Archives November 2023

ทุนการศึกษานิสิตคณะวิทยาศาสตร์ จำนวน 15 ทุน

รับสมัครทุนการศึกษานิสิตคณะวิทยาศาสตร์ จำนวน 15 ทุน ทุนการศึกษานิสิตคณะวิทยาศาสตร์ จำนวน 8 ทุน ทุนละ 5,000 บาท

คุณสมบัติทั่วไป (ผู้สมัครต้องมีคุณสมบัติทั่วไปครบทุกข้อ)
1.1 เป็นนิสิตชั้นปีที่ 1 – 3 ของคณะวิทยาศาสตร์ หลักสูตร 4 ปี
1.2 มีผลการเรียนคะแนนเฉลี่ยรวมทุกวิชา 2.00 ขึ้นไป
1.3 เป็นผู้ที่ทำหรือเข้าร่วมกิจกรรมของภาควิชาหรือคณะอย่างต่อเนื่อง หรือเป็นผู้ที่เคยบำเพ็ญประโยชน์ เพื่อสาธารณชนโดยมีหลักฐานปรากฏ
1.4 เป็นนิสิตที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ในการศึกษาและขยันอดออม
1.5 เป็นนิสิตที่มีความประพฤติดี เป็นแบบอย่าง แต่งกายถูกต้องตามกาลเทศะ
1.6 เป็นนิสิตที่ไม่เคยถูกทัณฑ์บนและการลงโทษทางวินัยนิสิต รวมทั้งไม่เคยถูกดำเนินคดีต่างๆ

รับสมัครตั้งแต่ 27 พฤศจิกายน – 15 ธันวาคม 2566
รายละเอียดการรับสมัคร คลิ๊ก >>> https://drive.google.com/…/1CdUZTVe4AoGHxeekVHvZB2wY6eI…งานกิจการนิสิต และศิษย์เก่าสัมพันธ์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร โทร 055963150-2

คณะแพทย์ ม.นเรศวร จัดกิจกรรม วันเบาหวานโลก ประจำปี 2566 เพื่อส่งเสริมให้ผู้ป่วยเบาหวานตระหนักถึงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 เวลา 08.00 น. ผศ.พญ.ศรินยา สัทธานนท์ อาจารย์แพทย์ภาควิชาอายุรศาสตร์ และ พญ.แพรว สุวรรณศรีสุข อาจารย์แพทย์ภาควิชาอายุรศาสตร์ กล่าวต้อนรับ ผู้เข้าร่วม กิจกรรม วันเบาหวานโลก (ค่ายเบาหวาน) ประจำปี 2566ณ ห้องประชุม CC2-801 ชั้น 8 อาคารเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบพระชนมพรรษา 2

ที่มา: คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

กีฬาสานสัมพันธ์ 22 ปี คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ ส่งเสริมความสามัคคีปรองดอง ให้รุ่นพี่-รุ่นน้อง

เมื่อวันที่ 20 – 24 พฤศจิกายน 2566 ทางสโมสรนิสิตและฝ่ายพัฒนานิสิตคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ร่วมจัดโครงการส่งเสริมอัตลักษณ์นิสิต (กิจกรรมกีฬาสานสัมพันธ์ 22 ปี คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์) กิจกรรม การแข่งขันกีฬาระหว่างนิสิตประเภทต่างๆ เพื่อส่งเสริมความสามัคคีปรองดอง ให้รุ่นพี่-รุ่นน้องและนิสิตแต่ละสาขาได้พบปะและรู้จักกันในช่วงสัปดาห์แรกของการเปิดเทอม และในวันที่ 25 พฤศจิกายน 2566 ณ อาคารอเนกประสงค์ จะเป็นการเฉลิมฉลองใน “กิจกรรมสานสัมพันธ์ 22 ปีคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์”

