ม.นเรศวร ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงาน ภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ

วันที่ 26 ตุลาคม 2566 ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-มหาวิทยาลัยนเรศวร นำโดยดร.พิสุทธิ์ อภิชยกุล รองอธิการบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์และการถ่ายทอดเทคโนโลยี ได้กล่าวต้อนรับและร่วมประชุมกับศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิชัย ใจกล้า รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ ได้จัดการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การดำเนินงาน ภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ (อพ.สธ.) โดยสร้างความร่วมมือและเป็นเครือข่ายการทำงานร่วมกันระหว่างศูนย์ประสานงาน การแลกเปลี่ยนวิทยากร การพัฒนาความรู้ รูปแบบการทำงาน เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อน การหนุนเสริม และสนับสนุนความรู้แก่สมาชิก อพ.สธ.ในการดำเนินงานสนองพระราชดำริ อพ.สธ. ณ ห้องประชุมเทาแสด ชั้น 1 อาคารศูนย์แสดงนิทรรศการและการจัดประชุมสมเด็จพระนเรศวรมหาราช (KNECC) มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก

ในช่วงบ่ายของวันเดียวกัน จัดให้มีการประชุมร่วมกับคณะที่ปรึกษาทั้ง 6 ท่านเพื่อสร้างความเข้าใจแนวทางการทำงานร่วมกัน และแผนการดำเนินงานของศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.ทั้ง 2 แห่ง รวมถึงการเข้าร่วมงานจัดนิทรรศการสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนและฐานทรัพยากรท้องถิ่น ระดับภูมิภาค ครั้งที่ 7 ปี 2566 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ ศูนย์แม่ริม และการสร้างความร่วมมือและกำหนดทิศทางการดำเนินงานที่เป็นไปในทิศทางเดียวกันตามกรอบของ อพ.สธ. ในปีงบประมาณ 2567 ต่อไป

ที่มา: ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-มหาวิทยาลัยนเรศวร

ม.นเรศวร จัดกิจกรรมวันรักต้นไม้ประจำปีของชาติ 2566

เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2566 นายรุ่งรัตน์ พระนาค ผู้อำนวยการกองอาคารสถานที่เป็นประธานเปิดกิจกรรมวันรักต้นไม้ประจำปีของชาติ 2566 โดยภายในกิจกรรมบุคลากรกองอาคารสถานที่ได้ร่วมกัน พรวนดิน ใส่ปุ๋ย รดน้ำ ตัดแต่งกิ่งไม้และกำจัดวัชพืชในพื้นที่ โดยปุ๋ยอินทรีย์ที่นำมาใช้ในกิจกรรมผลิตจากอินทรีย์ต่างๆ ใบไม้ กิ่งไม้ ผสมกับถ่านชีวภาพ หรือ ไบโอชาร์ (Biochar) ณ ด้านหลังอาคารอุทยานองค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช

ที่มา: กองอาคารสถานที่ มหาวิทยาลัยนเรศวร

ฐานจำลองสิ่งมีชีวิตตามธรรมชาติและความรู้เบื้องต้น วัฏจักรชีวิตการเจริญเติบโตของพืช

รศ.ดร.สิทธิชัย ชูสำโรง รองคณบดีฝ่ายสารสนเทศและกิจการนิสิต และดร.อนุพงศ์ วงค์ตามี รองคณบดีฝ่ายโครงสร้างพื้นฐานและระบบนิเวศ พร้อมทีมคณาจารย์ บุคลากร และนิสิตคณะเกษตรศาสตร์ฯ ให้การต้อนรับคณะครู บุคลากร และนักเรียนระดับชั้นอนุบาล 1-3 โรงเรียนอนุบาลและประถมสาธิตมหาวิทยาลัยนเรศวร จำนวน 164 คน ในโอกาสเข้าศึกษาแหล่งเรียนรู้เพิ่มประสบการณ์ของคณะเกษตรศาสตร์ฯ

