ม.นเรศวร ให้ความรู้ระบบการทำงานของสถานีบำบัดน้ำเสียส่วนกลาง

กองอาคารสถานที่ยินดีต้อนรับ คณะศึกษาดูงานคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ สาขาจุลชีววิทยา ชั้นปีที่ 4 วันอังคารที่ 6 กันยายน 2565 เวลา 13.30 น. บุคลากรกองอาคารสถานที่ ให้การต้อนรับคณะศึกษาดูงาน นิสิตคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ สาขาจุลชีววิทยา ชั้นปีที่ 4 โดย ดร.ศิริวัฒน์ คูเจริญไพบูลย์ อาจารย์ผู้ควบคุม เพื่อเยี่ยมชมและศึกษาระบบการทำงานของสถานีบำบัดน้ำเสียส่วนกลางของมหาวิทยาลัย ในรายวิชาจุลชีววิทยาสิ่งแวดล้อมและบรรยากาศเป็นไปด้วยความอบอุ่น ณ สถานีบำบัดน้ำเสียส่วนกลาง มหาวิทยาลัยนเรศวร

ที่มา: กองอาคารสถานที่ มหาวิทยาลัยนเรศวร

อาจารย์ ม.นเรศวร ร่วมเป็นวิทยากรบรรยายงานประชุมวิชาการระดับภูมิภาคด้านพลังงาน

รศ.ดร.นิพนธ์ เกตุจ้อย และ ดร.ยอดธง เม่นสิน ร่วมเป็นวิทยากรบรรยายงานประชุมวิชาการระดับภูมิภาคด้านพลังงาน เรื่อง “Regional Conference on Energy Resilience through Decentralized Power Plants and Smart Grid Integration” จัดโดย สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ร่วมกับ Asian and Pacific Centre for Transfer of Technology (APCTT) ภายใต้งาน ASEAN Sustainable Energy Week 2022 (ASEW20220 วันที่ 15 กันยายน 2565

โดยบรรยายใน SESSION II: Integration of decentralized power plants with smart grids – opportunities, challenges and barriers.
– รศ.ดร.นิพนธ์ เกตุจ้อย บรรยายหัวข้อ “Integration of distributed energy resources with virtual power plant platform – opportunities, challenges and barriers in Thailand”
– ดร.ยอดธง เม่นสิน บรรยายหัวข้อ “Microgrid Service Solution: the zero net energy concept”

สามารถรับชมและรับฟังได้ที่ https://www.youtube.com/watch?v=CboJPfhxonw
เอกสารประกอบการบรรยาย https://apctt.org/…/regional-conference-energy

ที่มา: วิทยาลัยพลังงานทดแทนและสมาร์ตกริดเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยนเรศวร

อาจเป็นรูปภาพของ 9 คน

มน. นำร่อง บางระกำ และเนินมะปราง วิจัยแก้ไขปัญหายากจน ต่อยอดอาชีพของชาวบ้านแบบยั่งยืน

วันที่ 13 กันยายน 2565 ที่ห้องประชุมสถานคุ้มครองสวัสดิภาพผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์(บ้านสองแคว) จังหวัดพิษณุโลก นายรณรงค์ นครจินดา รองผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก พร้อมด้วย ดร.จิรวัฒน์ พิระสันต์ หัวหน้าโครงการวิจัยพร้อมคณะนักวิจัยมหาวิทยาลัยนเรศวร เปิดตัวโครงการ “การศึกษาแนวทางการแก้ไขปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำภาคเหนือตอนล่าง : กรณีศึกษาจังหวัดพิษณุโลก ระยะที่ 2” เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตคนจนในพื้นที่ 2 ตำบลของ ได้แก่ ต.วังอิทก และ ต.ชุมแสงสงคราม ของ อ.บางระกำ และ ต.ไทรย้อย อ.เนินมะปราง  โดยเฉพาะ อ.บางระกำ ได้ศึกษา จำนวน 2,000 คน เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น มีศักยภาพในการประกอบอาชีพตรงตามที่ผู้จ้างงานต้องการ

โครงการนี้ได้รับความร่วมมือจากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.)ภายใต้แผนงาน ริเริ่มสำคัญ การวิจัยและนวัตกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาคนจนอย่างเบ็ดเสร็จและแม่นยำ คือการพัฒนาระบบฐานข้อมูลครัวเรือนคนจนที่ถูกต้องและแม่นยำ อีกทั้งมีระบบและกลไกในการส่งต่อคนจนไปยังหน่วยงานต่างๆ ในจังหวัด การยกระดับและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนจนให้หลุดพ้นจากความยากจนลดความเหลื่อมล้ำในสังคม ตลอดจนค้นหา และพัฒนานวัตกรรม การแก้ไขปัญหาความยากจนต่างๆให้เหมาะสมและสอดคล้องกับบริบทและความต้องการของคนจนในพื้นที่ ภายใต้ความร่วมมือของหน่วยงานต่างๆ ทั้งในภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม

ดร.จิรวัฒน์ พิระสันต์ หัวหน้าโครงการวิจัยพร้อมคณะนักวิจัยมหาวิทยาลัยนเรศวร ได้กล่าวว่า สำหรับโครงการแก้ปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำของภาคเหนือตอนล่าง ทางมหาวิทยาลัยนเรศวร ได้ทำการวิจัยและรับผิดชอบ จังหวัดพิษณุโลก ในภาคเหนือตอนล่าง โดยได้เริ่มในระยะนี้เป็นระยะที่ 2  ซึ่งเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2564 ทาง บพท. ได้ร่วมกับกระทรวงมหาดไทย กระทรวงอุดมศึกษาได้ตระหนักถึงความยากจนของประชาชน จึงมอบหมายให้มหาวิทยาลัยนเรศวร ซึ่งเป็นหน่วยงานทางวิชาการได้เข้ามาโดยนำเอากลไกต่างๆเข้ามาพัฒนาคนจนในรูปแบบต่างๆ โดยทั่วประเทศมี 10 จังหวัดนำร่อง จ.พิษณุโลกเป็นจังหวัดหนึ่งในภาคเหนือตอนล่าง เพียงจังหวัดเดียวที่ได้รับการจัดทำการวิจัย ซึ่งเราทำสำเร็จแล้วในเฟสที่ 1 โดยเลือก อ.บางระกำ และ อ.เนินมะปราง เป็น อำเภอนำร่องในการพัฒนาอาชีพของประชาชนที่มีความยากจนขึ้นมา ซึ่งหลังจากการได้ทำการสำรวจร่วมกับทางจังหวัดแล้ว ทำให้เห็นได้ว่าความยากจนของประชาชนในจังหวัดพิษณุโลก ดีขึ้น ที่เราปูพรมพื้นที่ อ.บางระกำ ประชาชน คนจนจำนวน 2000 คน ให้ผ่านความยากจนให้ได้ภายในปีนี้

ในระยะที่ 2 งานของเราจึงมีอยู่ 3 เรื่องด้วยกัน คือเรื่องของการสำรวจใหม่อีกรอบหนึ่งสำหรับคนจนใน อ.บางระกำ ว่ามีการตกสำรวจหรือไม่ เรื่องที่ 2 คือการสร้างกลไก “โมเดลสร้างอาชีพ” ขึ้นมาทั้งหมด 16 อาชีพ อาทิ การพัฒนาคุณภาพพันธุ์ข้าว  การสร้างอาชีพต่างๆ อาทิ วิถีการทำปลาร้า ,ปลาส้ม, การแปรรูปเกล็ดปลา ซึ่งล้วนแล้วต่อยอดจากอาชีพดั่งเดิม ของชาวบ้าน เพื่อให้ชาวบ้านมีรายได้และพัฒนาชีวิตที่ดีขึ้น  โดยในการที่จะนำพัฒนาคนจนของเราขึ้นมา รวมทั้งพัฒนาวิสาหกิจชุมชน อีก 5 แห่ง เพื่อที่จะให้คนจนเข้าไปอยู่ในวิสาหกิจชุมชน นอกจากนี้เรายังทำแพลตฟอร์มคนจนทั้ง 2,000 คน เข้าไปอยู่ในแพลตฟอร์มของเรารวมทั้ง ถ้าใครไม่ได้รับการพัฒนาในอาชีพ แต่มีความสามารถในด้านอื่นๆ เราก็จะนำเข้าไปอยู่แพลตฟอร์ม โดยมีตัวแทนของหน่วยงานเอกชน เพื่อมาเลือกหาแรงงานที่จะเข้าไปร่วมงานเพื่อช่วยเหลือคนจนให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น คือทางเราจะดูและในเรื่องของการพัฒนาทักษะอาชีพต่างๆ ร่วมไปถึงการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเรียกได้ว่าเป็นการทำงานร่วมมือกันระหว่างหน่วยงานต่างๆ เพื่อยกระดับปัญหาคนจนให้หมดไป