ทั้งนี้ได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์ ดร.เภสัชกรหญิงกรกนก อิงคนินันท์ รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรม รักษาการในตำแหน่งคณบดีคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ เป็นประธานในพิธีเปิด และมีผู้บริหาร คณาจารย์ บุคลากร ศิษย์เก่าและนิสิตเข้าร่วมกิจกรรมครั้งนี้ กิจกรรมดำเนินไปด้วยการนำของสโมสรนิสิตและชมรมพิธีกร และประกอบไปด้วยการวิ่งคบเพลิงจำลองโดยนักกีฬามหาวิทยาลัยนเรศวรที่เป็นนิสิตของคณะ การแสดงจากชมรมต่างๆ ได้แก่ ชมรมสันทนากร ชมรมผู้นำเชียร์ ชมรมคฑากร ชมรมคัฟเวอร์แดนซ์ การแข่งขันกีฬาพื้นบ้านของทั้งระหว่างนิสิตแต่ละสีและระหว่างนิสิตกับอาจารย์ ที่นำโดยพี่สีทั้ง 5 สี ได้แก่
• อ.พี่หนึ่ง ผศ.ดร.ทิพภาพร บัวเลิง พี่สีน้ำเงิน แซฟไฟร์ไฮเดรนเยีย
• อ.พี่ตั๊ก ผศ.ดร.จตุพร เงินคำ พี่สีแดง ปัตตาเวียดาหลา
• อ.พี่มิ้ง ดร.ศิริวัฒน์ คูเจริญไพบูลย์ พี่สีเหลือง อุไรอำพัน
• อ.พี่น่า ดร.ศศิธร วรรณอุดม พี่สีเขียว ปทุมมามรกต
• อ.พี่เดียว ดร.ศุทธินี วิสุทธธรรม พี่สีชมพู พญาเสือโคร่งอำไพ

นอกจากนั้นยังมีการมอบถ้วยรางวัลและเกียรติบัตรให้ผู้ชนะกีฬาแต่ละประเภท และปิดท้ายด้วยการแสดงดนตรีจากชมรมดนตรีสากล โดยบรรยากาศภายในงานเป็นไปด้วยความสนุกสนาน รอยยิ้ม เสียงหัวเราะและเป็นการสร้างสัมพันธ์อันดีระหว่างคณาจารย์ บุคลากร ศิษย์เก่าและนิสิต คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้ ขอขอบคุณการสนับสนุนของรางวัลจากผู้บริหารทุกท่าน คณาจารย์และเจ้าหน้าที่ที่มอบบรรดาของว่างและขนมต่างๆ ตลอดจนองค์กรภายนอกที่มอบบัตรกำนัล บัตรชมภาพยนตร์ต่างๆให้กับนิสิตได้อย่างทั่วถึง

ที่มา: ส่งเสริมความสามัคคีปรองดอง ให้รุ่นพี่-รุ่นน้อง

หน่วยใส่ฟันเทียมทันตกรรมพระราชทาน ออกพื้นที่บริการสร้างรอยยิ้มให้ประชาชน

วันที่ 21-23 ก.พ. 2566 จำนวนทั้งหมด 34 ราย ณ รพ.สต.โพนทอง ตำบลโพนทอง อำเภอโพธิ์ตาก จังหวัดหนองคาย เนื่องด้วยกลุ่มงานทันตกรรม โรงพยาบาลโพธิ์ตาก พบปัญหาการใส่ฟันเทียมทั้งปาก ในเคสผู้ป่วยที่มีความยุ่งยากซับซ้อน จึงต้องอาศัยทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางในการให้บริการแก่ผู้ป่วย จึงประสานงานมายังหน่วยทันตกรรมพระราชทาน ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

ทางหน่วยทันตกรรมพระราชทาน นำโดย อ.ทพ.ดร.พรพจน์ เจียงกองโค และทีมงานกว่า 30 คน ประกอบด้วย อาจารย์ทันตแพทย์ นิสิต ป.โท สาขาทันตกรรมประดิษฐ์ ผู้ช่วยทันตแพทย์ และช่างทันตกรรม ออกหน่วยเคลื่อนที่ให้บริการทำฟันเทียมทั้งปาก ระยะเวลา 3 วัน จำนวนทั้งสิ้น 34 ราย

การทำฟันเทียมพระราชทาน ในการออกหน่วยครั้งนี้ เป็นครั้งแรกที่มีการนำเทคโนโลยีดิจิตัลมาช่วยในการทำฟันเทียมทั้งปาก ( Digital Denture)โดยมีการนำระบบการสแกนฟัน (Digital scan) เพื่อให้ได้ข้อมูลฟัน จากนั้นทำการออกแบบฟันเทียมทั้งปากด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (CAD design) เมื่อออกแบบเรียบร้อยเสร็จเรียบร้อย ก็จะทำขึ้นรูปฟันเทียมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ (CAM) โดยใช้เครื่อง 3D printer ซึ่งการนำระบบดิจิตัลมาใช้ครั้งนี้ ได้ทำนำร่องให้ผู้ป่วยเป็นจำนวน 5 เคส ซึ่งเป็น Digital denture 5 เคสแรกของหน่วยเรา พบว่าสามารถผลิตชิ้นงานได้รวดเร็วขึ้น การยึดติด และการใช้งานไม่ต่างจากการผลิตชิ้นงานแบบปกติ แต่ที่น่าสนใจคือ ฟันมีความสวยงามและธรรมชาติมากขึ้น เนื่องจากเราสามารถออกแบบฟันให้เหมาะสมในผู้ป่วยแต่ละรายได้ แตกต่างจากวิธีปกติที่ใช้ฟันสำเร็จรูปจากบริษัท อย่างไรก็ตามอุปกรณ์และวัสดุทางดิจิตัลมีราคาค่อนข้างสูง และเทคนิการทำซับซ้อน ต้องมีการเรียนรู้และพัฒนาต่อไป

ทางทีมงานต้องขอขอบคุณ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอโพธิ์ตาก โดย ทพ.ณัฐพล มัสยามาตย์ หัวหน้ากลุ่มงานทันตกรรม โรงพยาบาลโพธิ์ตาก ทพญ.เขมจิรัฏฐ์ โควสุภัทร์(ศิษย์เก่า ม.น รุ่น 11) และทีมงานทุกท่าน ที่ช่วยประสานงานอำนวยความสะดวกให้กับทางหน่วยทันตกรรมพระราชทานเป็นอย่างดี

สุดท้ายต้องขอชื่นชมทางทีมงานของเราทุกคน อาจารย์ นิสิต ป.โท สาขาทันตกรรมประดิษฐ์ คุณหมอกำพล คุณหมอนววิชณ์ ผู้ช่วยฯ เจ้าหน้าที่และช่างทันตกรรมทุกท่าน ที่ทุ่มเททำหน้าที่กันได้อย่างเต็มที่ ผลิตชิ้นงานฟันเทียมทั้งปากประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย และมอบรอยยิ้มให้คุณลุง คุณป้า ทั้ง 34 คน ทุกคนยิ้มออกมาด้วยความดีใจกับรอยยิ้มใหม่ สร้างความประทับใจให้แก่ทีมงานเป็นอย่างยิ่ง

ที่มา: หน่วยใส่ฟันเทียมทันตกรรมพระราชทาน คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

ม.นเรศวร จับมือ สมาคมวิศวกรหญิงไทย (TWEA) จัดงานเสวนา TWEA สัญจร “เตรียมพร้อมทำงานในโลกวิศวกรรมยุคใหม่”

เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2566 คณะวิศวกรรมศาสตร์ ร่วมกับ สมาคมวิศวกรหญิงไทย (TWEA) จัดงาน TWEA สัญจร ในหัวข้อ “เตรียมพร้อมทำงานในโลกวิศวกรรมยุคใหม่” โดยได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.ศรินทร์ทิพย์ แทนธานี รักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยนเรศวร ดร. ปิยพรรณ หันนาคินทร์ ประธานกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัยนเรศวร , กรรมการผู้จัดการบริษัท Operational Energy Group และที่ปรึกษาสมาคมวิศวกรหญิงไทย (TWEA) และ นางสาวอัจฉรินทร์ พัฒนพันธ์ชัย นายกสมาคมวิศวกรหญิงไทย เป็นผู้ร่วมเสวนา เพื่อแนะแนวและถ่ายทอดประสบการณ์ในการทำงานจนถึงเตรียมการวิศวกรรุ่นใหม่และนิสิตที่กำลังจะเข้าสู่ชีวิตการทำงาน ซึ่งในงานนี้มีนิสิตคณะวิศวกรรมศาสตร์ เข้าร่วมมากกว่า 300 คน ณ ห้อง 301 อาคารเอกาทศรถ ชั้น 3 มหาวิทยาลัยนเรศวร