ในด้านกิจกรรมเรื่อง “ฐานจำลองสิ่งมีชีวิตตามธรรมชาติและความรู้เบื้องต้น วัฏจักรชีวิตการเจริญเติบโตของพืช” พร้อมทั้งลงมือปฏิบัติการปลูกต้นไม้ ณ คณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยมีคณาจารย์จากสาขาวิชาต่างๆ เป็นผู้ให้ความรู้และเปิดประสบการณ์นอกห้องเรียนให้กับเด็ก ๆ อาทิ กิจกรรมให้ความรู้ด้านสิ่งมีชีวิต สิ่งไม่มีชีวิต เทคโนโลยีทางการเกษตรกับนักเรียน การจำลองการรีดนมวัว การจำลองการปลูกพืชในโรงเรือน การรู้จักผลิตภัณฑ์ที่มาจากสิ่งของตามธรรมชาติ และการได้ลงมือปลูกพืชด้วยตนเอง ซึ่งช่วยเสริมสร้างพัฒนาการทักษะรอบด้าน และสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ที่ดีให้กับนักเรียน เป็นพื้นฐานการเรียนรู้ที่จะนำไปปรับใช้กับการเรียนในห้องเรียนและรู้จักการสังเกตสิ่งรอบตัวได้ดียิ่งขึ้น

โดยมีคณาจารย์ร่วมให้การต้อนรับและเป็นวิทยากรฐานความรู้ต่างๆ ดังนี้
1. ดร.อนุพงศ์ วงค์ตามี รองคณบดีฝ่ายโครงสร้างพื้นฐานและระบบนิเวศ
2. รศ.ดร.สิทธิชัย ชูสำโรง รองคณบดีฝ่ายสารสนเทศและกิจการนิสิต
3. ผศ.ดร.เทพสุดา รุ่งรัตน์ อาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์การเกษตร
4. ดร.กัลย์กนิต พิสมยรมย์ อาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์การเกษตร
5. ผศ.ดร.ภัทรียา พลซา อาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์การเกษตร
6. ผศ.ดร.สุพรรณิกา อินต๊ะนนท์ อาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์การเกษตร
7. ผศ.ดร.วิภา หอมหวล อาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์การเกษตร
8. ผศ.ดร.ปาณิสรา เทพกุศล อาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์การเกษตร
9. ดร.นุชนาฎ ภักดี อาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์การเกษตร

ที่มา: คณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ม.นเรศวร

ม.นเรศวร จัดประกวดภาพถ่ายตามแนวคิดการอนุรักษ์ธรรมชาติ “Anurak in your mind”

มหาวิทยาลัยนเรศวร โดยชมรมอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ม.นเรศวร จัดการประกวดภาพถ่ายตามแนวคิดการอนุรักษ์ธรรมชาติ “Anurak in your mind“ โดยผู้ชนะการประกวดทุกท่านจะได้ขึ้นรับรางวัลในงาน “สืบสานงานสืบ ครั้งที่ 23” ณ ลาน Playground (หน้าหอใน)


โดยกิจกรรมมีวัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมให้บุคลากร นิสิต มาร่วมกันปลูกจิตสำนึกอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และร่วมกันดูแลให้สภาพแวดล้อมภายในมหาวิทยาลัยเกิดความยั่งยืน และสะท้อนให้เห็นถึงการอยู่ร่วมกันกับธรรมชาติ สัตว์และต้นไม้ และเกิดความหวงแหนและช่วยกันดูแลให้มหาวิทยาลัยคงความเป็นธรรมชาติที่มีสมบูรณ์สวยงามต่อไป

รางวัลชนะเลิศ ผลงานโดย… นางสาวกรกนก คำแก้ว ( ปอป้าย )
คำบรรยายผลงาน : ทุกคนต่างมีความทรงจำ บางทีต้นไม้เล็กๆอาจเป็นความทรงจำที่ยิ่งใหญ่ของใครหลายๆคน ดังนั้นเราควรอนุรักษ์ความทรงจำควบคู่ไปกับธรรมชาติ

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ผลงานโดย… นายชานนท์ กิจจารักษ์ ( อ้น )
คำบรรยายผลงาน : ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสัตว์ที่ต่างแสดงบทบาทและความสำคัญภายในระบบนิเวศแตกต่างกัน

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ผลงานโดย… นายสิทธา สายบุญตั้ง ( ธาม )
คำบรรยายผลงาน : มีป่าที่สมบูรณ์ ย่อมมีสัตว์ที่สวยงาม ความสมบูรณ์และความสวยงามจะคงอยู่ต่อไป เมื่อเราอนุรักษ์มันด้วยใจ และรักษาไว้ด้วยการกระทำ