ซึ่งโครงการนี้ถือว่าเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับคนจนในอำเภอบางระกำให้ใช้ทรัพยากรที่มีเพื่อเพิ่มมูลค่า สร้างรายได้เพิ่มขึ้น พัฒนาศักยภาพให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก และมีช่องทางในการหางานทำที่สามารถเข้าถึงผู้จ้างงานได้ง่าย หรือให้ผู้จ้างงานเข้าถึงคนจนที่มีศักยภาพตามที่ต้องการได้

ที่มา: phitsanulokhotnews

บริการวิชาการสู่ชุมชน เสริมความรู้ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม

เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2565 สาขาวิชาอนามัยสิ่งแวดล้อม คณะสาธารณสุขศาสตร์ โดย ดร.กนกทิพย์ จักษุ ผู้รับผิดชอบโครงการ พร้อมด้วย คณาจารย์ และนิสิตชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาอนามัยสิ่งแวดล้อม จัดโครงการบริการวิชาการตรวจติดตามคุณภาพสิ่งแวดล้อม โดยมี นายสุริยา จันทิมา ผู้อำนวยการโรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคม เป็นประธานในการกล่าวเปิดพิธี ซึ่งโครงการดังกล่าว เป็นโครงการบริการวิชาการ อีกทั้งยังเป็นความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษา ในการจัดกิจกรรมบริการวิชาการสู่ชุมชน โดยมีการจัดกิจกรรม 2 กิจกรรม ดังนี้
1) กิจกรรมเสริมความรู้ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม ให้แก่แกนนำนักเรียน จำนวน 160 คน โดยถ่ายทอดในรูปแบบฐานกิจกรรม เพื่อให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้ฝึกทักษะ ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม รวมถึงการปนเปื้อนและความปลอดภัยในอาหาร โดยมีคณาจารย์และนิสิตเป็นวิทยากรให้คำแนะนำ
2) กิจกรรม ตรวจติดตามคุณภาพสิ่งแวดล้อม และสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมภายในโรงเรียนเบื้องต้น

เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานในการจัดการสิ่งแวดล้อม และให้ชุมชมได้รับการบริการเกี่ยวกับการจัดการปัญหาทางด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ณ โรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคม

ที่มา: สาขาวิชาอนามัยสิ่งแวดล้อม คณะสาธารณสุขศาสตร์ มน.

ม.นเรศวร เปิดเวทีประชุมนานาชาติระเบียงเศรษฐกิจ หลวงพระบาง-อินโดจีน-เมาะลำไย ครั้งที่ 5

เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2566, มหาวิทยาลัยนเรศวรภายใต้การนำของ รองศาสตราจารย์ ดร.วัฒนา พัดเกตุ รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ ได้เปิดการประชุมระดับนานาชาติ ระเบียงเศรษฐกิจหลวงพระบาง อินโดจีน และเมาะลำไย ครั้งที่ 5 (The 5th LIMEC Academic International Conference) ซึ่งจัดขึ้นโดย คณะโลจิสติกส์และดิจิทัลซัพพลายเชน เพื่อเสริมสร้างการพัฒนาเศรษฐกิจ การค้า และการลงทุนในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจหลวงพระบาง อินโดจีน และเมาะลำไย การประชุมครั้งนี้ถือเป็นเวทีสำคัญในการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์จากนักวิจัย คณาจารย์ นักศึกษา และผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายสาขา ที่มารวมตัวกันเพื่อผลักดันการพัฒนาเศรษฐกิจในภูมิภาคตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ซึ่งมีความสำคัญต่อการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs)

การประชุมครั้งนี้จัดขึ้นภายใต้หัวข้อ “เทคโนโลยีดิจิทัลด้านโลจิสติกส์สำหรับฐานชีวิตใหม่” (Logistics for New Normal with Digital Technology) ซึ่งสะท้อนถึงการเปลี่ยนแปลงในเศรษฐกิจและสังคมที่เกิดขึ้นหลังการระบาดของโรค COVID-19 โดยการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพในการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน การปรับตัวอย่างรวดเร็วของภาคธุรกิจในภูมิภาคและในระดับโลกหลังวิกฤตได้ผลักดันให้ เทคโนโลยีดิจิทัล กลายเป็นเครื่องมือสำคัญที่มีบทบาทในการเชื่อมโยงการทำธุรกิจ การค้า และการลงทุน ซึ่งสามารถช่วยพัฒนาเศรษฐกิจให้เติบโตและยั่งยืน

