Archives August 2020

มหาวิทยาลัยนเรศวร จัดกิจกรรมพัฒนาเครือข่ายธุรกิจสุขภาพ ผลักดันท่องเที่ยวสุขภาพ แห่งแรกของไทย

เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2563 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ห้องประชุมโรงแรมพิษณุโลกยูไนเตส  อ.เมือง จ.พิษณุโลก ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.กาญจนา เงารังษี อธิการบดีมหาวิทยาลัยนเรศวร  เป็นประธานในการเปิดกิจกรรมพัฒนาเครือข่ายธุรกิจสุขภาพ ภายใต้โครงการสนับสนุนเครือข่าย SME ปี2563 โดยสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ร่วมกับมหาวิทยาลัยนเรศวร SDโดยมีผู้ประกอบการ ในพื้นที่ 4 จังหวัดภาคเหนือตอนล่างประกอบด้วย จ.พิษณุโลก เพชรบูรณ์ สุโขทัย และจ.ตาก มาร่วมใจการจัดทำแผนพัฒนาคลัสเตอร์ เพื่อเป็นยุทธศาสตร์ ในการวางแผนพัฒนา สนับสนุนคลัสเตอร์ SME และพัฒนาศักยภาพ Service Provider ผู้นำ และผู้ประสานเครือข่าย (CDA)
ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.กาญจนา เงารังษี อธิการบดีมหาวิทยาลัยนเรศวร  กล่าวว่า โครงการนี้ มหาวิทยาลัยนเรศวร ร่วมกับ ภาครัฐ ภาคเอกชน จัดขึ้นเพื่อเป็นกิจกรรมสอดคล้องแผนยุทธศาสตร์ชาติและยุทธศาสตร์จังหวัด โดยเฉพาะการดูแลสุขภาพประชาชน ซึ่ง มหาวิทยาลัยนเรศวร ดูแลประชากร 5 ล้านคน พื้นที่ 9 จังหวัดภาคเหนือตอนล่าง โดยเราต้องการขับเคลื่อน  เพื่อให้ประชาชน ชุมชน ภาคเหนือตอนล่างมีการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น ทั้งด้านสังคม สุขภาพ เศรษฐกิจชุมชนมีรายได้ ด้านการเมืองความเป็นหนึ่งเดียวของชุมชน  โดยมีกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ในการสนับสนุนโครงการนี้ 
ทั้งนี้ ได้รับเกียรติจาก อาจารย์ ยิ่งศักดิ์ จงเลิศเจษฎาวงศ์ คณบดีคณะศิลปศาสตร์ วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม และเป็นพ่อครัวและนักวิชาการชาวไทยที่มีชื่อเสียงจากการจัดรายการทางโทรทัศน์ และเป็นนักแสดง เรื่องที่มีชื่อเสียง มาเป็นที่ปรึกษาโครงการ และเป็นวิทยากรผู้อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับอาหารสุขภาพ ให้กับผู้ประกอบการ เป็นโครงการทำจริงจัง โครงการนี้จะทำอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ประชาชนเรียนรู้และตื่นตัวในการดูแลสุขภาพ นักท่องเที่ยว ดูแลผู้เจ็บป่วย ผู้ชรา เป็นโครงการโภชนาการดูแลสุขภาพประชาชน
ดร.มาร์ฎา ชยทัตโต อาจารย์ประจำคณะบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร มหาวิทยาลัยนเรศวร  กล่าวว่า พื้นที่ภาคเหนือตอนล่างเป็นพื้นที่ท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ม.นเรศวร จึงทำโครงการขึ้นมา เป็นโครงการหนึ่งเพื่อรวบรวม  ผู้ประกอบการที่อยู่ในเครือข่าย ที่พัก ร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว โรงแรม สปา ฟิตเน็ต เป็นหนึ่งเดียวกัน เพื่อให้มีโอกาสเสนอสินค้าของเขา โดยมีเอเจนซี่ท่องเที่ยว ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เข้ามาทดลองสัมผัสการท่องเที่ยวในพื้นที่จริง โดยเริ่มต้นเมื่อวาน เดินทางไปพื้นที่ จ.เพชรบูรณ์ ทำกิจกรรมร่วมกัน ทำโยคะตอนเช้า และทำอาหารคลีน อาหารเพื่อสุขภาพ กินอาหารออกแกรนด์นิกส์ นำเสนอสินค้า สาธิตการทำอาหารสุขภาพ ก๋วยเตี๋ยวน้ำพริกลงเรือ  และแยมมะม่วงส้มซ่า
โดย อ.ยิ่งศักดิ์ ที่ปรึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร  จากนั้นจะมีการออกกำลังการฟิตเน็ต  ที่ จ.พิษณุโลก ก่อนเดินทางไป จ.สุโขทัย และ อ.แม่สอด จ.ตาก  โดยเป้าหมายโครงการหลังจากนี้ จะเปิดทริปท่องเที่ยวนี้เป็นทริปครั้งแรก ก่อนจัดทริปท่องเที่ยวสุขภาพจริง ตามเส้นทางที่มหาวิทยาลัยนเรศวรจัดเตรียมไว้ ด้านอาจารย์ ยิ่งศักดิ์ จงเลิศเจษฎาวงศ์  กล่าวว่า รู้สึกปลื้มใจมากในการมาเป็นที่ปรึกษาโครงการนี้  ได้ทำอะไรให้คนจำนวนมากทางภาคเหนือ การออกมาท่องเที่ยวย่ามนี้ ช่วงการระบาดโควิด 19 สุขภาพใจ สุขภาพกายต้องแข็งแรง 
การทำอาหารในช่วงนี้ ความเป็นของดีของอาหารธรรมชาติทางภาคเหนือ  อาหารการกินในพื้นที่ภาคเหนือมีดีอยู่แล้ว  แต่ควรมีการปรับเปลี่ยน อยากให้ประชาชนภาคเหนือทำอาหารแบบNew Normal  อาหารไทยเดิมของไทย ต้องจัดการสังขยานา อาหารไทยเชิงสุขภาพ ใครๆ ก็ทำขายได้ อย่างพืชผักที่นำมาใช้ ทั้งมะระขี้นก นำมาฟื้นฟูส่งเสริมการปลูกเพื่อเป็นวัตถุดิบสำคัญในการทำอาหาร นอกจากนี้ อยากเสนอให้ ม.นเรศวร ทำภัตตาคารอาหารต้นแบบของไทย มหาวิทยาลัยนเรศวรเราเป็นแหล่งความรู้กับประชาชน เป็นการยกระดับการพัฒนาท้องถิ่น พร้อมกันนี้ ผมได้นำมะม่วง ผลไม้ของ จ.พิษณุโลก มาทำแยมมะม่วง  โดยนำส้มซ่ามาใส่ในแยม เพราะให้รสและกลิ่นคล้ายส้มยูสุ ของญี่ปุ่น ที่ราคาแสนแพง  แต่เราไม่ใช้ส้มยูสุ เราจะใช้ส้มซ่า มาทำ โดยต่อไปคนชุมชน จ.พิษณุโลก จะได้ปลูกส้มซ่า 1,000-10,000 ไร่ เพื่อนำส้มซ่ามาทำผลผลิตอุตสาหกรรมอาหารในอนาคตด้วย

ที่มา: phitsanulokhotnews

ม.นเรศวร ยืนยันระบบ 3R น้ำภาคธุรกิจบริการ คุ้มค่า ประหยัดน้ำจริง ช่วยแก้ปัญหาขาดแคลนน้ำ EEC

เนื่องด้วยแนวโน้มความต้องการใช้น้ำใน 3 จังหวัดพื้นที่โครงการ EEC จ.ชลบุรี, จ.ระยอง, และ จ.ฉะเชิงเทรา ที่สูงขึ้นเรื่อยๆ ตามการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมและธุรกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคการค้าและบริการ ได้ทำให้การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำที่มีอยู่จำกัดในพื้นที่ ให้เพียงพอต่อความต้องการของผู้ใช้น้ำทุกภาคส่วน กลายเป็นอีกหนึ่งความท้าทายสำคัญของโครงการ EEC ที่ต้องเร่งจัดการ

น้ำเสีย

ผศ.ดร.ธนพล เพ็ญรัตน์ นักวิจัยประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร เปิดเผยว่า จากการศึกษาประเมินความคุ้มค่าของระบบ 3R ทั้งด้านการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำ (Water Efficiency: WE) และนำน้ำเสียมาบำบัดใช้ซ้ำ (Water Reuse: WR) สำหรับภาคเอกชน พบว่า มาตรการดังกล่าวสามารถนำมาใช้ดำเนินการได้จริง มีความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ และช่วยลดอัตราการใช้น้ำภาคธุรกิจการค้าและการบริการได้ในระยะยาว

สำหรับทางเลือกที่มีความคุ้มค่าและมีความเสี่ยงน้อยที่สุด ในการใช้ระบบ 3R ในภาคธุรกิจบริการ EEC ผศ.ดร.ธนพล เสนอว่า ควรเน้นให้ทุกอาคารใหม่ติดตั้งทั้งระบบเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำ และการนำน้ำกลับมาใช้ซ้ำ ทันที ส่วนอาคารเก่าให้ติดตั้งระบบนำน้ำกลับมาใช้ซ้ำให้ครบ 100% ภายในกรอบเวลา 5 ปี ซึ่งแนวทางดังกล่าวมีศักยภาพในการลดการใช้น้ำในภาคอุปทานได้ถึง 22 – 33 ล้าน ล้านลูกบากศ์เมตร (ลบ.ม.) /ปี

“จากการสำรวจกลุ่ม 195 ประเภทอาคารภาคบริการในพื้นที่ EEC พบว่า มี 59 ประเภทอาคารมีความคุ้มทุนที่จะติดตั้งระบบบริหารจัดการน้ำอัจฉริยะ ดังนั้นจึงควรลำดับความจำเป็นในการดำเนินการเพื่อบรรลุเป้าหมายรัฐในการลดการใช้น้ำ 15% โดยเน้นดำเนินการ 3R ใน 5 ประเภทอาคารภาคบริการที่มีความคุ้มค่าที่สุดเป็นอันดับแรก” เขากล่าว

“อีก 54 ประเภทอาคารที่คุ้มทุนในการดำเนินการ 3R แม้จะมีบทบาทรองในการบรรลุเป้าหมายลดการใช้น้ำ 15% ของรัฐ แต่รัฐก็ควรสนับสนุนและส่งเสริมให้ดำเนินการ 3R ตามแนวคิดระบบบริหารจัดการน้ำอัจฉริยะ เพื่อประโยชน์ของภาคเอกชนเองและของสังคมโดยรวม”

โดยจากรายงานการศึกษาแนวโน้มความต้องการใช้น้ำในพื้นที่ EEC ของ ดร.วินัย เชาวน์วิวัฒน์ นักวิจัยฝ่ายนวัตกรรมสารสนเทศทรัพยากรน้ำ สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) ชี้ว่า กลุ่มธุรกิจการค้าและการบริการ ถือเป็นกลุ่มผู้ใช้น้ำรายใหญ่ที่สุดในพื้นที่ โดยจากวิเคราะห์ข้อมูลการใช้น้ำของกลุ่มธุรกิจดังกล่าวในปี พ.ศ.2561 พบว่า กลุ่มธุรกิจการค้าและบริการใน 3 จังหวัด EEC มีความต้องการใช้น้ำสูงถึง 37.9 ล้าน ลบ.ม./ปี และยังมีความต้องการใช้น้ำพุ่งสูงขึ้นเรื่อยๆ ในอัตราเฉลี่ยปีละ 4%

จากแนวโน้มดังกล่าว ดร.วินัย คาดการณ์ว่า ภายในปี พ.ศ.2570 จะมีความต้องการใช้น้ำของกลุ่มธุรกิจภาคบริการในพื้นที่ EEC จะสูงขึ้นเป็น 57.4 ล้านลบ.ม./ปี หรือเพิ่มขึ้นกว่า 51% เมื่อเทียบกับความต้องการใช้น้ำปี พ.ศ.2561 และคาดว่า ในปี พ.ศ.2580 ความต้องการใช้น้ำจะไต่ระดับถึง 75.7 ล้าน ลบ.ม./ปี คิดเป็นอัตราเพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ.2561 ถึง 99%

ดร.จตุภูมิ ภูมิบุญชู อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร กล่าวว่า เพื่อให้องค์กรภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องดำเนินการติดตั้งระบบจัดการน้ำอัจฉริยะ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจำเป็นที่จะต้องออกมาตรการบังคับหรือส่งเสริมสร้างแรงจูงใจ เพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายลดการใช้น้ำ 15%

อ่างเก็บน้ำประแสร จ.ระยอง หนึ่งในอ่างเก็บน้ำสำคัญในพื้นที่ EEC / สำนักข่าวสิ่งแวดล้อม / ปรัชญ์ รุจิวนารมย์

“การส่งเสริมให้ภาคธุรกิจติดตั้งระบบ 3R น้ำ ให้สอดคล้องกับเป้าหมาย สามารถส่งเสริมกำหนดมาตรการส่งเสริมได้ผ่านทั้งทางกฎหมายและกลไกทางเศรษฐศาสตร์ เช่น การกำหนดราคาค่าน้ำประปา, ค่าบำบัดน้ำเสีย, หรือค่าใช้ท่อน้ำทิ้งในการปล่อยน้ำที่ผ่านการบำบัดแล้วลงสู่แหล่งน้ำ อย่างที่ใช้ในประเทศเยอรมนีและออสเตรเลีย” ดร.จตุภูมิ เสนอ

“นอกจากนี้ยังควรออกมาตรการอื่นๆ เช่น การจัดตั้งกองทุน เพื่อให้ความช่วยเหลือทางการเงินกับผู้ประกอบการ โดยใช้เงินสนับสนุนจากรัฐบาล หรือเงินสมทบจากค่าบำบัดน้ำเสีย”

เขาเน้นย้ำว่า การส่งเสริมการติดตั้งระบบ 3R น้ำ ไม่จำเป็นต้องทำกับทุกธุรกิจ แต่ทำเพียงเฉพาะบางธุรกิจในบางบพื้นที่ที่มีความคุ้มทุนในการติดตั้งระบบเท่านั้น โดยต้องดำเนินการ่ผ่านมาตรการเชิงบังคับ ผสมผสานกับมาตรการช่วยเหลือควบคู่กันไป

ที่มา: greennews

Sustainability

NARESUAN UNIVERSITY

Solverwp- WordPress Theme and Plugin