รางวัลชมเชย ผลงานโดย… นายอธิราช นันต๊ะเสน ( เต็นท์ )
คำบรรยายผลงาน : เราทุกคนต่างมองเห็นความงดงามของธรรมชาติในชีวิตประจำวัน ภาพนี้แสดงให้เห็นถึงการผสมผสานระบบนิเวศน์ระหว่างธรรมชาติ สิ่งมีชีวิตและสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น ที่อยู่ร่วมกันภายใต้มหาวิทยาลัย ภาพนี้จึงเป็นภาพถ่ายเพื่อนำเสนอถึงความสำคัญของการรักษาสิ่งแวดล้อมและการให้ความเคารพแก่ธรรมชาติ อีกทั้งยังเป็นการเน้นถึงความสำคัญของระบบนิเวศที่สมดุลและการรักษาความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต

ที่มา: ชมรมอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ม.นเรศวร

ร่วมปลูกต้นไม้ (ต้นรวงผึ้ง) ต้นไม้ประจำประจำพระองค์รัชกาลที่ 10

เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2566 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ศิลปะและการออกแบบ นำทีมโดยท่านคณบดี ผู้บริหาร บุคลากร ร่วมกันปลูกต้นไม้ (ต้นรวงผึ้ง) ต้นไม้ประจำประจำพระองค์รัชกาลที่ 10 เพื่อเฉลิมพระเกียรติและถวายพระพรชัยมงคล เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 ณ บริเวณหน้าลานเสาเอกคณะฯ

ต้นรวงผึ้ง ถือว่าเป็นพรรณไม้อันทรงคุณค่าและมีเกียรติชนิดหนึ่ง ที่ถูกยกให้เป็นพรรณไม้ประจำ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร เนื่องจากดอกรวงผึ้งจะออกดอกในช่วงเดือนพระบรมราชสมภพพอดี ส่วนสีเหลืองของดอกรวงผึ้งยังเป็นสีประจำวันพระบรมราชสมภพอีกด้วย นอกจากนี้พระองค์ยังทรงปลูกต้นรวงผึ้งไว้ตามสถานที่ต่าง ๆ ที่พระองค์เสด็จฯ ไปประกอบพระราชกรณียกิจ เพื่อพระราชทานไว้ให้เป็นตัวแทนแห่งพระองค์ท่านและเป็นสิริมงคลแก่ราษฎร

โดยทั่วไปจะเรียกต้นไม้ชนิดนี้ว่า “ต้นรวงผึ้ง” แต่ถ้าหากได้ยินคนเรียก ต้นน้ำผึ้ง ต้นสายน้ำผึ้ง หรือดอกน้ำผึ้ง ก็ไม่ต้องสงสัยไป เพราะชื่อเหล่านี้เป็นชื่อเรียกของคนท้องถิ่นที่มักได้ยินกันบ่อยในแถบกรุงเทพฯ และภาคเหนือ ต้นรวงผึ้ง มีชื่อภาษาอังกฤษว่า Yellow star และชื่อวิทยาศาสตร์คือ Schoutenia glomerata King subsp. peregrina (Craib) Roekm. & Hartono เป็นพรรณไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทย พบมากในป่าทางภาคเหนือ ความสูงจากระดับน้ำทะเล 1,000-1,100 เมตร

ลักษณะ
ต้นรวงผึ้งจัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง-ใหญ่ ความสูงประมาณ 5 เมตร ทนแดด และชอบขึ้นในที่แล้งหรือค่อนข้างแล้ง ลำต้นแตกกิ่งต่ำ ลักษณะลำต้นเป็นทรงพุ่มมน ออกใบเดี่ยวเรียงสลับกัน ด้านหน้าใบจะเป็นสีเขียวและหลังใบเป็นสีน้ำตาลนวล ดอกรวงผึ้งส่งกลิ่นหอมตลอดทั้งวัน และมีสีเหลืองอร่ามดูโดดเด่น ออกดอกเป็นช่อสั้นตามซอกใบ ลักษณะดอกมีกลีบเลี้ยง 5 แฉกคล้ายรูปดาวติดกับโคนกลีบและเป็นฐานรองกระจุกเกสรตัวผู้ ไม่มีกลีบดอก ดอกจะบานได้นาน 7-10 วัน โดยจะผลิดอกในเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม ส่วนผลของต้นรวงผึ้งมีขนาดเล็ก เส้นผ่านศูนย์กลาง 1 เซนติเมตร เป็นทรงกลม ผลแห้ง และมีขน

