สัมมนานักวิชาการระดับนานาชาติ SOFT POWER: THE CULTURAL DIPOMACY

เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2566 วารสารอารยธรรมศึกษา โขง-สาละวิน กองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยนเรศวร ร่วมกับภาคีเครือข่ายทางวิชาการ ดำเนินการจัดสัมมนานักวิชาการระดับนานาชาติด้าน อารยธรรมศึกษา ภายใต้หัวข้อ SOFT POWER: THE CULTURAL DIPOMACY ในรูปแบบออนไลน์และออนไซต์

โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภาณุ พุทธวงศ์ รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร มหาวิทยาลัยนเรศวร เป็นประธานในการเปิดงาน การสัมมนาทางวิชาการ โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 4 หัวข้อ ได้แก่
> หัวข้อ “Process of Korean Wave Development as a Key Driver for Economic Growth” โดย คุณโจ แจอิล (ผู้อำนวยการศูนย์วัฒนธรรมเกาหลีประจำประเทศไทย) และคุณซน จูยอง (ผู้จัดการฝ่ายกิจกรรมศูนย์วัฒนธรรมเกาหลีประจำประเทศไทย)

> หัวข้อ “Music for Healing Society” โดย รองศาสตราจารย์ นพ.ดร.ภัทรวุฒิ วัฒนศัพท์ (อาจารย์ประจำภาควิชาโสต ศอ นาสิกวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น)

> หัวข้อ “The Transformative Potential of Small-Scale Community Events: an LGBTQIA+ Perspective” โดย Dr.Williem Coetzee (Tourism, Research and Events, Western Sydney University, Australia

และหัวข้อ “Local Food on Global Stages” โดยอาจารย์อนุวัต เชื้อเย็น (ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษาด้านการท่องเที่ยวเชิงศิลปวิทยาการอาหารนานาชาติ คณะพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยแม่โจ้)

ดำเนินรายการโดย ดร.จารุวรรณ แดงบุบผา (ผู้อำนวยการสถานวิจัยเพื่อความเป็นเลิศด้านการจัดการการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยนเรศวร) และรองศาสตราจารย์ ดร.อุษา พัดเกตุ (Soft Skill Unit บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนเรศวร)

โดยมีนิสิตมหาวิทยาลัยนเรศวร นักวิชาการ ภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องและผู้สนใจเข้าร่วมงานเป็นจำนวนมาก ณ ห้องสุวรรณภิงคาร คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร และมีสถาบันการศึกษา ร นิสิต ทั้งนี้ เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ระหว่างนักวิชาการระดับนานาชาติด้านอารยธรรมศึกษา และเพื่อยกระดับวารสารอารยธรรมศึกษา โขง-สาละวิน เข้าสู่ฐานข้อมูลนานาชาติต่อไป

ทั้งนี้ ผู้สนใจสามารถติดตามการดำเนินงานเกี่ยวกับการจัดสัมมนาในหัวข้อที่น่าสนใจอื่น ๆ ในโอกาสต่อไป สำหรับผู้ที่ไม่ได้เข้ารับฟังการสัมมนาในครั้งนี้ ทางผู้จัดจะทยอยนำคลิปวิดีโอมาให้ท่านได้รับชมเร็ว ๆ นี้ และ ขอเชิญชวนผู้สนใจส่งบทความเข้ารับการตีพิมพ์ได้ที่วารสารอารยธรรมศึกษา โขง-สาละวิน โดยสามารถส่งบทความมาได้ที่ https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jnuks/index หรือทางเฟสบุ๊ควารสารอารยธรรมศึกษา โขง-สาละวิน https://www.facebook.com/profile.php?id=100063778124414 โทร.055-961205 คุณจรินทร พรมสุวรรณ

ที่มา: กองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยนเรศวร