress Theme and Plugin