วิธีปลูกและวิธีการดูแล
ต้นรวงผึ้งสามารถขยายพันธุ์ได้ทั้งการเพาะเมล็ด ตอนกิ่ง และปักชำกิ่ง แต่วิธีปลูกต้นรวงผึ้งที่นิยมมากที่สุดคือ การตอนกิ่ง ด้วยการควั่นกิ่งและลอกเปลือกออก จากนั้นนำดินเหนียวและกาบมะพร้าวชุบน้ำมาหุ้มแผลเอาไว้ ห่อด้วยแผ่นพลาสติกและมัดเชือกปิดมิด ดูแลรดน้ำตามปกติ อาจจะใช้ฮอร์โมนเร่งรากด้วยก็ได้ รอรากงอกออกมาภายใน 2-3 วัน จึงค่อยตัดไปปลูกลงในหลุมดินร่วน เพื่อให้ได้ผลดีแนะนำให้ปลูกในที่กลางแจ้ง เนื่องจากเป็นพืชที่ชอบแดดและทนแล้งได้ดี รดน้ำปานกลาง และปลูกไว้บริเวณแสงแดดส่องถึงตลอดทั้งวัน ต้นก็จะเจริญเติบโตให้ความร่นรื่น ออกดอกสวยงาม แถมใบไม่ร่วงมากด้วย

ที่มา: คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ศิลปะและการออกแบบ มหาวิทยาลัยนเรศวร และข้อมูลจาก kapook.com

ม.นเรศวร ร่วมโครงการปลูกต้นไม้ (ต้นรวงผึ้ง) เพื่อเฉลิมพระเกียรติ รัชกาลที่ 10

เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2566 รศ.ดร.นิรัช สุดสังข์ คณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ศิลปะและการออกแบบ พร้อมผู้บริหาร เข้าร่วมโครงการปลูกต้นไม้ (ต้นรวงผึ้ง) เพื่อเฉลิมพระเกียรติและถวายพระพรชัยมงคล เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 จัดโดยคณะวิทยาศาสตร์ ม.นเรศวร ณ บริเวณพื้นที่แก้มลิงบึงระมาณ อำเภอบางระกำ จ.พิษณุโลก

ต้นรวงผึ้ง ถือว่าเป็นพรรณไม้อันทรงคุณค่าและมีเกียรติชนิดหนึ่ง ที่ถูกยกให้เป็นพรรณไม้ประจำ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร เนื่องจากดอกรวงผึ้งจะออกดอกในช่วงเดือนพระบรมราชสมภพพอดี ส่วนสีเหลืองของดอกรวงผึ้งยังเป็นสีประจำวันพระบรมราชสมภพอีกด้วย นอกจากนี้พระองค์ยังทรงปลูกต้นรวงผึ้งไว้ตามสถานที่ต่าง ๆ ที่พระองค์เสด็จฯ ไปประกอบพระราชกรณียกิจ เพื่อพระราชทานไว้ให้เป็นตัวแทนแห่งพระองค์ท่านและเป็นสิริมงคลแก่ราษฎร

โดยทั่วไปจะเรียกต้นไม้ชนิดนี้ว่า “ต้นรวงผึ้ง” แต่ถ้าหากได้ยินคนเรียก ต้นน้ำผึ้ง ต้นสายน้ำผึ้ง หรือดอกน้ำผึ้ง ก็ไม่ต้องสงสัยไป เพราะชื่อเหล่านี้เป็นชื่อเรียกของคนท้องถิ่นที่มักได้ยินกันบ่อยในแถบกรุงเทพฯ และภาคเหนือ ต้นรวงผึ้ง มีชื่อภาษาอังกฤษว่า Yellow star และชื่อวิทยาศาสตร์คือ Schoutenia glomerata King subsp. peregrina (Craib) Roekm. & Hartono เป็นพรรณไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทย พบมากในป่าทางภาคเหนือ ความสูงจากระดับน้ำทะเล 1,000-1,100 เมตร