ที่มา: งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

ม.นเรศวร ให้ความรู้แก่นักเรียน ในหัวข้อ “ รักในวัยเรียนและเพศศึกษา ”

วันที่ 21 พฤศจิกายน 2566 โรงเรียนมัธยมสาธิตมหาวิทยาลัยนเรศวร จัดกิจกรรมประชุมสายชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยมีการบรรยายให้ความรู้แก่นักเรียน ในหัวข้อ “รักในวัยเรียนและเพศศึกษา” เพื่อให้นักเรียนได้รับความรู้ มีทัศนคติ และมีพฤติกรรมในเรื่องเพศศึกษาได้อย่างถูกต้อง

ตลอดจนสามารถปรับตัวตามพัฒนาการของชีวิตในช่วงวัยรุ่น ได้อย่างเหมาะสมกับสังคมในปัจจุบัน ซึ่งได้รับความอนุเคราะห์วิทยากรจาก โรงพยาบาลพุทธชินราชพิษณุโลก มาบรรยายให้ความรู้แก่นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยในการบรรยายครั้งที่ 1 นี้ มีนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2.1 – 2.3 เข้าร่วมกิจกรรม ณ ห้อง 3100 อาคารเรียน 3 โรงเรียนมัธยมสาธิตมหาวิทยาลัยนเรศวร

ที่มา: โรงเรียนมัธยมสาธิตมหาวิทยาลัยนเรศวร

ม.นเรศวร คว้ารางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 จากเวที ASEAN-ASSET FIN-TU Product Development Competition 2023

ผลงาน “ISO-PAUSE, soft creamy tempeh” จากคณะเกษตรฯ ม.นเรศวร คว้ารางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 จากเวที ASEAN-ASSET FIN-TU Product Development Competition 2023

ผลิตภัณฑ์ “ISO-PAUSE, soft creamy tempeh” ผลงานของนิสิตและ รองศาสตราจารย์ ดร. ทิพวรรณ ทองสุข หัวหน้าภาควิชาอุตสาหกรรมเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนเรศวร ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 จากการแข่งขัน ASEAN-ASSET FIN-TU Product Development Competition 2023 ประเภทบุคคลทั่วไป (General Public) ที่จัดขึ้นเมื่อที่ 14 – 15 พฤศจิกายน 2566 ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

การแข่งขัน ASEAN-ASSET FIN-TU Product Development Competition 2023 เป็นส่วนหนึ่งของการประชุมวิชาการนานาชาติด้านความมั่นคงอาหาร ASEAN-ASSET 2023: Global Summit on The Future of Future Food ซึ่งเป็นครั้งแรกที่จัดขึ้นในทวีปเอเชีย เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสร้างความตระหนักเรื่องความมั่นคงของอาหารเพื่ออนาคต ซึ่งมุ่งเน้นขอบเขตอาหารในอนาคต ความปลอดภัยอาหารในอนาคต ความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมและการศึกษาสำหรับอาหารในอนาคต และแนวโน้มปัจจุบันและอนาคตของอาหาร โดยมีผู้เข้าร่วมงานจากทั่วทุกมุมโลก มากกว่า 400 คน และมีผู้นำเสนอผลงานมากถึงจำนวน 36 เรื่อง ซึ่งการแข่งขันในครั้งนี้เปิดโอกาสให้นิสิต นักศึกษา และผู้ประกอบการ นำเสนอนวัตกรรมผลิตภัณฑ์อาหารที่ให้ประโยชน์ต่อสุขภาพ ส่งเสริมความมั่นคงทางอาหารและความยั่งยืน โดยทีมจากภาควิชาอุตสาหกรรมเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนเรศวร นางสาวจิรัชยา จัดพล นิสิตระดับปริญญาเอก นายวราเทพ บัวสุ่มและนางสาวกัลยรัตน์ บานแย้ม นิสิตระดับปริญญาโท นางสาวณัฏฐ์ชานันท์ รักธัญญาการ นิสิตระดับปริญญาตรี รศ. ดร. ทิพวรรณ ทองสุข หัวหน้าภาควิชาอุตสาหกรรมเกษตร โดยมี รศ. ดร. เหรียญทอง สิงห์จานุสงค์ อาจารย์ประจำภาควิชาอุตสาหกรรมเกษตร คณะเกษศาสตร์ฯ และผู้อำนวยการสถานวิจัยเพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการด้านไขมันและน้ำมัน อุทยานวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวรเป็นอาจารย์ที่ปรึกษา

ISO-PUASE ผลิตภัณฑ์พร้อมทานจากเทมเป้ในรูปแบบ soft cream อุดมไปด้วยไอโซฟลาโวน (Isoflavones) ที่สามารถทำงานทดแทนระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนที่ลดลงเมื่อผู้หญิงเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน โดย ISO-PAUSE เพียง 1 ซอง (25 g) มี Isoflavones เทียบเท่ากับน้ำเต้าหู้ 1 แก้ว หรือเต้าหู้ 2 ก้อน และมีส่วนผสมของแคลเซียมและวิตามิน D (50% Thai RDI) โดยทั้ง Isoflavones แคลเซียม และวิตามิน D เป็นสารอาหารสำคัญที่ช่วยเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรงและป้องกันโรคกระดูกพรุน นอกจากนี้ยังอุดมไปด้วยพรีไบโอติกส์ (Prebiotic) จากธรรมชาติและสารอาหารต่างๆ ที่สามารถดูดซึมได้ง่ายซึ่งเป็นผลมาจากกระบวนการหมักเทมเป้อีกด้วย

ISO-PAUSE เป็นผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาขึ้นเพื่อปรับสมดุลฮอร์โมนและเสริมสร้างความแข็งแรงของกระดูก สามารถป้องกันโรคกระดูพรุนทดแทนการบริโภคยาฮอร์โมน แคลเซียมและวิตามินแบบเม็ดได้ มีรสโยเกิร์ตและรสช็อกโกแลต เหมาะสำหรับผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน ผู้สูงอายุและผู้รักสุขภาพ Link : https://www.nu.ac.th/?p=36790

ที่มา: งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

ขอเชิญชวน อาจารย์ นิสิตมหาวิทยาลัยนเรศวร ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการพลิกโฉมผลิตภัณฑ์กลุ่มชุมชน

ขอเชิญชวน อาจารย์ นิสิตมหาวิทยาลัยนเรศวร ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการพลิกโฉมผลิตภัณฑ์กลุ่มชุมชน โดยการนำวิทยาการกระบวนการทำงานสมัยใหม่ ไปยกระดับขีดความสามารถกลุ่มองค์กรชุมชนที่รวมตัวกันสร้างผลิตภัณฑ์หรือบริการ ให้มีศักยภาพ มีมูลค่าเพิ่ม แข่งขันในตลาดได้

NU SciPark เปิดรับสมัครผู้สนใจ ร่วมโครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น ประจำปี 2567
คุณสมบัติของทีมนิสิต
– ทีมนิสิต จำนวน 5-10 คน/ทีม
– มีนิสิตต่างสาขาวิชา ต่างคณะภายในทีม
– มีอาจารย์ที่ปรึกษาอย่างน้อย 1 ท่าน/ทีม
– นิสิตจะต้องเป็นลูกค้าประเภทใดประเภทหนึ่งของธนาคารออมสิน