การประชุมครั้งนี้ได้เน้นการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการจัดการโลจิสติกส์ข้ามแดน โดยเฉพาะในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจที่มีการเคลื่อนไหวของสินค้าและบริการข้ามประเทศอย่างต่อเนื่อง ซึ่งการพัฒนา โลจิสติกส์ ได้กลายเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจของภูมิภาค การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลจึงช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการการขนส่งและการกระจายสินค้าระหว่างประเทศ ซึ่งส่งผลดีต่อ SDG 8 (การเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืนและการทำงานที่ดี) โดยสามารถสร้างงานและอาชีพใหม่ ๆ และเสริมสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจในภูมิภาค

นอกจากนี้ การประชุมครั้งนี้ยังสอดคล้องกับ SDG 1 (การขจัดความยากจน) โดยการส่งเสริมให้เกิดการลงทุนที่สร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจในพื้นที่ชนบทและเขตพื้นที่เศรษฐกิจต่างๆ ซึ่งช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน การพัฒนาภาคธุรกิจในพื้นที่เหล่านี้สามารถช่วยลดความยากจนและเสริมสร้างโอกาสทางการงานสำหรับประชาชนในท้องถิ่น

การประชุม LIMEC ครั้งที่ 5 ยังเป็นเวทีที่เปิดโอกาสให้นักวิจัย คณาจารย์ และนักศึกษาได้แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์จากผู้เชี่ยวชาญในหลายสาขา โดยเฉพาะในด้านโลจิสติกส์ ดิจิทัลซัพพลายเชน และการพัฒนาเศรษฐกิจภาคธุรกิจ การประชุมครั้งนี้สะท้อนถึงบทบาทของมหาวิทยาลัยในการสนับสนุน SDG 4 (การศึกษาเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต) เนื่องจากเป็นการสร้างโอกาสในการเรียนรู้และพัฒนาทักษะใหม่ ๆ ให้กับบุคลากรในภาคธุรกิจและนักศึกษา

การบรรยายพิเศษและการเสวนาครั้งนี้เน้นการใช้ ดิจิทัลทรานฟอเมชั่น ในการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจและการทำงานในโลกหลังการระบาด โดยเฉพาะในการ สร้างความยืดหยุ่นให้กับโซ่อุปทาน ในโลกหลังการระบาดของ COVID-19 ซึ่งสามารถช่วยสร้างความมั่นคงและยั่งยืนในระบบเศรษฐกิจและธุรกิจ การเสวนาเหล่านี้ทำให้ผู้เข้าร่วมได้รับแนวทางในการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่สามารถใช้ในการปรับตัวในสภาพเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและพลิกผัน

การประชุมครั้งนี้ยังเป็นการเปิดโอกาสให้คณะโลจิสติกส์และดิจิทัลซัพพลายเชนของมหาวิทยาลัยนเรศวรเผยแพร่งานวิจัยในระดับสากล โดยการเปิดตัว “1st International Journal & Conference of Logistics and Digital Supply Chain” ซึ่งเป็นวารสารวิชาการนานาชาติที่มุ่งเน้นการเผยแพร่ผลงานวิจัยในด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน การเปิดตัววารสารนี้ช่วยเพิ่มมาตรฐานทางวิชาการและสร้างโอกาสในการเผยแพร่งานวิจัยทางการศึกษาและวิทยาศาสตร์ในวงกว้าง ซึ่งเป็นการสนับสนุน SDG 4 โดยตรงในการส่งเสริมการศึกษาระดับสูงและการวิจัยที่มีคุณภาพ

มหาวิทยาลัยนเรศวรยังคงมุ่งมั่นที่จะเป็นศูนย์กลางของการศึกษาและการวิจัยที่สามารถสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในภูมิภาคและระดับโลก โดยการขับเคลื่อนความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และสถาบันการศึกษาเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจใน ระเบียงเศรษฐกิจหลวงพระบาง อินโดจีน และเมาะลำไย การประชุมครั้งนี้เป็นการส่งเสริมการเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจระหว่างสามประเทศหลักที่อยู่ในเขตระเบียงเศรษฐกิจนี้ และเป็นการสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มและสร้างรายได้ให้แก่ชุมชนในพื้นที่