ลักษณะ
ต้นรวงผึ้งจัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง-ใหญ่ ความสูงประมาณ 5 เมตร ทนแดด และชอบขึ้นในที่แล้งหรือค่อนข้างแล้ง ลำต้นแตกกิ่งต่ำ ลักษณะลำต้นเป็นทรงพุ่มมน ออกใบเดี่ยวเรียงสลับกัน ด้านหน้าใบจะเป็นสีเขียวและหลังใบเป็นสีน้ำตาลนวล ดอกรวงผึ้งส่งกลิ่นหอมตลอดทั้งวัน และมีสีเหลืองอร่ามดูโดดเด่น ออกดอกเป็นช่อสั้นตามซอกใบ ลักษณะดอกมีกลีบเลี้ยง 5 แฉกคล้ายรูปดาวติดกับโคนกลีบและเป็นฐานรองกระจุกเกสรตัวผู้ ไม่มีกลีบดอก ดอกจะบานได้นาน 7-10 วัน โดยจะผลิดอกในเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม ส่วนผลของต้นรวงผึ้งมีขนาดเล็ก เส้นผ่านศูนย์กลาง 1 เซนติเมตร เป็นทรงกลม ผลแห้ง และมีขน

วิธีปลูกและวิธีการดูแล
ต้นรวงผึ้งสามารถขยายพันธุ์ได้ทั้งการเพาะเมล็ด ตอนกิ่ง และปักชำกิ่ง แต่วิธีปลูกต้นรวงผึ้งที่นิยมมากที่สุดคือ การตอนกิ่ง ด้วยการควั่นกิ่งและลอกเปลือกออก จากนั้นนำดินเหนียวและกาบมะพร้าวชุบน้ำมาหุ้มแผลเอาไว้ ห่อด้วยแผ่นพลาสติกและมัดเชือกปิดมิด ดูแลรดน้ำตามปกติ อาจจะใช้ฮอร์โมนเร่งรากด้วยก็ได้ รอรากงอกออกมาภายใน 2-3 วัน จึงค่อยตัดไปปลูกลงในหลุมดินร่วน เพื่อให้ได้ผลดีแนะนำให้ปลูกในที่กลางแจ้ง เนื่องจากเป็นพืชที่ชอบแดดและทนแล้งได้ดี รดน้ำปานกลาง และปลูกไว้บริเวณแสงแดดส่องถึงตลอดทั้งวัน ต้นก็จะเจริญเติบโตให้ความร่นรื่น ออกดอกสวยงาม แถมใบไม่ร่วงมากด้วย

ที่มา: คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ศิลปะและการออกแบบ มหาวิทยาลัยนเรศวร และข้อมูลจาก kapook.com

ม.นเรศวร เข้าร่วมโครงการปลูกต้นไม้เพื่อเฉลิมพระเกียรติ

เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2566 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กำพล ทรัพย์สมบูรณ์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กรกฎ นุสิทธิ์ รองคณบดีฝ่ายบริหาร เข้าร่วมโครงการปลูกต้นไม้ จำนวน 720 ต้น ณ บริเวณพื้นที่แก้มลิงบึงระมาณ เทศบาลตำบลบึงระมาณ อ.บางระกำ จ.พิษณุโลก เพื่อเฉลิมพระเกียรติและถวายพระพรชัยมงคล เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทร มหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว 71 พรรษา

ที่มา: คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

ม.นเรศวร ปลูกจิตสำนึกรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มุ่งต่อต้านการทุจริต

วันที่ 20 กรกฎาคม 2566 คณะนิติศาสตร์ ได้จัดการบรรยายพิเศษในหัวข้อ “ปลูกจิตสำนึกรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มุ่งต่อต้านการทุจริต” โดยได้รับเกียรติจาก นายสุชาติ ตระกูลเกษมสุข กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติเป็นวิทยากรบรรยายให้แก่นิสิตมหาวิทยาลัยนเรศวร จำนวน 360 คน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาในรายวิชากฎหมายพื้นฐานเพื่อคุณภาพชีวิต ณ ห้องปราบไตรจักร 43 อาคารปราบไตรจักร 1 มหาวิทยาลัยนเรศวร และถ่ายทอดสดทางเพจ Facebook Live คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

ที่มา: คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

ร่วมแลกเปลี่ยนระหว่างเครือข่ายเชิงประเด็น โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช

เมื่อวันที่ 7-9 มิถุนายน 2566 ที่ผ่านมา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ศิษฐ์ภัณฑ์ แคนลา ปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการกองส่งเสริมการบริการวิชาการได้รับมอบหมายจากอธิการบดีมหาวิทยาลัยนเรศวร ในฐานะแม่ข่ายสถาบันอุดมศึกษาภาคเหนือตอนล่างเข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่องการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างเครือข่ายเชิงประเด็น โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 โดยมีศาสตราจารย์ ดร. สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์และผู้บริหาร 8 เครือข่ายมหาวิทยาลัยเข้าร่วม ณ ประสานสุข วิลล่า บีช

รีสอร์ท อ.สิชล จ.นครศรีธรรมราช การประชุมครั้งนี้ ถือเป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่มุ่งหวังให้เกิดการพัฒนาความเข้มแข็งของเครือข่าย C-อพ.สธ. ให้มีความต่อเนื่องในการสนองงานโครงการพระราชดำริ อพ.สธ.

ให้บรรลุผลตามเป้าประสงค์ที่กำหนดไว้ร่วมกัน การทำความรู้จักกันระหว่างเครือข่าย สร้างความร่วมมือเพื่อให้เกิดความเข้มแข็งทางวิชาการในการขับเคลื่อนประเทศไปในทิศทางเดียวกัน ตามบริบทของแต่ละภูมิภาค

โดยมีมหาวิทยาลัยเป็นกลไกในการพัฒนาด้านการวิจัยและการบริการวิชาการ ที่จะช่วยตอบโจทย์การสนองพระราชดำริของ สป.อว. เพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs) ต่อไป ทั้งนี้ ยังเป็นเวทีที่จัดให้ประธานเครือข่ายฯ แต่ละภูมิภาคได้นำเสนอผลการดำเนินงานร่วมกับเครือข่ายสถาบันอุดมศึกษาในภูมิภาคของตนเองตามแผนยุทธศาสตร์เครือข่าย C-อพ.สธ. อีกด้วย

ที่มา: กองส่งเสริมการบริการวิชาการ ม.นเรศวร

จากขวดที่ถูกทอดทิ้งและดูไร้ค่า กลับมาเป็นภาชนะปลูกที่คงทนและประหยัด “NU Going Green”

วันที่ 2 มิถุนายน 2566 บุคลากรกองอาคารสถานที่เริ่มดำเนินการปรับปรุงภูมิทัศน์ บริเวณลานพระบรมราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช โดยตั้งเป้าหมายที่จะปลูกถั่วบราซิลและไม้ประดับอื่นๆ ให้เต็มพื้นที่ เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียว จุดพักผ่อนของประชาคมซึ่งภาชนะในการปักชำ ขยายพันธุ์ถั่วบราซิลได้มาจากการนำขวดพลาสติกกลับมาใช้ใหม่ทดแทนถุงเพาะชำต้นไม้และยังมีโครงการที่จะนำน้ำที่ได้จากการบำบัด มาใช้ในการรดน้ำดูแล ถั่วบราซิล และไม้ประดับอื่นๆในบริเวณพื้นที่ดังกล่าวอีกด้วย

ถั่วบราซิล ถั่วปินโต/ถั่วเปรู/ถั่วลิสงเถา
ชื่อวิทยาศาสตร์: Arachis pintoi Krapov. & W.C.Gregory
วงศ์: Leguminosae – Papilionoideae
ประเภท:ไม้ล้มลุกอายุหลายปี
ทรงพุ่ม:ลำต้นทอดเลื้อยคลุมดิน รากออกตามข้อ
ใบ: ประกอบแบบขนนกออกตรงข้าม ใบย่อย 4 ใบ รูปไข่ กว้าง 1 – 3 เซนติเมตร ยาว 1 – 7 เซนติเมตร
ดอก: รูปถั่ว สีเหลือง เส้นผ่านศูนย์กลางดอก 2 – 4 เซนติเมตร ออกดอกตลอดปี
อัตราการเจริญเติบโต: เร็ว
ดิน: ดินร่วนและดินร่วนปนทราย
ขยายพันธุ์: ปักชำกิ่ง

ที่มา: กองอาคารสถานที่ มหาวิทยาลัยนเรศวร

Sustainability

NARESUAN UNIVERSITY

Solverwp- WordPress Theme and Plugin