คุณสมบัติของกลุ่มชุมชน
– กลุ่มชุมชน ได้แก่ กลุ่มวิสาหกิจชุมชน, กลุ่มผู้ประกอบการ OTOP, กลุ่มโฮมสเตย์, กลุ่มท่องเที่ยวชุมชน และกลุ่มอาชีพในชุมชน โดยจะต้องมีการรวมกลุ่มกันจากสมาชิกในชุมชน เพื่อผลิตสินค้า/บริการ เพื่อให้เกิดการสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับชุมชน
– เป็นกลุ่มชุมชนที่มีความพร้อม ความต้องการที่จะยกระดับคุณภาพผลิตภัณฑ์/บริการ ซึ่งอยู่ในพื้นที่ของธนาคารออมสินภาค 7 ทั้งหมด 5 จังหวัดดังนี้ อุตรดิตถ์, พิษณุโลก, ตาก, สุโขทัย, กำแพงเพชร
– การทำงานจะต้องมีส่วนร่วม ระหว่างชุมชน สถาบันอุดมศึกษา ธนาคารออมสิน และหน่วยงานพันธมิตรในพื้นที่
– ชุมชนจะต้องเป็นลูกค้าประเภทใดประเภทหนึ่งของธนาคารออมสิน

ผลิตภัณฑ์และบริการแบ่งเป็น 6 ประเภท
– กินดี (อาหาร, เครื่องดื่ม)
– อยู่ดี (ที่พัก, Homestay, ท่องเที่ยวชุมชน)
– สวยดี (เครื่องประดับ, ของที่ระลึก, ของตกแต่งบ้าน, เสื้อผ้า, เครื่องแต่งกาย)
– ใช้ดี (ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากสมุนไพร, เครื่องประทินผิว, ผลิตภัณฑ์สปา, สิ่งของเครื่องใช้)
– รักษ์ดี (การอนุรักษ์ขนบธรรมเนียม ประเพณี สิ่งแวดล้อม หรือภูมิปัญญา ให้คงอยู่สืบไป)
– คิดดี (สินค้า/บริการ เชิงนวัตกรรม)

สมัครได้ตั้งแต่บัดนี้ถึง 22 ธันวาคม 2566 สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Facebook: NU SciPark โทรศัพท์: 08 7522 2896 (โม)

Healthy baby and Happy mom “เพราะ ลูก คือ ของขวัญพิเศษ ของพ่อแม่ และครอบครัว”

Healthy baby and Happy mom “เพราะ ลูก คือ ของขวัญพิเศษ ของพ่อแม่ และครอบครัว” รพ.มน. ให้บริการฝากครรภ์ คุณภาพ คลอดบุตรและพักฟื้นต่อเนื่องจนถึงการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ โดยทีมสูติแพทย์ กุมารแพทย์ และทีมการพยาบาลที่เชี่ยวชาญ

ติดต่อได้ที่คลินิกสูติ-นรีเวชกรรม ชั้น 2 อาคารเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา 1 โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร สอบถามเพิ่มเติม 0 5596 5685

ที่มา: คณะแพทยศาสตร์ รพ.มหาวิทยาลัยนเรศวร

โนรา มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม

เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2566 คณะมนุษยศาสตร์ ได้จัดโครงการเครือข่ายความร่วมมือเพื่อการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม โดยได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ธรรมนิตย์ นิคมรัตน์ ศิลปินแห่งชาติ และคณะนักแสดงโนรา

โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้เกิดเครือข่ายความร่วมมือด้านศิลปวัฒนธรรม ระหว่าง คณะมนุษยศาสตร์กับหน่วยงานภายนอก และเพื่อทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมอันเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของคนไทย

“โนรา” เป็นศิลปะการแสดงท้องถิ่นของคนภาคใต้ ที่มีความงดงามทั้งในเรื่องของการร่ายรำ การเล่นดนตรี และการขับร้องที่มีเอกลักษณ์เฉพาะของการแสดง “โนรา” อีกทั้ง ยูเนสโก ได้ขึ้นทะเบียน “โนรา” ให้เป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติอีกด้วย

ที่มา: งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

Sustainability

NARESUAN UNIVERSITY

Solverwp- WordPress Theme and Plugin