ม.นเรศวร ร่วมผนึกกำลังสร้างภูมิคุ้มกันแลป้องกันยาเสพติดในสถาบันอุดมศึกษาภาคเหนือตอนล่าง

มหาวิทยาลัยนเรศวร ได้จัดให้มีกิจกรรมที่ 2 ประชุมสรุปผลการดำเนินงานโครงการสร้างภูมิคุ้มกันและป้องกันยาเสพติดในสถาบันอุดมศึกษา ภาคเหนือตอนล่างปีงบประมาณ 2565 เมื่อวันที่ 2 กันยายน 2565 ณ โรงแรมหรรษนันท์ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก โดย ดร.จรัสดาว คงเมือง รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนานิสิต ศิษย์เก่า และศิลปวัฒนธรรม เป็นประธานกล่าวเปิดและมอบเกียรติบัตรให้แก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรม โดยมีตัวแทนซึ่งเป็นผู้บริหารและผู้รับผิดชอบโครงการสร้างภูมิคุ้มกันและป้องกันยาเสพติดในสถาบันอุดมศึกษา ภาคเหนือตอนล่าง ของสถาบันเครือข่ายภาคเหนือตอนล่างเข้าร่วมกันอย่างพร้อมเพรียง ซึ่งสถาบันอุดมศึกษาเครือข่ายภาคเหนือตอนล่าง ได้ร่วมแลกเปลี่ยนรูปแบบและแนวทางในการดำเนินงานร่วมกัน อีกทั้งได้ร่วมกันให้ข้อเสนอแนะและตอบข้อซักถาม เพื่อนำไปสู่การพัฒนาการดำเนินของแต่ละสถาบันร่วมถึงพัฒนาความร่วมมือภายในเครือข่ายต่อไป

ที่มา: กองกิจการนิสิต มหาวิทยาลัยนเรศวร

ตรวจวิเคราะห์คุณภาพอาหาร “อาหารปลอดภัยใส่ใจผู้บริโภค” ณ โรงอาหาร NU Square และ NU Canteen

เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2565 สาขาวิชาอนามัยสิ่งแวดล้อม จัดกิจกรรมโครงการบริการวิชาการ บูรณาการโครงการวิชาอาหารปลอดภัยใส่ใจผู้บริโภค/ปฏิบัติการการตรวจวิเคราะห์คุณภาพอาหารโดยชุดทดสอบที่ได้มาตรฐาน ณ โรงอาหาร NU Square และ NU Canteen มหาวิทยาลัยนเรศวร ภายใต้รายวิชา 554311 Food Sanitation, Food Safety and Quality Control การสุขาภิบาลอาหาร อาหารปลอดภัย และการควบคุมคุณภาพ

ผู้รับผิดชอบรายวิชา ดร.สุดาวดี ยะสะกะ พร้อมด้วยคณาจารย์และนิสิตชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาอนามัยสิ่งแวดล้อม คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ลงพื้นที่ให้ความรู้ด้านสุขาภิบาลร้านค้า เสริมสร้างสุขนิสัยที่ดีในการปฏิบัติงาน ผู้สัมผัสอาหารปฏิบัติงานอย่างถูกต้อง การแต่งกายที่ถูกสุขลักษณะ การล้างมือ 7 ขั้นตอน รวมทั้งเก็บตัวอย่างมือผู้ประกอบการร้านอาหารต่าง ๆ โดย ใช้ชุดทดสอบ Swab Test Kit SI2 และเก็บตัวอย่างอาหารมาทดสอบในห้องปฏิบัติการ เพื่อนำผลมาวิเคราะห์ และเสนอแนะแนวทางการปฏิบัติและให้ความรู้เพื่อเป็นประโยชน์และสร้างสุขาภิบาลที่ดีต่อไป

ที่มา: สาขาวิชาอนามัยสิ่งแวดล้อม คณะสาธารณสุขศาสตร์ มน.

ม.นเรศวร ร่วมแลกเปลี่ยนแนวทางการดำเนินงานด้านณรงค์ป้องกันยาเสพติดในสถาบันอุดมศึกษาเครือข่ายภาคเหนือตอนล่าง

เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2565 มหาวิทยาลัยนเรศวร (สถาบันแม่ข่าย) ได้ร่วมแลกเปลี่ยนแนวทางการดำเนินงานด้านณรงค์ป้องกันยาเสพติดในสถาบันอุดมศึกษาเครือข่ายภาคเหนือตอนล่าง เป็นครั้งที่3 โดยได้เข้าร่วมแลกเปลี่ยนกับ 1.มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครสวรรค์ในประเด็นการลงพื้นที่เป้าหมายรณรงค์และให้ความรู้เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องและรู้เท่าทันสถานการณ์ยาเสพติดในปัจจุบัน 2.มหาวิทยาลัยภาคกลาง ในประเด็นผนวกการให้ความรู้เรื่องยาเสพติดเข้ากับวิชาเรียน และ 3.มหาวิทยาลัยเจ้าพระยา ให้ความรู้การทำคลิปเพื่อเผยแพร่ความรู้การรณรงค์ป้องกันยาเสพติด โดยทั้ง3สถาบัน จะได้นำสิ่งที่ได้จากการดำเนินงานร่วมแลกเปลี่ยนกับสถาบันอุดมศึกษา เครือข่ายภาคเหนือตอนล่างต่อไป

ที่มา: กองกิจการนิสิต มหาวิทยาลัยนเรศวร

รายการ รักไม่รู้โรย เรื่อง ปัญหาเรื่องเต้านมคุณแม่หลังคลอด

รายการ รักไม่รู้โรย เรื่อง ปัญหาเรื่องเต้านมคุณแม่หลังคลอด
>>วิทยากรโดย อาจารย์กนกอร มังกรประดิษฐ์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาการพยาบาลมารดรและทารก

ดำเนินรายการโดย ผศ.ดร.วรวรรณ์ ทิพย์วารีรมย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
ที่มา: สถานีวิทยุกระจายเสียงมหาวิทยาลัยนเรศวร NUradio Naresuan

https://www.youtube.com/watch?v=VOpAWtuAzWU&t=54s

กยศ. มอบรางวัลกิจกรรมเชิดชูคนดี กยศ. เพื่อเป็นต้นแบบที่ดี (Role Model) จิตอาสาเต้านมเทียม

กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) มอบรางวัลกิจกรรมเชิดชูคนดี กยศ. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 เพื่อเป็นต้นแบบที่ดี (Role Model) ให้แก่ นักเรียน นักศึกษา ศิษย์เก่า กยศ. และสถานศึกษา เพื่อสร้างขวัญกำลังใจและความภาคภูมิใจแก่ผู้ที่ได้รับการคัดเลือกให้เป็นต้นแบบที่ดี

วันนี้ (26 สิงหาคม 2565) ณ ห้องประชุมวายุภักษ์ 4 ชั้น 4 กระทรวงการคลัง ได้มีพิธีมอบรางวัลกิจกรรมเชิดชูคนดี กยศ. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 โดยมี นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ ปลัดกระทรวงการคลัง และประธานกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา เป็นประธานในพิธีมอบรางวัลและร่วมแสดงความยินดีแก่ผู้ได้รับรางวัล

นายชัยณรงค์ กัจฉปานันท์ ผู้จัดการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา เปิดเผยว่า “ในโอกาสที่กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาได้จัดงานมอบรางวัลกิจกรรมเชิดชูคนดี กยศ. ให้แก่ นักเรียน นักศึกษา ศิษย์เก่า กยศ. และสถานศึกษา ซึ่งทุกท่านถือเป็นผู้ที่มีคุณงามความดี และเป็นต้นแบบที่ดีให้กับรุ่นน้องได้เห็นคุณค่าของเงินกู้ยืมมีทัศนคติที่ดีและถูกต้องต่อการกู้ยืมเงินเพื่อการศึกษา และมีคุณธรรมจริยธรรมจิตสำนึกความรับผิดชอบต่อสังคม รวมถึงมีความรับผิดชอบในการชำระเงินคืนกองทุน ซึ่งสมควรที่จะได้รับการยกย่องให้เป็นต้นแบบที่ดีของสังคมต่อไป ทั้งนี้ กองทุนมีความภาคภูมิใจที่ได้มีส่วนร่วมในการสร้างโอกาสทางการศึกษา และพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพ เพื่อเป็นกำลังสำคัญให้กับประเทศชาติในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมต่อไป กองทุนได้ดำเนินการคัดเลือกรางวัลกิจกรรมเชิดชูคนดี กยศ. โดยร่วมกับสถานศึกษาที่เข้าร่วมดำเนินงานกองทุนทั่วประเทศ เพื่อสรรหาผู้ที่เป็นต้นแบบที่ดี (Role Model) ให้แก่ นักเรียน นักศึกษา ศิษย์เก่า กยศ. และสถานศึกษา เพื่อสร้างขวัญกำลังใจและความภาคภูมิใจแก่ผู้ที่ได้รับการคัดเลือกให้เป็นต้นแบบที่ดีในการประพฤติปฏิบัติตน มีจิตสาธารณะ มีจิตสำนึกความรับผิดชอบต่อสังคม รวมถึงสร้างเครือข่ายผู้เป็นต้นแบบที่ดีของกองทุนที่จะได้เป็นส่วนสำคัญในการร่วมสร้างประโยชน์แก่สังคม และร่วมกันดำเนินกิจกรรมสาธารณประโยชน์ที่เกี่ยวกับกองทุนในโอกาสต่างๆ ทั้งนี้ กองทุนได้ประกาศผลการคัดเลือกต้นแบบที่ดี จำนวน 36 รางวัล ประกอบด้วย

นักเรียน นักศึกษา กยศ. ต้นแบบ จำนวน 12 รางวัล (แบ่งเป็นประเภทเดี่ยว จำนวน 9 รางวัล ประเภทกลุ่ม 3 รางวัล) โดยจะได้รับรางวัลทุนการศึกษา พร้อมใบประกาศเกียรติคุณ และเข็มคนดี กยศ.

ศิษย์เก่า กยศ. ต้นแบบ จำนวน 12 รางวัล โดยจะได้รับรางวัลทุนการศึกษา พร้อมใบประกาศเกียรติคุณ และเข็มคนดี กยศ.

สถานศึกษาต้นแบบ 12 รางวัล โดยจะได้รับโล่ประกาศเกียรติคุณ ในฐานะที่เป็นต้นแบบ    การบริหารจัดการงานกองทุนที่ดี มีการสร้างเครือข่ายจิตสาธารณะ เพื่อปลูกฝังให้นักเรียน นักศึกษา ร่วมทำประโยชน์เพื่อสังคมส่วนรวมอย่างเป็นรูปธรรม

ทั้งนี้ กองทุนเป็นหน่วยงานของรัฐในกำกับดูแลของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้ดำเนินการให้กู้ยืมเงินแก่นักเรียน นักศึกษา ตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ระดับอาชีวศึกษา จนถึงระดับอุดมศึกษา ผ่านสถานศึกษามากกว่า 4,000 แห่ง โดยมีผู้กู้ยืมที่ได้รับโอกาสทางการศึกษาทั่วประเทศกว่า 6.2 ล้านราย ซึ่งทุกคนล้วนเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนและพัฒนาประเทศให้มีความเจริญก้าวหน้าต่อไป” ผู้จัดการกองทุนฯ กล่าวในที่สุด

   ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยนเรศวรได้รับการคัดเลือกต้นแบบที่ดีและได้รับรางวัล  ดังนี้
1. นักเรียน นักศึกษา กยศ. ต้นแบบ
              1. นางสาวเบญจรัตน์ ดีเรือง มหาวิทยาลัยนเรศวร

2. ประเภทกลุ่ม “จิตอาสาเต้านมเทียม”
            1. นางสาวเอมมิกา ใจกลม มหาวิทยาลัยนเรศวร
              2. นางสาวกัญญ์วรา ขันวิเศษ มหาวิทยาลัยนเรศวร
              3. นางสาวรวิสรา สมบูรณ์มา มหาวิทยาลัยนเรศวร
              4. นางสาวธนภรณ์ ชัยสิทธิ์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
              5. นางสาวมานิตา สุนทรพจน์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

3. ​ประเภทกลุ่ม
              1. นายเกรียงศักดิ์ ลีลาศักดิ์สิริ มหาวิทยาลัยนเรศวร
              2. นางสาวมูนา กียะ มหาวิทยาลัยนเรศวร
              3. นางสาวณัฐติกรณ์ โยธาสิงห์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
              4. นางสาววชิราภรณ์ รุ่งอินทร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

4. สถานศึกษาต้นแบบ
              มหาวิทยาลัยนเรศวร

ที่มา: กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.)

Sustainability

NARESUAN UNIVERSITY

Solverwp- WordPress Theme and Plugin